Kick Off โครงการใช้ยางพาราเพื่อความปลอดภัย ปักธง จ.สตูล

กรุงเทพฯ 6 ก.ย.- คมนาคมเดินหน้า (Kick Off) โครงการใช้ยางพาราเพื่อความปลอดภัยทางถนน ลุยจังหวัดสตูล สาธิตขั้นตอนการผลิต “RFB” พบชาวสวนสุดชื่นมื่น หลังโครงการช่วยดันราคารับซื้อยางทะลุกิโลกรัมละ 60 บาทแล้ว นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมในพิธีเปิดโครงการนำน้ำยางพารา มาใช้เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick Off) ที่บริเวณทางหลวงหมายเลข 404 กิโลเมตรที่ 102+150 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยนายอนุทิน ยืนยันว่า โครงการดังกล่าว คือนโยบาย “Thai First ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน”เพราะการผลิต rubber fender barriers ถือเป็นโครงการที่คิดค้นโดยคนไทย นำสินค้าที่ผลิตได้มาใช้ในประเทศ และในช่วงแรกของโครงการ เงินรายได้เข้าถึงมือเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง ซึ่งจะมีสัดส่วนที่ถึงมือเกษตรกรสูงถึง 70 % หรือคิดเป็นมูลค้า […]

รมว.สธ.ย้ำ รพ.ในสังกัด พร้อมดูแลประชาชน 24 ชั่วโมง

สธ.3 ส.ค.-รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สถานพยาบาลในสังกัด ติดตามสถานการณ์พายุ “ซินลากู” ใกล้ชิด พร้อมดูแลประชาชนตลอด24 ชั่วโมง ประสานหน่วยงานในพื้นที่เสริมการทำงานกัน ฝาก อสม. ดูแลผู้ป่วยพื้นที่น้ำท่วมขังถึงบ้าน อย่าให้ขาดยา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ได้รับรายงานว่าไม่มีหน่วยงานในสังกัดได้รับความเสียหายจากพายุ “ซินลากู” ที่ส่งผลกระทบต่อบริการ สถานการณ์พายุเริ่มคลี่คลาย ได้สั่งการให้สถานพยาบาลทุกแห่ง พร้อมดูแลประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะโรงพยาบาลศูนย์ที่ต้องรับส่งต่อต้องเตรียมพร้อมหากมีเหตุการณ์น้ำหลากซ้ำ ทั้งนี้ สถานพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงขอให้ติดตามสถานการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด ให้ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ เพื่อป้องกันความเสียหาย และไม่กระทบบริการประชาชน ขนย้ายยาเวชภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ไว้ในที่ปลอดภัย จัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นให้เพียงพอ เตรียมแผนและระบบส่งต่อผู้ป่วยยังพื้นที่สำรองที่ปลอดภัยจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พร้อมออกปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยตลอด 24 ชั่วโมง “ขอให้พื้นที่ให้ความสำคัญเรื่องการบริการประชาชนเป็นหลัก ผู้บริหารในพื้นที่ต้องประสานงานกับส่วนราชการอื่นๆ เพื่อเสริมการทำงานซึ่งกันและกัน ลดความซ้ำซ้อนในการช่วยเหลือ ที่สำคัญคือให้ระดมสรรพกำลังเต็มที่ในการช่วยเหลือ อย่าให้กฎระเบียบต่างๆมาเป็นอุปสรรคในการทำงานเพื่อประชาชน หากอะไรอยู่นอกเหนืออำนาจการตัดสินใจของพื้นที่ให้ประสานมายังส่วนกลาง โดยเฉพาะยาและเวชภัณฑ์ต้องเพียงพอต่อการให้บริการประชาชนตลอดเวลา และในพื้นที่ที่น้ำท่วมสูงเข้าถึงยาก ขอให้ อสม. ดูแลผู้ป่วยถึงบ้านอย่าให้ขาดยา” นายอนุทินกล่าว .-สำนักข่าวไทย

1 37 38 39
...