กสทช. มีมติเสียงข้างมาก รับทราบการควบรวม ทรู – ดีแทค

กรุงเทพฯ 20 ต.ค. – กสทช. มีมติเสียงข้างมากรับทราบการควบรวม ทรู – ดีแทค พร้อมกำหนดเงื่อนไข/มาตรการเฉพาะ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนากิจการโทรคมนาคม


วันที่ 20 ต.ค. 2565 ที่ประชุม กสทช. ได้พิจารณาการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จากัด (มหาชน) โดยกรณีการรวมธุรกิจดังกล่าว เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีผลกระทบต่อสาธารณะ กสทช. ทุกท่านจึงได้ใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลทุกด้านอย่างละเอียดรอบคอบ ซึ่งในวันนี้ ที่ประชุม กสทช. ได้มีการหารือ อภิปราย รวมถึงแสดงความคิดเห็นในการพิจารณาร่วมกันในทุกๆ ด้าน โดยใช้เวลาในการประชุมประมาณ 11 ชั่วโมง จากนั้นที่ประชุม กสทช. จึงได้มีมติเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จากัด (มหาชน) ส่วนเสียงข้างน้อยขอสงวน ความเห็น ไม่อนุญาตการรวมธุรกิจ และที่ประชุม กสทช. ได้มีมติ ดังนี้

1. ที่ประชุมเห็นชอบประเด็นการพิจารณาว่าการรวมธุรกิจกรณีนี้เป็นการถือครองธุรกิจในบริการ ประเภทเดียวกับตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 โดยนัยของผลตามข้อ 9 ของประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการการกำกับดูแลการรวมธุรกิจ ในกิจการโทรคมนาคม และให้พิจารณาดำเนินการตามประกาศฉบับปี 2561 หรือไม่ โดยมีผล ของการลงมติดังนี้


ที่ประชุมเสียงข้างมาก (ประธาน กสทช. และ กสทช. ต่อพงศ์ฯ) มีมติเห็นว่าการรวมธุรกิจในกรณีนี้ ไม่เป็นการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 (ประกาศฉบับปี 2549) โดยนัยของผลตามข้อ 9 ของประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกากับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม (ประกาศ ฉบับปี 2561) และให้พิจารณาดาเนินการตามประกาศฉบับปี 2561 โดยรับทราบการรวม ธุรกิจและเมื่อ กสทช. ได้รับรายงานการรวมธุรกิจแล้ว กสทช. มีอำนาจกำหนดเงื่อนไข/ มาตรการเฉพาะตามข้อ 12 ของประกาศฉบับปี 2561

ที่ประชุมเสียงข้างน้อย (กสทช. รองศาสตราจารย์ ดร. ศุภัชฯ และ กสทช. ศาสตราจารย์ ดร. พิรงรองฯ) มีมติเห็นว่ากรณีนี้เป็นการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันและให้พิจารณาดำเนินการพิจารณาตามข้อ 8 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549โดย กสทช. อาจสั่งห้ามการถือครองกิจการหรือกำหนดมาตรการเฉพาะตามหมวด 4 ของประกาศดังกล่าว

กสทช. พลอากาศโท ดร. ธนพันธุ์ฯ ของดออกเสียง เนื่องจากยังมีประเด็นปัญหาการตีความใน แง่กฎหมายจึงยังไม่สามารถพิจารณาได้อย่างชัดเจนจึงของดออกเสียง โดยจะขอทำบันทึกในภายหลัง


อนึ่ง เนื่องจากการลงมติที่ประชุมดังกล่าวข้างต้นมีคะแนนเสียงเท่ากัน ดังนั้น ประธานที่ประชุม ได้ใช้อานาจตามข้อ 41 ของระเบียบ กสทช. ว่าด้วยข้อบังคับการประชุม กสทช. พ.ศ. 2555 ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด

