fbpx

ACT รวมพลังคนไทยต้านคอร์รัปชัน ชู 5 ข้อเรียกร้องรัฐบาลใหม่

กรุงเทพฯ 6 ก.ย. – องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ รวมพลังคนไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ร่วมประกาศพันธสัญญาต้านโกงเสนอ 5 ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลใหม่ ตั้งวอร์รูมแก้ปัญหาเชิงรุก เปิดตัวเว็บไซต์ “ACT Ai” ให้คนไทยร่วมตรวจสอบโครงการเสี่ยงทุจริตคอร์รัปชัน


องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จัดงาน “วันต่อต้านคอร์รัปชัน 2566” วันที่ 6 ก.ย. ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) รวมพลังคนไทยกว่า 3,000 คน ร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน ภายใต้แนวคิด WHAT THE FACT ? “ค้นหาความจริง-ใจในการต่อต้านคอร์รัปชัน” เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทุจริตได้อย่างง่ายดาย โดยมีประชาชนและองค์กรต่าง ๆ กว่า 3,000 คน ร่วมเดินขบวนพาเพรดแสดงพลังต่อต้านคอร์รัปชัน รวมทั้งบมจ. อสมท ในฐานะหน่วยงานสื่อสารมวลชนที่ให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ตามนโยบาย “อสมท โปร่งใส่ ห่างไกลคอร์รัปชัน ทุกคนต้องช่วยกัน ร่วมสร้างสรรค์ความยั่งยืน” และเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทย ในการต่อต้านการทุจริต (CAC) ได้ร่วมแสดงพลังต่อต้านคอร์รัปชัน นำโดยนายสุวิทย์ ทรัพย์มหาอุดม ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สำนักทรัพยากรมนุษย์ พร้อมด้วยพนักงาน อสมท ร่วมเดินขบวนพาเหรด ภายใต้แนวคิด”ชัวร์ก่อนแชร์”

นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า นับเป็นโอกาสดีที่ได้เห็นการมีส่วนร่วมของประชาชน มารวมพลังในวันต่อต้านคอร์รัปชันอีกครั้ง ปีนี้นับเป็นครั้งที่ 12 วัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแสดงออกถึงพลังของทุกภาคส่วน ในการร่วมแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน และการที่งานวันนี้มีผู้นำรัฐบาลใหม่มาร่วม ย่อมเป็นโอกาสดีที่ประชาชนจะได้รับฟังนโยบาย แนวทางการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการแก้ปัญหาการทุจริต สถานการณ์คอร์รัปชันในประเทศไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ จากความรุนแรงและขนาดของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนทั้งในทางสังคมมิติต่าง ๆ และในทางเศรษฐกิจที่ยากจะประเมินมูลค่าความเสียหายได้ เพราะเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ สั่งสมมานาน มีความรุนแรงกว่าปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ในนามองค์กรภาคประชาชน จึงขอเสนอ 5 ข้อเรียกร้องเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันถึงรัฐบาลใหม่ ภายใต้นำการนำของนายเศรษฐาทวีสิน นายรัฐมนตรี ที่เข้าร่วมประกาศพันธสัญญาต้านโกง เพื่อแสดงถึงจุดยืนในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันของรัฐบาลในครั้งนี้ด้วย ดังนี้


1. กำหนดให้การปราบปรามคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการที่มีตัวแทนทุกภาคส่วน 

มีนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธาน พร้อมมี “ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อต่อต้านคอร์รัปชัน” (War Room for Anti-Corruption) เร่งแก้วิกฤติคอร์รัปชันในเชิงรุกเป็นพันธกิจหลัก บนหลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการทำงานอย่างทันเหตุการณ์

2. สนับสนุนให้ ป.ป.ช. สตง. และ ป.ป.ท. ทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ เป็นกลาง มีเอกภาพออกจากรัฐบาล


3. เร่งรัดการออกกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่ค้างคาอยู่ เช่น กฎหมายข้อมูลสาธารณะในความครอบครองของรัฐกฎหมายปกป้องผู้เปิดโปงคอร์รัปชัน หรือกฎหมายป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น

4. ทุกหน่วยงานต้องพร้อมเปิดเผยข้อมูล นับจาก TOR ไปจนถึงสัญญาต่าง ๆ ในรูปแบบที่สามารถเชื่อมโยงกับ ACT Ai ตามมาตรฐานสากลได้อย่างโปร่งใสและถูกต้อง

5. แก้ไขกฎระเบียบราชการต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้างในการไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลปัญหาคอร์รัปชัน และเมื่อพบกรณีทุจริตคอร์รัปชัน ให้ติดตามแก้ไขลงโทษในทันที อย่าประวิงเวลาจนประชาชนลืม

“การจะก้าวข้ามวิกฤติคอร์รัปชันได้สำเร็จ จนเกิดเป็นความอยู่ดีมีสุขของคนในสังคมนั้น จำเป็นต้องอาศัยบทบาทและพลังความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน รวมทั้งความมุ่งมั่นในนโยบายและการปฏิบัติที่ชัดเจนจากภาครัฐ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ รัฐบาลจะต้องไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง ไม่ลดทอนพลังการมีส่วนร่วมของประชาชน และต้องรับผิดชอบจริงจัง ทำให้กระบวนการมีส่วนร่วมนี้เข้มแข็งยิ่ง ๆ ขึ้น” นายวิเชียรกล่าว

ภายในงานยังมีเวทีเสวนาพลังหญิงต้านโกง “ACTIVE WOMEN” เพื่อแสดงบทบาทของผู้หญิงในการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยเชิญผู้มีอิทธิพลทางความคิดในภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาประจำสภามหาวิทยาลัย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คุณอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คุณปรินดา คุ้มธรรมพินิจ ผู้ประกาศข่าว คุณณัฏฐา มหัทธนา นักวิเคราะห์ประเด็นสังคม และคุณจงใจ กิจแสวง เจ้าของแบรนด์หมูทอดเจ๊จง ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

นอกจากนี้ ยังมีการสาธิตการใช้งานเว็บไซต์ “ACT Ai” โดยคุณหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ อินฟลูเอนเซอร์ด้านไอที ที่เปิดให้ประชาชนร่วมตรวจสอบโครงการที่สุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตได้ง่าย ๆ เพียง “แค่สงสัยก็เสิร์ช ACT Ai  เลย” เป็นช่องทางในการให้ประชาชนร่วมตรวจสอบโครงการต่าง ๆ ที่มีข้อสงสัยได้ง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์  “ACT Ai”.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

“อนุทิน” ลุยเชียงใหม่ร่วมบิ๊กคลีนนิ่ง ฟื้นฟูหลังน้ำลด

“อนุทิน” ลงพื้นที่เชียงใหม่ ร่วมทีม จนท.-กู้ภัย-อาสาสมัคร “บิ๊กคลีนนิ่ง” ฟื้นฟูเมืองหลังน้ำลด เร่งจ่ายเยียวยาผู้ประสบภัย