CEOs of OpenAI and Kakao shake hands

เจ้าของ ChatGPT เป็นพันธมิตรกับ Kakao ของเกาหลีใต้

โซล 4 ก.พ.- โอเพนเอไอ (OpenAI) บริษัทอเมริกันผู้พัฒนาแชตจีพีที (ChatGPT) ซึ่งเป็นผู้ช่วย AI ประกาศจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI ให้แก่กาเกา (Kakao) ผู้ให้บริการแชตรายใหญ่ของเกาหลีใต้ ระหว่างการเดินหน้าสร้างพันธมิตรในเอเชีย นายแซม อัลต์แมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ (CEO) ของโอเพนเอไอแถลงบนเวทีในกรุงโซลร่วมกับชอง ชี นา ซีอีโอหญิงของกาเกาในวันนี้ว่า บริษัทจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ AI ให้แก่กาเกา เนื่องจากมีความสนใจอย่างยิ่งในเรื่อง AI และการส่งข้อความสนทนา นอกจากนี้ยังกล่าวว่า บริษัทเกาหลีใต้หลายแห่งจะมีส่วนร่วมสำคัญต่อโครงการศูนย์ข้อมูลสตาร์เกต (Stargate) ที่เป็นการร่วมทุนระหว่างโอเพนเอไอกับออราเคิล (Oracle) บริษัทเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ข้ามชาติของสหรัฐ เพื่อพัฒนาศักยภาพ AI ในสหรัฐ กาเกาครองส่วนแบ่งตลาดแอปพลิเคชันสนทนาในเกาหลีใต้มากถึงร้อยละ 97 และได้ขยายการให้บริการไปยังอี-คอมเมิร์ซ การชำระเงิน และเกม โดยตั้งเป้าหมายที่จะใช้ AI เป็นเครื่องจักรใหม่ในการกระตุ้นการเติบโต แต่นักวิเคราะห์มองว่า กาเกาตามหลังคู่แข่งอย่างเนเวอร์ (Naver) อยู่มากในเรื่อง AI นายอัลต์แมนอยู่ระหว่างการตระเวนสร้างพันธมิตรในเอเชีย โดยเมื่อวานนี้เพิ่งประกาศเป็นหุ้นส่วนกับซอฟต์แบงก์กรุ๊ป (SoftBank Group) […]

“โอเพนเอไอ” ประกาศ “แซม อัลท์แมน” จะเป็นซีอีโอเหมือนเดิม

โอเพนเอไอ ประกาศในวันอังคารว่า แซม อัลท์แมน หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทจะกลับมาดำรงตำแหน่งซีอีโอ เหมือนเดิม หลังจากไม่กี่วันก่อนเขาเพิ่งถูกคณะกรรมการบริหารบริษัทปลดออกจากตำแหน่ง

“มัสก์” เปิดตัว “เอ็กซ์เอไอ” ท้าชนโอเพนเอไอและกูเกิ้ล

อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของสเปซเอ็กซ์และทวิตเตอร์เปิดตัวบริษัทด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ของตนเอง โดยใช้ชื่อว่า “เอ็กซ์เอไอ” ซึ่งเป็นความพยายามของเขาที่จะแข่งขันกับบริษัทโอเพนเอไอ ผู้สร้าง แช็ตจีพีที โปรแกรมเอไอที่มัสก์กล่าวหาว่า ไม่เป็นกลางทางการเมืองและไม่มีความรับผิดชอบ

กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเตือนเอไออาจทำให้มนุษย์สูญพันธุ์