2.ที่ประชุมพิจารณาข้อกังวล (Point of concern) จานวน 5 ข้อ และเห็นชอบ เงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะดังนี้
2.1 ข้อกังวลเรื่องอัตราค่าบริการและสัญญาการให้บริการ มีเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ดังนี้
1) การกำหนดเพดานราคาของอัตราค่าบริการเฉลี่ย
ก. อัตราค่าบริการเฉลี่ยลดลงร้อยละ 12 โดยใช้วิธีการเฉลี่ยราคาใหม่ ด้วยการถ่วงน้ำหนักตามจานวนผู้ใช้บริการในแต่ละรายการส่งเสริมการขาย (WEIGHTED
AVERAGE) ภายใน 90 วันหลังจากมีการควบรวม)
ข. ให้มีทางเลือกของราคาที่แยกรายบริการเพื่อให้เป็นทางเลือก
ค. ให้นาส่งข้อมูลต้นทุนและข้อมูลที่จาเป็นโดยให้มีหน่วยงานตรวจสอบ
ง. ให้ผู้แจ้งการรวมธุรกิจประกาศให้ผู้ใช้บริการรับทราบ เพื่อมีการตรวจสอบและมีบทลงโทษกรณีทาไม่ได้ เช่น ปรับเป็นจานวนร้อยละของรายได้ หรือปรับเป็นขั้นบันได และเพิกถอนใบอนุญาต
2) การกาหนดราคาค่าบริการ โดยใช้ราคาเฉลี่ยทางเศรษฐศาสตร์ (Average Cost Pricing)
ก. ให้นำส่งข้อมูลตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทารายงานบัญชี แยกประเภทในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2564 ให้ครบถ้วน โดยให้แยกรายละเอียด เป็นรายเดือน และนำส่งสำนักงาน กสทช. ทุก 3 เดือน หรือเมื่อ กสทช. ร้องขอ เพื่อใช้ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนามาคำนวณหาต้นทุน รวมเฉลี่ย ซึ่งเป็นราคาในตลาดที่มีการแข่งขัน (Average Cost Pricing) และต้นทุน ส่วนเพิ่ม (MC) ที่เป็นปัจจุบันและถูกต้อง
ข. จัดให้มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญด้านการสอบทาน (Verify) ข้อมูล โครงสร้างต้นทุน อัตราค่าบริการ หรือข้อมูลด้านอัตราต่างๆ ของอุตสาหกรรม โทรคมนาคมในต่างประเทศมาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยให้ กสทช. เป็นผู้กำหนด และให้ ผู้ยื่นคาร้องรวมธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการจัดหา และจัดจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้ยื่นคำร้องขอรวมธุรกิจ เพื่อสอบทาน (Verify) ความถูกต้องของข้อมูลตามข้อ (ก) ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนามาคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ย (AC) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่ถูกต้องของแต่ละรายบริการ เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่ง ข้อความ เป็นต้น เมื่อมีการรวมธุรกิจให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
ค. จัดให้มีที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเช่นเดียวกับข้อ (ข) เพื่อทาหน้าที่ สอบทาน (Verify) ความถูกต้องของข้อมูลตามข้อ (ก) ตรวจสอบโครงสร้างต้นทุน โครงสร้างอัตราค่าบริการ และนำมาคำนวณหาต้นทุนเฉลี่ย (AC) และต้นทุนส่วนเพิ่ม (MC) ที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันของแต่ละรายบริการ เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น ปีละ 4ครั้ง (รายไตรมาส) โดยต้องจัดให้มีที่ปรึกษาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือตลอดระยะเวลาอายุใบอนุญาตสิ้นสุดลงในกรณีที่ อายุใบอนุญาตน้อยกว่า 10 ปี โดยให้ กสทช. เป็นผู้กำหนด และให้ผู้ยื่นคำร้องรวม ธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายทั้งปวงที่เกิดขึ้นจากการจัดหาและจัดจ้างที่ปรึกษา ทั้งนี้ ที่ปรึกษาจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับผู้ยื่นคำร้องขอรวมธุรกิจ

