fbpx

อินเดียเปิดวิหารพระรามในพื้นที่พิพาท

นิวเดลี 22 ม.ค.- ความขัดแย้งระหว่างศาสนาฮินดูกับอิสลามในอินเดียส่อเค้าที่จะรุนแรงขึ้นมาอีก เมื่อวันนี้รัฐบาลอินเดียจะเปิดวิหารพระรามในเมืองอโยธยาที่สร้างขึ้นบนพื้นที่ข้อพิพาทกับชาวมุสลิม พื้นที่พิพาทในเมืองอโยธยา รัฐอุตตระประเทศทางเหนือของอินเดีย เคยเป็นที่ตั้งของมัสยิดบาบรี อายุกว่า 400 ปี จนกระทั่งเมื่อปี 2539 กลุ่มฮินดูขวาจัดบุกเข้าทำลายมัสยิด เพราะเห็นว่าแต่เดิมนั้นพื้นที่นี้เป็นวิหารของชาวฮินดู จนเกิดการประท้วงและปะทะกันระหว่างคนสองศาสนาในหลายเมืองของอินเดีย ทำให้ผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 2,000 คน ต่อมาเมื่อมีการฟ้องร้องดำเนินคดี จนเมื่อปี 2562 ศาลฎีกามีคำพิพากษาตัดสินให้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นกรรมสิทธิ์ของชาวฮินดู จึงมีการสร้างวิหารพระรามขึ้นใหม่ ซี่งเป็นไปตามคำร้องของชาวฮินดูที่เชื่อว่า โดยดั้งเดิมนั้นพื้นที่พิพาทเป็นที่ตั้งของวิหารพระราม แล้วชาวมุสลิมที่รุกรานเข้าไปได้สร้างมัสยิดทับวิหารเดิมที่เป็นแดนกำเนิดของพระราม ในวันนี้ นาย นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียจะเดินทางไปทำพิธีเปิดวิหารที่มีความสูง 3 ชั้น สร้างด้วยดินทรายสีชมพู ผสมกับหินแกรนิตสีดำเป็นหลัก ภายในประดิษยฐานเทวรูปพระรามความสูง 51 นิ้ว  เขาได้ยกให้การสร้างวิหารพระรามนี้เป็นนโยบายหลักในการหาเสียงจนพรรคภารติยะชันตะของเขาชนะการเลือกตั้ง และเพิ่งกล่าวว่า เป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของรัฐบาล  ในขณะเดียวกัน  นักการศาสนาบางคนยังเห็นว่า วิหารยังไม่สมบูรณ์และไม่ควรประกอบพิธีใดๆ ยิ่งไปกวานั้น ฝ่ายค้านได้ต่อต้านนายโมดีและรัฐบาลที่มีแนวนโยบายชาตินิยมฮินดู เพราะเห็นว่าเป็นการนำความขัดแย้งมาหาประโยชน์ทางการเมือง การรีบเร่งเปิดวิหารจึงน่าจะเป็นความพยายามหาคะแนนนิยมจากชาวฮินดูซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งใหญ่ในอีกไม่เดือน.-812(814).-สำนักข่าวไทย

นักบวชที่ขึ้นเวทีเดียวกับผู้นำอินเดียติดเชื้อโควิด-19

อินเดียรายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายใหม่พุ่งสูงทำลายสถิติอีกครั้งในวันนี้ โดยมีผู้ติดเชื้อไวรัสในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมารวมแล้วเกือบ 6,700 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือผู้นำทางศาสนาฮินดู ที่ขึ้นเวทีเดียวกับนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ในพิธีเริ่มการก่อสร้างโบสถ์พระรามของศาสนาฮินดูเมื่อไม่นานมานี้

ศาลอินเดียพิพากษาให้กลุ่มชาวฮินดูได้รับกรรมสิทธิ์พื้นที่ข้อพิพาท

ศาลฎีกาของอินเดียพิพากษาตัดสินในวันนี้ให้กลุ่มชาวฮินดูได้รับสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของพื้นที่ที่เป็นช้อพิพาททางระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมมาเป็นระยะเวลายาวนานหลายสิบปี

...