เตรียมดัน สธ.วิจัยน้ำต้มใบมะละกอ
“สมศักดิ์” ยันน้ำต้มใบมะละกอรักษามะเร็งได้ ไม่ใช่เฟคนิวส์ แม้สถาบันมะเร็งชี้เป็นข่าวปลอม รับยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการ แต่ผลที่นำมาเปิดเผยเป็นผู้ป่วยที่กินแล้วได้ผลจริง เตรียมดัน สธ.วิจัย ชี้ญี่ปุ่นจดสิทธิบัตรแล้ว
“สมศักดิ์” ยันน้ำต้มใบมะละกอรักษามะเร็งได้ ไม่ใช่เฟคนิวส์ แม้สถาบันมะเร็งชี้เป็นข่าวปลอม รับยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการ แต่ผลที่นำมาเปิดเผยเป็นผู้ป่วยที่กินแล้วได้ผลจริง เตรียมดัน สธ.วิจัย ชี้ญี่ปุ่นจดสิทธิบัตรแล้ว
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ลงนามศึกษาวิจัยคลินิก ร่วมกับศูนย์มะเร็งแห่งชาติของญี่ปุ่น ศึกษาวิจัยทางคลินิกการรักษามะเร็งร่วมกัน ทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์การรักษา และการจ่ายยา เน้นการรรักษาในระดับยีนส์ เพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็ง
ศิริราชจัดออนไลน์ประชุมวิชาการ แนวทางใหม่รักษาโรคมะเร็งด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด แม่นยำ ปลอดภัย ได้ผลดี
มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งวิจัยศึกษาคุณสมบัติทางยาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” หวังพิชิตมะเร็ง, โควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ ครั้งแรกของโลก
สถาบันมะเร็งฯ 23 มี.ค.-ตามที่มีกระแสข่าวทางสื่อออนไลน์ โดยระบุว่า “ขันทองพยาบาทรักษาโรคมะเร็งได้หายขาด” สถาบันมะเร็งฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขันทองพยาบาท เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้าน มีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลคาลอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น จากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารนี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าขันทองพยาบาทช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า การรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ .-สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 15 ก.ย.- สถาบันมะเร็งฯ เตือนข่าวปลอม “ต้นอังกาบหนูรักษาโรคมะเร็งได้หายขาด จากกรณีที่มีข่าวปรากฏผ่านสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง “ต้นอังกาบหนูรักษาโรคมะเร็งได้หายขาด” กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า ต้นอังกาบหนูไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ได้นั้น นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ต้นอังกาบหนู (Barleria prionitis L.) เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านมีกลุ่มฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ฟีโนลิกส์ ฟลาโวนอยด์ และเทอร์พีนอยด์ จากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารนี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าต้นอังกาบหนูช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า การใช้สมุนไพรอาจส่งผลข้างเคียงกับผู้ใช้ได้ ดังนั้นควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ .-สำนักข่าวไทย
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ แจ้งเตือนข่าวปลอม
“เปลือกต้น และแก่นของตะโกนาสามารถรักษาโรคมะเร็ง”
บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปพร้อมข้อความเรื่องราวของชายคนหนึ่ง ป่วยมะเร็งรวม 5 อย่าง ใช้น้ำมันกัญชา และผลิตภัณฑ์กัญชา รักษาควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบัน อาการดีขึ้นจนหายขาด ภายในเวลา 3 เดือน ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
กรมการแพทย์ 13 ส.ค.-สถาบันมะเร็งฯ แจงข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับประเด็น “น้ำปั่นใบไม้สดและผักสดที่ไม่ผ่านความร้อนช่วยรักษามะเร็ง” ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรณีมีคำแนะนำว่าวิธีรักษามะเร็งด้วยการดื่มน้ำปั่นใบไม้สดและผักสดที่ได้แก่ ใบบัวบก ใบตำลึง ใบมะยม ใบมะกรูด ใบมะนาว ใบชะมวง ใบมันปู ใบโหระพา ใบกระเจี๊ยบแดง ใบเม่า ใบเตย ใบข่า ผลมะระขี้นก และมะเขือเทศราชินี ที่ไม่ผ่านความร้อนช่วยรักษามะเร็งนั้น จากการตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการพบว่าพืชผักดังกล่าวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีส่วนในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง แต่ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันผลการรักษามะเร็งด้วยการดื่มน้ำปั่นใบไม้สดและผักสด นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า อาหารในกลุ่มพืชผักสมุนไพร อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และอาจมีส่วนในการป้องกันมะเร็งได้ เช่น สารเบต้าแคโรทีน สารไลโคปีน สารฟลาโวนอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบการป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งนั้น ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งยังไม่มีรายงานผลทางคลินิกเกี่ยวกับปริมาณรับประทานที่สามารถป้องกันมะเร็งได้ การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณา หรือตรวจสอบอาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ง่าย จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าวและขอความร่วมมือไม่ส่ง […]
บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำว่า น้ำสับปะรดร้อน ๆ สามารถฆ่าเซลล์มะเร็ง รักษามะเร็งได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
สังคมออนไลน์แชร์ภาพ “ข้อเท็จจริงที่เราควรรู้” เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเสพติดง่ายทำลายสุขภาพแต่ยังถูกกฎหมาย เทียบกับกัญชา เสพติดยาก รักษาสุขภาพนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมายเรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์
บนสังคมออนไลน์แชร์สูตรอาหาร “ปราบมะเร็ง” หายภายใน 2 สัปดาห์ โดยกินข้าวกับมะม่วงและโยเกิร์ต เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์