ง. จะต้องมีการกำหนดและแสดงอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แยกตามรายบริการ (Unbundle) เช่น บริการเสียง บริการข้อมูล บริการส่งข้อความ เป็นต้น หรือการส่งเสริมการขายแบบแยกรายบริการ (Unbundle Package) เพื่อให้ผู้ใช้บริการปลายทางได้รับทราบก่อน โดยให้กาหนดอัตราค่าบริการตามต้นทุนเฉลี่ยรายบริการ (Average Cost Pricing) โดยคิดราคาตามที่มีการใช้งานจริง โดยจะต้องไม่มีการกำหนดการซื้อบริการขั้นต่าไว้ ทั้งนี้ การกาหนดอัตราตามต้นทุนเฉลี่ยรายบริการ (Average Cost Pricing) ให้นำไปใช้กับกรณีค่าบริการส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากการใช้ บริการรายการส่งเสริมการขายแบบแยกรายบริการ (Unbundle Package) และการ ส่งเสริมการขายแบบรวมรายบริการ (Bundle Package) ด้วย
จ. จะต้องจัดช่องทางการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ครอบคลุมและง่ายต่อการเลือกซื้อ เปลี่ยนแปลง (เพิ่ม ลด) การใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ตามความ ต้องการของผู้ใช้บริการปลายทาง โดยปราศจากข้อจากัด ทั้งนี้ ต้องแสดงรายละเอียด ของบริการ อัตราค่าบริการแยกตามรายบริการ หรืออัตราค่าบริการแบบส่งเสริมการ ขาย ตลอดจนวิธีการ เงื่อนไขการเลือกรับบริการไว้โดยชัดแจ้ง และเป็นปัจจุบัน
3) การคงทางเลือกของผู้บริโภค การกำหนดให้บริษัท TUC และ บริษัท DTN ยังคงแบรนด์การให้บริการแยกจากกัน เป็นระยะเวลา 3 ปี
4) สัญญาการให้บริการ บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องคงไว้ซึ่งเงื่อนไขของสัญญาและข้อตกลงระหว่างบริษัทและผู้ใช้บริการ รวมถึงผลประโยชน์ที่ได้รับตามที่ได้มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงไว้ตามระยะเวลาที่กาหนดในสัญญา เว้นแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาที่เป็นคุณหรือเป็นประโยชน์และได้รับการยินยอมจากผู้ใช้บริการแล้ว
5) การประชาสัมพันธ์การให้บริการเพื่อความเชื่อมั่นของผู้ใช้บริการ ภายหลังการ รวมธุรกิจ บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลต่อ สาธารณะ เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบถึงการคงไว้ซึ่งคุณภาพในการให้บริการและค่าบริการที่เป็นธรรม และจะต้องกำหนดแนวทางการปฏิบัติเพื่อรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการหลังการรวมธุรกิจ โดยสานักงาน กสทช. อาจกำหนดแนวทาง และระยะเวลาการดำเนินการ รวมถึงเงื่อนไขในการปฏิบัติในเรื่องการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้บริษัท TUC และบริษัท DTN ดาเนินการต่อไป
2.2 ข้อกังวล อุปสรรคการเข้าสู่ตลาด – ขาดประสิทธิภาพการแข่งขัน และการสนับสนุน ผู้ประกอบการรายย่อย มีเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ ดังนี้
1) เงื่อนไขบังคับก่อน (Ex Ante)
ก. ให้ผู้ยื่นคาร้องขอรวมธุรกิจจัดทำแผนการจัดให้มีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ โครงข่ายเสมือน (MVNO) โดยจะต้องมีรายละเอียด ดังนี้
(1) จัดให้มีหน่วยธุรกิจเพื่อให้บริการโครงข่ายแก่ผู้ให้บริการMVNOโดยมีการแยกระบบการบริหารจัดการ ระบบบัญชี ออกจากหน่วยธุรกิจหลักที่เกิดขึ้นจากการ รวมธุรกิจในครั้งนี้
(2) จัดให้มีระบบการให้บริการโครงข่ายที่พร้อมรองรับการเข้าใช้บริการโครงข่าย สาหรับผู้ให้บริการ MVNO ภายหลังจากมีการรวมธุรกิจโดยทันที

