อุตุฯ​ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูฝนวันที่​ 22​ พ.ค. นี้

กรุงเทพ​ฯ​ 19 พ.ค. – กรมอุต​ุนิยมวิทยา​ประกาศว่า​ ประเทศไทยสิ้นสุดฤดูร้อนและจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนปี 2566 ในวันที่22 พ.ค. ปีนี้ปริมาณฝนรวมทั้งฤดูจะน้อยกว่าปีที่แล้ว ประมาณกลาง มิ.ย.-กลาง ก.ค. จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ส่วนในเดือน ส.ค.-ก.ย. จะเป็นช่วงที่ฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด มีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณภาคเหนือและอีสาน 1-2 ลูก 

กรมชลฯ ผนึกอุตุฯ จัดการน้ำฤดูฝนในปีฝนน้อยจากเอลนีโญ

อธิบดีกรมชลประทานเผย วางแผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2566 โดยให้ความสำคัญทั้งการเก็บกักน้ำและป้องกันอุทกภัยไปพร้อมกัน เหตุกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ปริมาณต่ำกว่าค่าปกติ 5% จากสภาวะเอลนีโญ แต่ในเดือนส.ค.-ก.ย. มีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย 1-2 ลูก

“โมคา” ขึ้นฝั่งเมียนมา-บังกลาเทศบ่ายนี้ ส่งผลไทยฝนตกหนักหลายพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนหลายพื้นที่จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นจากอิทธิพลพายุไซโคลน “โมคา” คาดบ่ายนี้พายุจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเมียนมาตอนบนและบังคลาเทศ แต่ขอบของพายุจะส่งผลต่อประเทศไทย รวมทั้งจะทำให้ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรง ช่วงบ่ายถึงเย็นจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน แนะให้ออกไปเลือกตั้งช่วงเช้า

อุตุฯ คาดพายุไซโคลน MOCHA ขึ้นฝั่งเมียนมา-บังคลาเทศ 14 พ.ค.นี้

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เผยพายุไซโคลนจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเมียนมาตอนบนหรือบังคลาเทศ ในวันที่ 14 พ.ค. ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหลายพื้นที่และตกหนักบางพื้นที่

อุตุฯ ชี้ดีเปรสชันในอ่าวเบงกอลทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนก่อนเที่ยงวันนี้

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเผย พายุดีเปรสชันในอ่าวเบงกอลจะทวีกำลังแรงเป็นพายุไซโคลนก่อนเที่ยงวันนี้ จะได้ชื่อว่า “MOCHA” หรือ “โมคา” ในภาษาไทย โดย “MOCHA” เป็นชื่อเมืองท่าในเยเมนที่เป็นแหล่งปลูกและค้าขายกาแฟแหล่งแรกของโลก คาดว่า ศูนย์กลางจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมียนมาตอนบนหรือบังคลาเทศในวันที่ 14 พ.ค. ส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้นในวันเลือกตั้ง

อุตุฯ เผยทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคใต้ยังมีฝน

กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวตอนกลางวัน แนะประชาชนดูแลสุขภาพ ระวังโรคลมแดด ส่วนภาคใต้ยังมีฝนฟ้าคะนอง

“อุตุฯ” เตือนเกิดพายุฤดูร้อน-เฝ้าระวังไซโคลน

กรมอุตุนิยมวิทยาเตือน ตั้งแต่วันที่ 8-13 พ.ค. ประเทศไทยตอนบนอาจได้รับผลกระทบทั้งจากพายุฤดูร้อนและพายุไซโคลน ประกอบกับมีมวลอากาศเย็นจากจีนและทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิกแผ่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคอีสาน รวมถึงมีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวบริเวณทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนจะเกิดฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

รับมือ “เอลนีโญ” ส่งผลกลางปีนี้ฝนทิ้งช่วง

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์สภาวะเอลนีโญ จะเริ่มต้นขึ้นในเดือน มิ.ย. ส่งผลให้เกิดฝนทิ้งช่วง และปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติ โดยเอลนีโญจะต่อเนื่องไปถึงฤดูแล้ง คือช่วง ก.พ. 2567 แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าจะลากยาวไป 2-3 ปีหรือไม่

เกิดพายุฝนฟ้าคะนองหลายพื้นที่จากการเปลี่ยนถ่ายฤดูกาล

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาเผย พายุฝนฟ้าที่ตกช่วงบ่ายถึงค่ำระยะนี้ มาจากทิศทางลมและอากาศแปรปรวนห้วงเริ่มเปลี่ยนถ่ายฤดูกาลจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน โดยต้องระวังเช่นเดียวกับพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่วันพรุ่งนี้จนถึงวันที่ 1 พ.ค.

เตือนพายุฤดูร้อนรอบใหม่ 29 เม.ย.-1 พ.ค. กระทบ 63 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนเฝ้าระวังพายุฤดูร้อนรอบใหม่ระหว่าง 29 เม.ย. – 1 พ.ค. โดยจะส่งผลกระทบถึง 63 จังหวัด ความรุนแรงใกล้เคียงกับพายุฤดูร้อนรอบก่อนหน้า 24 – 26 เม.ย. ลักษณะอากาศจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

เฝ้าระวังพายุฤดูร้อนต่อ 2 วัน เกิดอีก 29-30 เม.ย. นี้

กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้เฝ้าระวังพายุฤดูร้อนต่อเนื่องอีก 2 วัน คาดวันพรุ่งนี้ (27 เม.ย.) ซึ่งดวงอาทิตย์โคจรตั้งฉากกรุงเทพฯ อากาศไม่ร้อนจัด โดยสภาวะฝนฟ้าคะนองจะเบาลงเพียงวันเดียว แล้วอาจเกิดพายุฤดูร้อนขึ้นอีกครั้งวันที่ 29-30 เม.ย. นี้

1 12 13 14 15 16 113
...