วิเคราะห์บทบาทคนกลางสหรัฐ-อิหร่านของนายกฯญี่ปุ่น

โตเกียว 10 มิ.ย.- นักวิเคราะห์มองบทบาทของนายกรัฐมนตรีชิน โซ อาเบะของญี่ปุ่นที่จะทำหน้าที่คนกลางระหว่างสหรัฐกับอิหร่านด้วยการไปเยือนอิหร่านในสัปดาห์นี้ว่าจะได้ผลมากน้อยเพียงใด


นายกรัฐมนตรีอาเบะจะพบกับอยาตอลลาห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดและประธานาธิบดีฮัสซัน โรว์ฮานีระหว่างเยือนอิหร่าน 12-14 มิถุนายน นับเป็นผู้นำญี่ปุ่นคนแรกที่เยือนอิหร่านในรอบ 4 ทศวรรษ หลังจากมีการเยือนครั้งหลังสุดในปี 2521 หนึ่งปีก่อนการปฏิวัติอิสลามอิหร่าน นายโยชิฮิเดะ สุกะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ญี่ปุ่นเรียกร้องในระดับผู้นำกับผู้นำให้อิหร่านในฐานะมหาอำนาจระดับภูมิภาคคลี่คลายความตึงเครียด  ยึดมั่นตามข้อตกลงนิวเคลียร์ และแสดงบทบาทสร้างสรรค์เพื่อเสถียรภาพของภูมิภาค เจ้าหน้าที่รัฐบาลญี่ปุ่นเผยว่า นายกรัฐมนตรีจะไม่เป็นตัวแทนนำสารจากสหรัฐหรือยื่นข้อเรียกร้องต่ออิหร่าน แต่ต้องการเป็นคนกลางที่เป็นกลางจริง ๆ  

นายไมเคิล โบแซค ที่ปรึกษาพิเศษเรื่องความสัมพันธ์รัฐบาล สภาโยโกสุกะว่าด้วยเอเชียแปซิฟิกศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานไม่แสวงหากำไรในเมืองโยโกสุกะของญี่ปุ่นชี้ว่า ญี่ปุ่นไม่ได้แบกภาระทางประวัติศาสตร์หรือศาสนาเหมือนคนกลางอื่น ๆ และได้แสดงเจตจำนงที่จะดำเนินนโยบายตะวันออกกลางตามแนวทางของตนเองมาโดยตลอด ทำให้นายกรัฐมนตรีอาเบะอยู่ในสถานะที่จะสามารถเจรจากับผู้นำสูงสุดอิหร่าน ทางเลือกตามข้อเสนอของญี่ปุ่นอาจเปิดทางให้กลุ่มแข็งกร้าวในอิหร่านอ่อนท่าทีลงโดยไม่ต้องเสี่ยงรับผลกระทบทางลบหากยอมรับทางออกของตะวันตก 


นายเท็ตสึโระ คาโตะ อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะเห็นว่า นายอาเบะต้องการแสดงบทบาททางการทูตในยามที่การเผชิญหน้ากับรัสเซียเรื่องหมู่เกาะพิพาทและเกาหลีเหนือเรื่องปัญหานิวเคลียร์ถึงทางตัน นอกจากนี้การเยือนอิหร่านก็เพื่อประโยชน์ของญี่ปุ่นเองด้วย เพราะญี่ปุ่นต้องงดนำเข้าน้ำมันอิหร่านตามมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐ จากเดิมที่นำเข้าร้อยละ 5 ของทั้งหมด ทำให้ตกที่นั่งลำบากเมื่อน้ำมันราคาแพง

นายเอบราฮิม ราฮิมปูร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศอิหร่านมองว่า นายกรัฐมนตรีอาเบะมาอิหร่านหลังจากเพิ่งต้อนรับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐเมื่อเดือนก่อน แสดงว่าสหรัฐต้องการให้ญี่ปุ่นเป็นช่องทางการสื่อสาร ดังนั้นอิหร่านจะประกาศสิทธิและจุดยืนของตนเอง เพื่อให้อีกฝ่ายประกาศสิ่งที่อาจเป็นสารจากประธานาธิบดีสหรัฐ 

