ชาวนาเฮ นบข. ชง ครม.จ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท

นนทบุรี 10 พ.ย. – ที่ประชุม นบข. อนุมัติเงินช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท ครัวเรือนละ 2 หมื่นบาท ต่อที่ประชุม ครม. สัปดาห์หน้าเห็นชอบ พร้อมจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรทันที


นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่/ครัวเรือน วงเงินงบประมาณ 56,321.07 ล้านบาท ซึ่งมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2566/67 ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน ระยะเวลาโครงการ 1 ต.ค.66 ไปจนถึง 30 ก.ย.67

สำหรับการให้เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท นั้น คาดว่าจะเสนอเพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 14 พ.ย.นี้ โดยคาดว่า เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท น่าจะเริ่มจ่ายให้ได้ภายในเดือนพฤศจิกายน 2566 หลังจากที่ประชุม ครม. เห็นชอบ โดยงบประมาณที่ใช้ รัฐบาลจะดูแล การใช้งบประมาณ โดยไม่ให้ผิดวินัยการเงินการคลังโดยการให้เงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท มีกรอบวงเงินจ่ายขาด 56,321 ล้านบาท กำหนดเกษตรกรเป้าหมาย 4.68 ล้านครัวเรือน โดยจะให้เงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท กับเกษตรกรครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือคิดเป็นเงิน 20,000 บาท ต่อครัวเรือน


ทั้งนี้ ในปีหน้ารัฐบาล เตรียมการจะปรับโครงสร้างการผลิตข้าว และปีนี้จะเป็นปีสุดท้ายที่ใช้นโยบายแบบนี้ โดยปีหน้าจะนำโครงการลดต้นทุนเกษตรกร และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผ่านนวัตกรรม เพื่อให้มีการผลิตข้าวคุณภาพเพื่อเพิ่มรายได้ เพื่อลดการใช้งบประมาณลง ซึ่งรัฐบาลมีโครงการการช่วยเหลือชาวนาจะปีนี้จะใช้วงเงิน 66,000 ล้านบาท และจะเป็นวงเงินสินเชื่อชดเชยดอกเบี้ยสหกรณ์ 34,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ 2 มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อช่วยเหลือชาวนาในการดูดซับปริมาณข้าวออกจากตลาด แบ่งเป็นสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ม สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยทั้ง 2 มาตรการมีวงเงินรวมกว่า 55,038.96 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อของ ธ.ก.ส. 44,437 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาด 10,601.96 ล้านบาท

นายภูมิธรรม กล่าวว่า เหตุผลของการออกมาตรการมาช่วยเหลือชาวนาเป็นผลมาจากในขณะนี้ราคาข้าวเปลือก ยกเว้นข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาตลาดค่อนข้าวจะดี แต่ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิที่กำลังจะทยอยออกมาในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ทั้งภาคอีสาน และภาคเหนือ ประมาณ 9.5 ล้านตัน โดยราคาข้าวเปลือกหอมมะลิราคาตลาดอยู่ประมาณตันละ 14,800-15,000 บาท ซึ่งเป็นข้าวเปลือกแห้งความชื้น 15% แต่สภาพความเป็นจริงเวลาชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วขายเลย จะมีความชื้นอยู่ที่ 25% มีราคาแค่ตันละ 12,000-12,300 บาท ซึ่ง ราคาตลาด ณ ขณะนี้ รับซื้ออยู่ที่ตันละ 11,000 บาทเท่านั้น ถือว่าต่ำกว่าราคาที่เป็นธรรมที่ควรจะได้