อนึ่งการดำเนินการตาม (1) และ (2) จะต้องมีความพร้อมในการดำเนินงานทันทีเมื่อเกิดการรวมธุรกิจ
ข. ให้ผู้ยื่นร้องขอรวมธุรกิจ ผู้รับใบอนุญาตจากการรวมธุรกิจ ตลอดจนบริษัทที่อยู่ภายใต้ อานาจควบคุม จัดให้มีแผนการแยกการบริหารจัดการ ระบบบัญชี สำหรับให้บริการ โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่กับบริการโทรศัพท์เคลื่อน โดยให้เสนอแผนดังกล่าวต่อ กสทช. ก่อนการรวมธุรกิจ
2) มาตรการเฉพาะภายหลังการรวมธุรกิจ (Ex Post)
ก. ผู้รับใบอนุญาตที่เกิดขึ้นจากการรวมธุรกิจตลอดจนบริษัทย่อยที่อยู่ภายใต้การควบคุม ต้องดำเนินการให้ผู้รับใบอนุญาต MVNO สามารถใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายกับผู้รับ ใบอนุญาตรายอื่นได้เช่นเดียวกับตนเอง
ข. ผู้รับใบอนุญาตMVNOจะต้องได้รับสิทธิในการใช้บริการจากคลื่นความถี่ในทุกย่าน ของผู้รวมธุรกิจที่มีสิทธิในการใช้งานทั้งสิทธิทางตรงและสิทธิที่ได้รับช่วงมาภายใต้ มาตรฐานเทคโนโลยีเดียวกัน
ค. การเข้าใช้บริการโครงข่ายสาหรับผู้รับใบอนุญาต MVNO จะต้องได้รับการประกัน สิทธิ ในการได้รับบริการภายใต้คุณภาพการให้บริการ (QoS) ตามมาตรฐานการ ให้บริการที่ กสทช. กาหนด
ง. จะต้องไม่ปฏิเสธการให้บริการแก่ผู้ได้รับใบอนุญาต MVNO อันเกิดมาจากเหตุผล ความไม่เพียงพอของโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด
จ. จะต้องพร้อมให้ผู้รับใบอนุญาต MVNO ที่ขอเข้าใช้โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถเริ่มให้บริการได้ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ขอเข้าใช้บริการ
ฉ. บริษัท TUC และ DTN จะต้องจัดให้มีบริการโครงข่ายโทรคมนาคม โดยมีขนาดความจุ (Capacity) อย่างน้อยร้อยละ 20 ของโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งหมดของตนเอง ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือนที่ไม่มีความเกี่ยวโยงกันกับ บริษัท TUC และ DTN เมื่อมีคำขอรับบริการดังกล่าว
ช. อัตราค่าตอบแทนการขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สาหรับผู้ให้บริการ MVNO ให้ ไม่เกินอัตราค่าบริการที่เสนอขายเฉลี่ยต่อหน่วยของแต่ละบริการตามสิทธิการใช้งานของทุกรายการส่งเสริมการขายหักด้วยอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของอัตรา ค่าบริการที่เสนอขายเฉลี่ยต่อหน่วยของราคาขายปลีกสาหรับบริการแบบส่งเสริม การขาย (Bundle Package) หรือราคาเฉลี่ยขายต่อหน่วยสาหรับรายบริการ (Unbundle)

ซ. ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จะต้องไม่กำหนดเพดานขั้นต่าของการเข้าซื้อ รายบริการ เช่น เสียง ข้อมูล บริการข้อความ เป็นต้น ของผู้รับใบอนุญาต MVNO ทั้งนี้ การเรียกเก็บค่าบริการให้เป็นไปตามการใช้งานที่เกิดขึ้นจริง
2.3ข้อกังวลคุณภาพการให้บริการมีเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะดังนี้
1) บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องคงคุณภาพในการให้บริการดังนี้
1.1) คุณภาพของสัญญาณในการให้บริการ

บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องไม่ลดคงจำนวนระบบสื่อสัญญาณ (cell sites) ของทั้งสองบริษัทลงจากเดิม เพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานของบริการที่ ให้ประชาชนได้รับให้ไม่ต่าไปกว่าเดิม และจะต้องรักษาคุณภาพและมาตรฐานของ บริการตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรฐานของคุณภาพการให้บริการ โทรคมนาคม อย่างเคร่งครัด
1.2) คุณภาพในการให้บริการลูกค้า
บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับจานวนลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นจากการรวมธุรกิจเพื่อให้คุณภาพในการให้บริการต่อผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่าเดิม เช่น จำนวนเจ้าหน้าที่ที่เพียงพอเพื่อรองรับการให้บริการทั้งในส่วนของ ศูนย์บริการ และพนักงานรับสาย (Call center) รวมถึงขนาดพื้นที่ของ ศูนย์บริการลูกค้าที่สามารถรองรับการเข้ามาติดต่อของผู้ใช้บริการ
2) ความครอบคลุมของโครงข่าย บริษัท TUC และ/หรือบริษัท DTN จะต้องจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการประกอบกิจการด้วยเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมไม่น้อย กว่าร้อยละ 85 ของจานวนประชากรทั้งหมดของประเทศภายใน 3 ปี และร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดของประเทศภายใน 5 ปีนับจากวันที่รวมธุรกิจ
2.4ข้อกังวลการถือครองคลื่นความถี่/การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน มีเงื่อนไขหรือมาตรการ เฉพาะ ดังนี้
1) การถือครองคลื่นความถี่ บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับใช้งานคลื่นความถี่ในการประกอบกิจการโทรคมนาคม อย่างเคร่งครัด (การใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 41 วรรคสี่
มาตรา 44/1 และมาตรา 44/3 แห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
2) การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน (Infrastructure Sharing) บริษัท TUC และบริษัท DTN จะต้องให้ผู้รับใบอนุญาตรายอื่นเช่าใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของตนเองในการประกอบกิจการโทรคมนาคม และจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้โครงข่ายโทรคมนาคม ของ กสทช. อย่างเคร่งครัด
2.5 เศรษฐกิจของประเทศ นวัตกรรมและความเหลื่อมล้าทางดิจิทัล (Digital divide) มี
1) ความครอบคลุมของโครงข่าย บริษัท TUC และ/หรือบริษัท DTN จะต้องจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการประกอบกิจการด้วยเทคโนโลยี 5G ครอบคลุมไม่น้อย กว่าร้อยละ 85 ของจานวนประชากรทั้งหมดของประเทศภายใน 3 ปี และร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดของประเทศภายใน 5 ปีนับจากวันที่รวมธุรกิจ
2) จัดให้มีรายการส่งเสริมการขายในราคาต่ำเป็นพิเศษสำหรับผู้มีรายได้น้อยและ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม โดยให้มีการประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้รับทราบอย่างทั่วถึง
3) เสนอแผนการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นรูปธรรมภายใน 60 วันหลังจากได้รับแจ้งเงื่อนไข หรือมาตรการเฉพาะ และเริ่มดาเนินการตามแผนภายใน 1 ปี
3. ที่ประชุมเห็นชอบกาหนดกลไกในการติดตามและประเมินผลการรวมธุรกิจ 3.1 การรายงานผลการประกอบธุรกิจ ภายใต้การดาเนินการตามกาหนดระยะเวลาและเงื่อนไขที่ได้รับจาก กสทช. ทุก 6 เดือน ในระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี
3.2 ภายหลังการรวมธุรกิจ หาก กสทช. พิจารณาหรือได้รับการร้องเรียนว่า มีการกระทำ พฤติกรรม หรือเหตุอันเป็นการผูกขาด หรือลด หรือจากัดการแข่งขันในการให้บริการ กิจการ โทรคมนาคมมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสาคัญทำให้เงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะไม่เหมาะสม หรือไม่มีประสิทธิภาพ กสทช. อาจระงับ ยกเลิก เพิ่มเติม หรือปรับปรุงเงื่อนไขหรือมาตรการ เฉพาะใหม่ก็ได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็น 4. ที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. นำประเด็นไปหารือคณะอนุกรรมการที่ปรึษากฎหมาย ของ กสทช. รวม 3 ประเด็น ได้แก่ เรื่องการเห็นชอบกลไกการขายหุ้นออกไปจนไม่มีอานาจใน การควบคุมเชิงนโยบาย (Divestiture) เรื่องการรวมธุรกิจของบริษัท TUC และบริษัท DTN ใน อนาคต และเรื่องร้องเรียนคุณสมบัติของที่ปรึกษาอิสระ (บล.ฟินันซ่า)
5. มอบหมายให้สานักงาน กสทช. ไปศึกษาประกาศรวมธุรกิจปี 2561 และประกาศปี 2549

6. เห็นชอบในหลักการในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและประเมินผลการรวมธุรกิจตามประกาศปี 2561
7. ให้สำนักงาน กสทช. และผู้แจ้งการรวมธุรกิจประกาศให้ผู้ใช้บริการรับทราบเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะตามที่มีมติ เพื่อมีการตรวจสอบและมีบทลงโทษกรณีทาไม่ได้ เช่น ปรับเป็นจำนวนร้อยละของรายได้ หรือปรับเป็นขั้นบันได และเพิกถอนใบอนุญาต .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

