รู้จัก “กระบวนการถอดถอน” ประธานาธิบดีเกาหลีใต้

the speaker of parliament declared the martial law announcement invalidสภาเกาหลีใต้

โซล 4 ธ.ค.- ประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ของเกาหลีใต้ กำลังเผชิญกระแสกดดันให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง จากการประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อกลางดึกที่ผ่านมา แม้ว่าได้ยกเลิกประกาศในเช้าวันนี้แล้วก็ตาม


รัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ให้อำนาจรัฐสภายื่นญัตติถอดถอนประธานาธิบดีหรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงออกจากตำแหน่ง หากมีเหตุให้เชื่อว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย กระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีต้องใช้เสียงข้างมากของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติสภาเดียวจำนวน 2 ใน 3 เสียง ส่วนการถอดถอนเจ้าหน้าที่ระดับสูงใช้เสียงข้างมากธรรมดา

South Korea's President Yoon says he will lift martial law
ปธน.ยุน ซอก-ยอล

สภาเกาหลีใต้ชุดปัจจุบันมีพรรคประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักครองเสียงร่วมกับพรรคขนาดเล็ก 192 เสียงจากทั้งหมด 300 ที่นั่ง ขาดอีกเพียงไม่กี่เสียงก็จะถึง 2 ใน 3 ตามเกณฑ์การถอดถอนประธานาธิบดี ขณะที่พรรคพลังประชาชนที่เป็นรัฐบาลมี 108 เสียง สมาชิกสภาพรรครัฐบาลหลายคนแสดงความไม่เห็นด้วยกับการประกาศกฎอัยการศึก แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะเข้าร่วมกับฝ่ายค้านหรือไม่


South Korean soldiers enter parliament through smashed windows
ทหารตามกฎอัยการศึกบุกเข้าสภา

หากสภามีมติว่าจะยื่นญัตติถอดถอน ประธานาธิบดีจะถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่ โดยให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่รักษาการ ระหว่างนั้นศาลรัฐธรรมนูญจะให้ประธานคณะกรรมาธิการยุติธรรมของสภาและเจ้าหน้าที่รัฐหรือทนายความแถลงด้วยวาจาเรื่องประธานาธิบดีละเมิดกฎหมาย โดยมีเวลาพิจารณาสูงสุด 6 เดือน และตัดสินด้วยคะแนนเสียงของผู้พิพากษา 6 ต่อ 9 ว่าจะรับหรือไม่รับญัตติของสภา ปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้มีผู้พิพากษาว่างอยู่ 3 ตำแหน่ง ยังไม่แน่ชัดว่าจะศาลจะไต่สวนทั้งที่ไม่ครบองค์คณะผู้พิพากษาหรือไม่

South Korea President Park Geun-hye on Novemner 2016
ปธน.ปัก กึน-ฮี ปี 2559

หากประธานาธิบดีถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือหากลาออกเอง นายกรัฐมนตรีจะทำหน้าที่รักษาการ และจะต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน นางพัก กึน-ฮเย บุตรสาวของอดีตประธานาธิบดีพัก จอง-ฮี เป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้ที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2560 ข้อหาคบคิดกับคนสนิท และข้อหาใช้อำนาจโดยมิชอบ ส่วนเมื่อปี 2547 นายโนห์ มู-ฮยอน ประธานาธิบดีในขณะนั้นถูกยื่นญัตติถอดถอนโทษฐานไม่รักษาความเป็นกลางทางการเมือง แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับญัตติและให้เขาดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 5 ปี ในปี 2551.-814.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่ม 31 ซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับคาที่ หลังมีปากเสียงเรื่องขับเฉี่ยวชน

หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย ลูกเจ้าของร้านขายผ้าซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับ ริมถนนสุขุมวิท หลังมีปากเสียงเรื่องขับรถเฉี่ยวไม่ลงมาเจรจา

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ขับรถชนไรเดอร์ดับ

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ที่หัวร้อนขับรถชนไรเดอร์ดับคาที่กลางสุขุมวิท เมื่อวานนี้ พร้อมไหว้ขอสื่อ อย่ามายุ่งกับครอบครัว

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ศาลให้ประกันหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนไรเดอร์ดับ

ครอบครัวไรเดอร์ที่ถูกหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนเสียชีวิต กอดกันร้องไห้รับร่างและรดน้ำศพ ด้านศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหา วงเงิน 600,000 บาท ติดกำไล EM-ห้ามออกนอกประเทศ

ข่าวแนะนำ

วันประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียมวันแรก

วันนี้เป็นวันแรกที่กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ ใน กทม. มีการจัดงานวันสมรสเท่าเทียมอย่างยิ่งใหญ่ เฉลิมฉลองให้กับเส้นทางการต่อสู้อันยาวนานกว่าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ไม่ว่าเพศใดก็จะได้รับสิทธิการสมรสอย่างเท่าเทียมกัน

นาทีประวัติศาสตร์! นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา

นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาลแพทองธาร สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน ทำเงินเข้าประเทศ

ตำรวจ ปปป.ซ้อนแผนบุกจับนายช่างโยธา เรียกรับเงิน 4 แสน

ตำรวจ ปปป. บุกจับนายช่างโยธาปฏิบัติงาน ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตพระโขนง เรียกรับเงินค่าออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร 400,000 บาท

สมรสเท่าเทียม

นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้

“แพทองธาร” นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมแสดงความยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้ ขอบคุณทุกภาคส่วนผ่านการต่อสู้กับอคติกว่า 2 ทศวรรษ ทำให้ ทุกตารางนิ้วของประเทศไทยโอบรับความหลากหลาย และเท่าเทียม