ความเป็นไปได้นวัตกรรมเชื่อมต่อสมองมนุษย์กับคอมพิวเตอร์

กทม. 28 ส.ค. – เทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้ามากในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ไทยได้ทดลองเชื่อมต่อสมองของหนูทดลอง โดยการสั่งการให้เคลื่อนไหวตามที่กำหนดด้วยคอมพิวเตอร์ได้ และยังมีเทคโนโลยีที่ใช้กระแสไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารักษาโรคสมองและระบบประสาทได้หลายโรค แต่สิ่งที่ อีลอน มัสก์ นักธุรกิจและวิศวกรนักประดิษฐ์กำลังทำโครงการ Neuralink เช่น การผลิตอุปกรณ์เชื่อมต่อสมองของมนุษย์เข้ากับคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งกำลังจะแถลงความคืบหน้าผลงานของเขาในเร็วๆ นี้ อาจสร้างประโยชน์ให้กับวงการแพทย์เป็นอีกก้าวสำคัญ นี่คือวิดีโอที่บันทึกไว้ขณะทำการทดลองเชื่อมต่อสมองของหนูทดลอง โดยการสั่งการให้เคลื่อนไหวตามที่กำหนดด้วยคอมพิวเตอร์ ผลงานวิจัยของอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ที่ทำการศึกษาวิจัยร่วมกับอาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา จากศิริราช เมื่อ 4-5 ปีก่อน อาจารย์อธิบายว่า ทำการทดลองโดยการฝังขั้วไฟฟ้าไว้ในสมองของหนูทดลอง 5 อิเล็กโทรด ควบคุมการสั่งการร่างกายได้อย่างกว้างๆ เช่น กระตุ้นการเคลื่อนที่ให้เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาได้ ผลการทดสอบแม้จะพบว่าหนูทดลองจะทำตามคำสั่งได้เพียงร้อยละ 60 แต่นั่นก็เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของนักวิทยาศาสตร์ไทยที่พยายามหาคำตอบเรื่องการปล่อยคลื่นของระบบประสาทสมองของสัตว์ที่ควบคุมการสั่งการเคลื่อนไหวได้ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยเทคโนโลยี BMI หรือ Brain Machine Interface ด้านแพทย์ผู่เชี่ยวชาญเรื่องระบบประสาทและสมอง กล่าวว่า การใช้กระแสไฟฟ้า หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการเสื่อมของสมองและระบบประสาทได้หลายโรค เช่น โรคทางจิตเวช ด้วยการใช้ขั้วไฟฟ้ากระตุ้น การผ่าตัดฝังไมโครชิปกระตุ้นสมองส่วนลึก ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยเป็นการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองให้ส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเนื้อเยื่อเพื่อควบคุมการสั่นของคนไข้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง […]

...