“สุชาติ” จ่อลาออก สส. ให้สภามี สส.ทำงาน

ทำเนียบ 7 ก.ค.-“สุชาติ” เผยเตรียมลาออก สส. เพื่อให้บัญชีรายชื่อลำดับถัดไปได้ขึ้นมา มองให้สภามี สส.ทำงาน นายสุชาติ ตันเจริญ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงธรรมเนียมปฏิบัติของคนที่เป็น สส.ระบบบัญชีรายชื่อ จะลาออกเมื่อเป็นรัฐมนตรี หรือไม่ว่า ที่ผ่านมายังไม่มีการลาออกแต่โดยธรรมเนียมก็ควรจะลาออก เพราะการทำหน้าที่ของรัฐมนตรีก็เต็มเวลาอยู่แล้ว ไม่มีเวลาที่จะไปช่วยงานสภา ซึ่งขณะนี้สภาเสียงปริ่มน้ำ ซึ่งตนมีความตั้งใจที่จะลาออกจาก สส ระบบบัญชีรายชื่ออยู่แล้ว เพื่อให้ สส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับถัดไปได้เลื่อนขึ้นมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สส. ลำดับถัดไปที่จะขึ้นมาเป็น สส.แทนนายสุชาติ คือ นายเอกพร รักความสุข บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 38.-316.-สำนักข่าวไทย

พม.ร้องเอาผิด “จอนนี่ มือปราบ” สร้างรีสอร์ทรุกล้ำที่ส่วนกลาง

บก.ปทส. 7 ก.ค. – จนท.กรมพัฒนาสังคมฯ ร้องตำรวจป่าไม้ตรวจสอบปมรีสอร์ทของ “จอนนี่มือปราบ” อินฟลูชื่อดัง บุกรุกพื้นที่นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ในอุบลราชธานี และถูกข่มขู่ไม่ให้เข้าพื้นที่ นายวัชระ โกเสนตอ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ ได้รับมอบอำนาจจากนายกันตพงศ์ รังษีสว่าง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นำหลักฐานเอกสารเข้าแจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ บก.ปทส. เพื่อให้ดำเนินคดีกับ ด.ต.ยุทธพล หรือ “จอนนี่ มือปราบ” อดีตตำรวจที่ผันตัวลาออกจากราชการมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์ กรณีสร้างรีสอร์ทรุกเข้าไปในเขตนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี นายวัชระ เปิดเผยว่า กรมพัฒนาสังคมฯ รับแจ้งจากนิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ว่ามีผู้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยส่วนที่รุกล้ำเข้ามาเป็นพื้นที่ที่นิคมกันไว้เป็นป่าไม้ส่วนกลาง 20% รุกล้ำเข้ามาประมาณ 1 ไร่ และเริ่มก่อสร้างรีสอร์ทเมื่อปี 2564 เป็นต้นมา และทางกรมฯ ก็ได้ลงบันทึกประจำวันและมีหนังสือให้ระงับการดำเนินการรีสอร์ทมาตั้งแต่ปี 2565 แต่เจ้าของรีสอร์ทไม่ให้ความร่วมมือ และยังมาโวยวายที่นิคมฯ ข่มขู่เจ้าหน้าที่ ไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปที่รีสอร์ท ทั้งนี้นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย มีพื้นที่ตามแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสร้างตนเองฯ ชัดเจน เนื้อที่ […]

Camp Mystic after Texas floods

เปิดภาพความเสียหายน้ำท่วมแคมป์ในเท็กซัส

เท็กซัส 6 ก.ค.- ทีมกู้ภัย อาสาสมัครและตำรวจ ช่วยกันรื้อถอนเศษซากความเสียหายและซากต้นไม้กิ่งไม้ใกล้ที่ตั้งแคมป์ในรัฐเท็กซัสของสหรัฐ ซึ่งมีนักเรียนหญิง 27 คน สูญหายจากเหตุน้ำท่วมฉับพลันที่เกิดขึ้นเมื่อเช้ามืดวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น   ค่ายมิสติก (Camp Mystic) เป็นค่ายกิจกรรมนักเรียนหญิงล้วน มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในค่าย 700 คน ในช่วงที่เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันครั้งใหญ่ในเทศมณฑลเคอร์ ทางตอนกลางของรัฐเท็กซัส แคมป์แห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกัวดาลูปในแถบหุบเขาตอนกลางรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่เกิดน้ำท่วม ก่อตั้งโดยโค้ชฟุตบอลมหาวิทยาลัยเท็กซัส เมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีก่อนในปี 2469 เพื่อให้เยาวชนหญิงได้สัมผัสบรรยากาศแบบคริสเตียนในการพัฒนาตนเอง.-820(814).-สำนักข่าวไทย