ซานฟรานซิสโก 31 พ.ค.- กลุ่มผู้บริหารด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการเตือนว่า เอไออาจทำให้มนุษย์สูญพันธุ์ ขอให้ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบายยกระดับความเสี่ยงนี้ให้เท่ากับความเสี่ยงจากโรคระบาดและสงครามนิวเคลียร์ ศูนย์เพื่อความปลอดภัยเอไอหรือเคส (CAIS) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกที่มีคนลงชื่อมากกว่า 350 คน เช่น นายแซม อัลต์แมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอของโอเพนเอไอ (OpenAI) ที่พัฒนาแชทจีพีที (ChatGPT) นายเจฟฟรีย์ ฮินตัน และนายโยชัว เบนจิโอ 2 ใน 3 ของผู้ได้รับฉายาเจ้าพ่อแห่งเอไอ ซีอีโอของไมโครซอฟท์และกูเกิล นักวิชาการจากหลายสถาบันในสหรัฐไปจนถึงจีน เนื้อความในจดหมายระบุว่า การบรรเทาความเสี่ยงเรื่องมนุษย์จะสูญพันธุ์จากเอไอควรได้รับความสำคัญในระดับโลก ควบคู่ไปกับความเสี่ยงทางสังคมอื่น ๆ อย่างโรคระบาดและ สงครามนิวเคลียร์ เคสระบุว่า นายยาน เลอกัน เจ้าพ่อเอไอคนที่ 3 ซึ่งทำงานอยู่กับเมตาที่เป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กไม่ยอมลงนาม และทางกลุ่มได้ส่งคำเชิญลงนามไปถึงนายอีลอน มัสก์ ซีอีโอทวิตเตอร์แล้ว หวังว่าเขาจะลงนามในสัปดาห์นี้ นายมัสก์และผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอหลายคนเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่เตือนตั้งแต่เดือนเมษายนว่า เอไออาจมีความเสี่ยงต่อสังคม ความก้าวหน้าในการพัฒนาเอไอเมื่อไม่นานมานี้ทำให้เกิดเครื่องมือใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้งานตั้งแต่การวินิจฉัยทางการแพทย์ไปจนถึงการเขียนสำนวนทางกฎหมาย ขณะเดียวกันก็จุดกระแสวิตกว่าอาจนำมาซึ่งการละเมิดความเป็นส่วนตัว ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ […]

จีนออกร่าง กม.กำหนดให้ประเมินความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ AI

ปักกิ่ง 11 เม.ย.- หน่วยงานกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตของจีนเผยแพร่ร่างกฎหมายที่กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) แบบใหม่ที่พัฒนาในจีนจะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยก่อนนำออกสู่สาธารณะ สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซแห่งจีนเผยแพร่ร่างกฎหมายชื่อ มาตรการบริหารสำหรับบริการเอไอแบบรู้สร้าง (generative AI) เพื่อให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็น เนื้อหาของร่างกฎหมายระบุว่า ผลิตภัณฑ์เอไอแบบรู้สร้างจะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต ก่อนนำออกให้บริการแก่สาธารณชน ทั้งนี้เพื่อให้เทคโนโลยีเอไอแบบรู้สร้างมีการพัฒนาอย่างเป็นประโยชน์และมีการใช้งานอย่างเป็นมาตรฐาน เนื้อหาที่เอไอสร้างขึ้นจะต้องสะท้อนถึงค่านิยมตามหลักสังคมนิยม และต้องไม่มีเนื้อหาล้มล้างอำนาจรัฐ รัฐบาลจีนออกร่างกฎหมายนี้ในขณะที่บริษัทเทคโนโลยีในจีนกำลังเร่งพัฒนาบริการที่สามารถเลียนแบบคำพูดของคน หลังจากโอเพนเอไอ (OpenAI) ที่เป็นองค์กรวิจัยในซานฟรานซิสโกของสหรัฐสร้างความฮือฮาไปทั่วโลกด้วยการเปิดตัวแชทจีพีที (ChatGPT) ซึ่งเป็นเอไอที่สามารถสื่อสารข้อความได้เหมือนคนแบบเรียลไทม์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อน ความก้าวหน้าด้านเอไอได้จุดกระแสวิตกว่า เทคโนโลยีนี้จะถูกนำไปใช้ในทางมิชอบและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ หนึ่งในนั้นคือ ดีปเฟค (deepfake) เอไอที่ปลอมแปลงข้อมูลใบหน้าและเสียงได้อย่างแนบเนียน ทำให้จีนต้องออกระเบียบใหม่ในเดือนมกราคมกำหนดให้ธุรกิจที่จะให้บริการดีปเฟคต้องมีข้อมูลที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของผู้ใช้งาน และต้องติดป้ายบอกว่าเป็นเนื้อหาดีปเฟค เพื่อป้องกันความสับสน.-สำนักข่าวไทย

...