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคิดว่า แม้ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์อันดีมายาวนานทั้งกับอิหร่านและสหรัฐ แต่ผู้นำญี่ปุ่นไม่มีอิทธิพลเหนือประเทศใดประเทศหนึ่ง ภารกิจการเป็นคนกลางครั้งนี้คงไม่ต่างจากการเข็นครกขึ้นภูเขา อีกทั้งญี่ปุ่นไม่เคยแสดงบทบาทนำในปัญหาตะวันออกกลางมาก่อน จึงไม่สามารถคาดหวังผลมากนัก นอกจากหวังว่าจะช่วยการให้เจรจาไม่หยุดชะงักและช่วยคลี่คลายความตึงเครียดลงได้บ้าง.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

รถทัวร์โดยสารชนท้ายเทรลเลอร์ เสียชีวิต-บาดเจ็บจำนวนมาก

รถทัวร์โดยสารชนท้ายรถบรรทุกเทรลเลอร์ บนถนนสาย 304 จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ไฟลุกไหม้รถทัวร์โดยสาร เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก

ชาวบ้านยอมรับค่าเยียวยาหลังละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดิน

ชาวบ้านยอมรับการเยียวยา บ้านละ 1 หมื่นบาท จากเจ้าของที่ดินใน จ.ระยอง หลังถมที่สูงมิดหลังคาของเพื่อนบ้าน และรับปากจะเร่งแก้ไขให้ทันหน้าฝนที่จะถึงนี้ แต่ชาวบ้านยังหวั่นใจ หากแก้ไขไม่ทันก็ยังจะเดือดร้อน น้ำจะไหลลงมาบ้านที่อยู่ต่ำกว่า

“พีช” หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายแล้ว

“นายกเบี้ยว” พร้อมลูกชาย หอบเงิน 2 แสน หวังจ่ายค่ารักษาลุงป้า แต่ญาติชิงจ่ายก่อนแล้ว จึงฝากจดหมายขอโทษไว้ ด้าน “กัน จอมพลัง” ยอมถอย ให้สองฝ่ายพูดคุย แต่ต้องเป็นรูปธรรม

ข่าวแนะนำ

รวบทันควัน คนร้ายบุกเดี่ยวชิงเงินธนาคาร

จับแล้ว คนร้ายบุกเดี่ยวชิงทรัพย์ธนาคารกลางเมืองเชียงใหม่ ได้เงินสดกว่า 40,000 บาท ก่อนวิ่งหลบหนี ล่าสุดจนมุมตำรวจรวบตัวได้ที่ศาลาริมทางข้างถนน

โป๊ปฟรังซิส สิ้นพระชนม์แล้ว ขณะพระชนมายุ 88 พรรษา

สำนักวาติกัน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ของสำนักวาติกันว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกันสิ้นพระชนม์แล้วในวันนี้

Pope inaugurated the Holy Year on Christmas Eve on December 24, 2024

เปิดพระประวัติโป๊ปฟรังซิส

วาติกัน 21 เม.ย.- เว็บไซต์ข่าวโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี (CNBC) ของสหรัฐ เปิดพระประวัติที่น่าสนใจ 10 ประการของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส พระประมุขแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกและพระประมุขแห่งนครรัฐวาติกัน ที่สิ้นพระชนม์วันนี้ (21 เม.ย.68) ขณะมีพระชนมายุ 88 พรรษา ประการที่ 1 ทรงเป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันและเยสุอิตคนแรก สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มีพระนามเดิมว่า ฮอร์เก มาริโอ เบร์โกกลิโอ ประสูติวันที่ 17 ธันวาคม 2479 ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา เป็นพระสันตะปาปาลาตินอเมริกันคนแรกของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก แตกต่างจากผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาเกือบ 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิตาลี ทรงมาจากนอกทวีปยุโรปในฐานะพระสันตะปาปาพระองค์ที่ 266 และเป็นนักบวชคณะเยสุอิตคนแรกที่ขึ้นดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา ประการที่ 2  ทรงมีพื้นเพมาจากอิตาลี แม้ว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสประสูติในอาร์เจนตินา แต่ท่านมีมรดกทางชาติพันธุ์จากอิตาลี จากการที่บิดามารดาเป็นผู้อพยพชาวอิตาลี บิดาทำงานเป็นนักบัญชีในทางรถไฟ ขณะที่มารดาอุทิศตนให้กับการเลี้ยงลูกทั้ง 5 คน ประการที่ 3 ทรงศึกษาด้านเคมีและปรัชญา สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสศึกษาปรัชญาและมีปริญญาโทในด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส ทรงศึกษาในโรงเรียนเทคนิคและได้ฝึกอบรมเป็นช่างเทคนิคเคมี ก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาแห่งอัครสังฆมณฑลบิญญา เดโวโต […]