กรมอุตุฯ เตือน 4 ภาครับมือฝนถล่ม ระวังน้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลาก

กทม. 6 ก.ค.- กรมอุตุฯ เผยประเทศไทยยังมีฝนฟ้าคะนอง เตือน “เหนือ อีสาน ตะวันออก ใต้” รับมือฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กรมอุตุนิยมวิทยาเผยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเมียนมาตอนบนและลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง พายุโซนร้อน “ดานัส” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ไต้หวัน ในช่วงวันที่ 6–7 กรกฎาคม 2568 โดยไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย แต่จะทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยพายุนี้ไม่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย – สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

ผบ.กองกำลังนเรศวร ลงพื้นที่ หลังเมียนมาปะทะรุนแรง

ตาก 12 ก.ค. – ผบ.กองกำลังนเรศวร ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ด่วน พร้อมเฝ้าระวังชายแดนอำเภอพบพระอย่างใกล้ชิด หลังเหตุปะทะในเมียนมาทวีความรุนแรง มีรายงานการโจมตีค่ายทหารเมียนมาด้วยโดรน กองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอ กลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมา ใช้โดรนทิ้งระเบิดโจมตีใส่ฐาน “ทีตาแหล่” ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามบ้านวาเล่ย์เหนือ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก หลายครั้ง ขณะที่ทหารเมียนมาก็ยิงปืนเล็กยาวตอบโต้ โดยยังไม่ทราบความเสียหายที่เกิดขึ้น และยังไม่มีรายงานผลกระทบต่อฝั่งประเทศไทย พลตรีไมตรี ชูปรีชา ผู้บัญชาการกองกำลังนเรศวร พร้อมคณะนายทหารระดับสูง และฝ่ายปกครองอำเภอพบพระ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์บริเวณบ้านวาเล่ย์ และบ้านมอเกอร์ไทย อำเภอพบพระ อย่างใกล้ชิด เพื่อประสานงานกับหน่วยงานความมั่นคงในการเตรียมแผนเผชิญเหตุจากผลกระทบของการสู้รบใกล้แนวชายแดนในด้านมนุษยธรรม โดยขณะนี้มีผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาจำนวน 457 คน อาศัยอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว 2 แห่ง ในอำเภอพบพระ และได้รับการดูแลตามหลักมนุษยธรรมภายใต้ความร่วมมือของศูนย์สั่งการชายแดนประเทศเพื่อนบ้านด้านเมียนมา จังหวัดตาก และแนวทางของสภาความมั่นคงแห่งชาติ พลตรี ไมตรี เน้นย้ำให้หน่วยเฉพาะกิจราชมนู ร่วมกับฝ่ายปกครอง เพิ่มความเข้มงวดในการป้องกันการรุกล้ำอธิปไตยของกองกำลังติดอาวุธต่างชาติ และดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งกองกำลังนเรศวรยืนยันว่าประเทศไทยไม่ใช่คู่ขัดแย้ง และไม่สนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในการใช้พื้นที่ประเทศไทยเพื่อประโยชน์ของตนเอง .-สำนักข่าวไทย