ทั้งนี้ ด้วยเหตุดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ จึงได้จัดทำมาตรการมาแทรกแซงราคาด้วยการออก 2 มาตรการมาช่วยดูดซับปริมาณข้าว เพื่อดึงราคาข้าวให้ปรับเพิ่มขึ้นมา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี มีเป้าหมายดูดซับปริมาณข้าวออกสู่ตลาด 3 ล้านตัน โดยให้สถาบันเกษตรกร และ เกษตรกรที่มียุ้งฉางของตัวเองเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉาง 5 เดือน เพื่อรอการขาย ซึ่งรัฐบาลจะให้สินเชื่อโดยกำหนดปล่อยสินเชื่อในกลุ่มข้าวหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวหอมมะลิปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเจ้า ตันละ 9,000 บาท ข้าวเหนียว ตันละ 10,000 บาท พร้อมทั้งช่วยค่าฝากอีก ตันละ 1,500 บาท (สหกรณ์รับตันละ 1,000 บาท+เกษตรกรรับตันละ 500 บาท) มีวงเงินสินเชื่อ 34,437 ล้านบาท และวงเงินจ่ายขาด 10,120.71 ล้านบาท กำหนดเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567

2.สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มมีเป้าหมาย 1 ล้านตัน โดยให้สถาบันเกษตรกรรวบรวม รับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา มีวงเงินกู้ 10,000 ล้านบาท และวงเงินชดเชยดอกเบี้ย 481.25 ล้านบาท โดยจะให้สหกรณ์จ่ายดอกเบี้ย 1% และ รัฐช่วยดอกเบี้ย 3.85% ระยะเวลา 15 เดือน ส่วนการชดเชยดอกเบี้ย ธ.ก.ส. 4.85% นั้น รัฐบาลจะช่วยรับภาระดอกเบี้ย 3.85% ส่วนสถาบันเกษตรกร รับภาระ 1% กำหนดเริ่ม 1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567 มาตรการนี้ จะให้สถาบันเกษตรกรเข้าไปซื้อแข่งและแทรกแซงตลาด โดยซื้อในราคานำร่องข้าวเปลือกหอมมะลิ ในความชื้น 25% ราคาตันละ 12,200 บาท เมื่อขายได้แล้ว มีกำไรจะแบ่งชาวนาตันละ 300 บาท ซึ่งจะทำให้ชาวนาได้รับเงินรวมตันละ 12,500 บาท ซึ่งจะดีกว่าเดิมหากไม่ไปแทรกแซง เพราะจะทำให้ชาวนาได้เงินเพิ่มจากราคาตลาด อีก 1,500 บาท. -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เพลิงไหม้โรงอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

เพลิงไหม้โรงงานอบลำไย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เจ้าหน้าที่เร่งนำรถดับเพลิงเข้าระงับเหตุ เพื่อควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้

พุ่งไม่หยุดราคาทองคำโลกนิวไฮอีก คาดไปต่อถึง 3 พันดอลลาร์/ออนซ์

ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งแตะ 2,800 ดอลลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ นักวิเคราะห์คาดมีโอกาสพุ่งต่อถึง 3,000 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่งผลราคาทองไทยวันนี้ขึ้นต่อจากราคาปิดวานนี้ และทำนิวไฮเท่าวานนี้

ข่าวแนะนำ

สาว อบต.ตกใจ ตำรวจตามรอยเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน

สาว อบต. ตกใจ ตำรวจมาถึงที่ทำงาน ถามถึงเงิน 39 ล้านบาท ที่แท้ชื่อซ้ำกัน ยันไม่เคยรู้จัก “มาดามอ้อย-ทนายตั้ม” มาก่อน

นายกฯ ขีดเส้น 30 วัน ออกมาตรการคุมสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ

นายกฯ สั่ง พาณิชย์-ดิจิทัลฯ เข้ม 3 มาตรการ คุมสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศให้มีคุณภาพ ขีดเส้นให้เสร็จภายใน 30 วัน

“มาริษ” ประท้วงอิสราเอล หลังแรงงานไทยดับ 4

“มาริษ” รมว.ต่างประเทศ ร่อนหนังสือ​ประท้วงอิสราเอล หลังแรงงานไทยดับ 4 เจ็บ 1 ให้ยุติส่งเข้าพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมยับยั้งชั่งใจ ป้องกันความขัดแย้งขยายตัว ขอคนไทยชะลอการเดินทางไปอิสราเอล-ตะวันออกกลาง