สองสาวใหญ่ย่องเข้ากุฏิพระอาพาธ ฉกมือถือ

กทม. 12 ก.ค. – สองสาวใหญ่ ย่องเข้ากุฏิพระอาพาธ ฉกโทรศัพท์มือถือลอยนวล พบเคยเข้ามาขอเงินหลวงตาแล้วครั้งหนึ่ง กล้องวงจรปิดบันทึกภาพขณะ ผู้หญิง 2 คนเข้าไปในกุฏิที่พระสงฆ์นอนอาพาธอยู่ คนหนึ่งนั่งพื้นส่วนอีกคนยืนอยู่แล้วเอื้อมมือไปหยิบโทรศัพท์มือถือบนเตียงนอนไป เหตุการณ์นี้ นายมนูญ อายุ 29 ปี หลานชายของพระลูกวัดแห่งหนึ่ง ในซอยประชาอุทิศ 27 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ร้องเรียนกับผู้สื่อข่าว ให้ช่วยตามหาสองสาวใหญ่ ย่องเข้ากุฏิ “หลวงตาสุข” อายุ 80 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรคประจำตัว ประกอบกับอายุมากเดินได้ไม่ปกติ โดยหลวงตาสุข เป็นพระลูกวัด พักอยู่กุฏิด้านหลังโบสถ์ เมื่อวานนี้ (11 ก.ค.) ประมาณ 13.45 น. ขณะกำลังนอนพักผ่อนอยู่ มีหญิงร่างท้วม 2 คนเข้าไปในกุฏิ จากนั้นคนใส่เอี๊ยมสีเขียวผมสั้นลงมือค้นหาสิ่งของบนหัวเตียง ส่วนอีกคนที่มาด้วย คอยดูต้นทาง จนกระทั่งหญิงคนที่รื้อหาสิ่งของมองเห็นโทรศัพท์มือถือ ราคาประมาณ 4,000 บาท ของพระที่วางไว้หัวเตียง […]

“บิ๊กเต่า” ให้โอกาสคณะสงฆ์ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง

กทม. 12 ก.ค.-“บิ๊กเต่า” ให้โอกาสคณะสงฆ์ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีเอี่ยวสีกากอล์ฟ เชื่อพระเป็นเหยื่อ หากไม่เสร็จพร้อมดำเนินการ เผยอดีตพระครูสิริวิริยธาดา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรฯ เข้าให้ข้อมูล เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง วันนี้ (12 ก.ค.) หลังจากอดีตพระครูสิริวิริยธาดา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร เข้าให้ปากคำเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบ เมื่อเวลา 12.30 น. แต่งกายด้วยชุดโปโลสีเทา กางเกงวอร์มขายาว ผู้สื่อข่าว พยายามสอบถามว่าเข้ามาให้ปากคำกรณีที่ปรากฏอยู่ในคลิปหรือไม่ ทางอดีตผู้ช่วยเจ้าวาสไม่ตอบ เมื่อถามเพิ่มเติมว่า คลิปที่ปรากฏอยู่ตอนนนี้ ใช่ตัวเองจริงหรือไม่ อดีตพระครูสิริวิริยธาดา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร ปิดปากเงียบ ไม่มีการให้ข้อมูลอะไรกับสื่อมวลชน ก่อนที่จะเดินขึ้นไปให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหน้ากองปราบด้านบน จากนั้นในเวลา 14.00 น. พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก. เดินทางมาที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดยเดินทางขึ้นตึกด้านหลัง ใช้ลิฟต์ลานจอดรถ หลังเดินทางกลับจากวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร โดยหลบผู้สื่อข่าวที่มารออยู่ด้านหน้า และได้สอบปากคำอดีตพระครูสิริวิริยธาดา ในเวลา 16.20 น. พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ให้สัมภาษณ์ว่าการหารือกับพระผู้ใหญ่ในวันนี้ ก็ถือเป็นการทำงานร่วมกันกับ ปปท. ซึ่งมีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ […]

อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธร ย่องให้ข้อมูลตำรวจกองปราบ

12 ก.ค. – อดีตพระครูสิริวิริยธาดา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร แอบย่องเข้าให้ข้อมูลกับตำรวจกองปราบ เวลา 12.05 น. วันที่ 12 กรกฎาคม 2568 อดีตพระครูสิริวิริยธาดา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหาร เข้าให้ปากคำเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบ เบื้องต้นส่วมชุด โปโลสีเทา กางเกงวอร์มขายาว ผู้สื่อข่าว พยายามสอบถามว่าวันนี้เข้ามาให้ปากคำกรณีที่ ปรากฏอยู่ในคลิปหรือไม่ ทางอดีตผู้ช่วยเจ้าวาสวัดโสธรฯ ไม่ตอบแต่อย่างใด ผู้สื่อข่าวสอบถามเพิ่มเติมต่ออีกว่า คลิปที่ปรากฏอยู่ตอนนี้ ใช่ตัวเองจริงหรือไม่นั้น ด้านอดีตพระครูสิริวิริยธาดา ปิดปากเงียบ ไม่มีการให้ข้อมูลอะไรกับสื่อมวลชน ก่อนที่จะเดินขึ้นไปให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหน้ากองปราบด้านบน.-414-สำนักข่าวไทย