ธนาคารโลก-IMF แนะรับมือภัยธรรมชาติ
ธนาคารโลก-IMF แนะสมาชิกจัดงบ รับมือภัยธรรมชาติ คาดเงินเฟ้อโลกร้อยละ 5.3 ในสิ้นปี67 ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมธนาคารโลก-lMF ในปี 69
ธนาคารโลก-IMF แนะสมาชิกจัดงบ รับมือภัยธรรมชาติ คาดเงินเฟ้อโลกร้อยละ 5.3 ในสิ้นปี67 ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมธนาคารโลก-lMF ในปี 69
คลัง เสนอยกเว้น “ลดหย่อนภาษีบางประเภท” ในเวทีประชุมกลุ่มอาเซียนของธนาคารโลกและIMF ด้านรองประธานธนาคารโลกฯ สนใจ “หวยเกษียณ” หนุนออมเงินระยะยาว
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจไทย แต่ปีนี้ก็ยังโตไม่ถึง 3% ส่วนเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัว 3.2% ในปีนี้
คลัง-แบงก์ชาติ เตรียมมอบรางวัลชนะเลิศ ให้กับนายไพฑูรย์ ปฏิสนธิเจริญ ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์ งาน IMF-World Bank Group Annual Meetings 2026
ประธานาธิบดียูเครน ขอบคุณไอเอ็มเอฟ ที่อนุมัติเงินกู้เพิ่มเติมช่วยเหลือยูเครนจำนวน 900 ล้านดอลลาร์ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศ
IMF คาดเศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 2.8 ภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวร้อยละ 4.6 ขณะที่ 3 องค์กร IMF, ADB, คลังอาเซียน+3 เตือนเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะสูงขึ้น และความผันผวนการเงินโลก
ไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม สภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนไอเอ็มเอฟปี 69 ร่วมถกปัญหาเศรษฐกิจ การเงินปัญหาเร่งด่วนของโลกกำลังเผชิญ
ที่ประชุมธนาคารโลก-IMF เรียกร้องปฏิรูปองค์กร รับมือแก้ปัญหายากจน ป้องกันวิกฤติการเงินโลก ให้กับประเทศสมาชิก
โคลัมโบ 22 มี.ค.- ประธานาธิบดีศรีลังกาเตือนว่า ศรีลังกาจะต้องพบกับความเจ็บปวดทางเศรษฐกิจมากขึ้นอีกจากการดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดอย่างเคร่งครัดเพื่อกอบกู้ฐานะการคลัง หลังจากบรรลุข้อตกลงรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ประธานาธิบดีรานิล วิกรมสิงเห แถลงต่อรัฐสภาในวันนี้ว่า ข้อตกลงกับไอเอ็มเอฟเป็นจุดเริ่มต้นการฟื้นฟูประเทศที่เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเมื่อปี 2565 อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงนี้เป็นเพียงก้าวแรกของการปฏิรูปโครงสร้างที่จะเป็นการเดินทางที่ยาวนานและยากลำบากมากยิ่งขึ้น ศรีลังกาจะต้องก้าวข้ามด้วยความรอบคอบและกล้าหาญ โดยมีเป้าหมายเดียวคือการกอบกู้เศรษฐกิจประเทศ ประธานาธิบดีวิกรมสิงเหกล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการหลังจากนี้คือ การขึ้นภาษี เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟที่กำหนดให้ต้องลดภาระการชำระหนี้ต่างประเทศลงให้ได้ครึ่งหนึ่งจากปี 2565 ที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึงร้อยละ 9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) และจะรับภาระหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจสำคัญเพื่อให้เป็นที่สนใจของนักลงทุน ตามที่ไอเอ็มเอฟต้องการให้ศรีลังกาจำหน่ายรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน รวมถึงศรีลังกาแอร์ไลน์ที่เป็นสายการบินแห่งชาติ และออกกฎหมายปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มงวด ด้านสหภาพแรงงานในศรีลังกาคัดค้านการใช้มาตรการรัดเข็มขัดด้วยการนัดหยุดงานในภาคสาธารณสุขและการขนส่งเมื่อสัปดาห์ก่อน และเตือนว่าจะมีการเคลื่อนไหวต่อไปอีก.-สำนักข่าวไทย
วอชิงตัน 22 มี.ค. – กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (IMF) บรรลุข้อตกลงกับยูเครนแล้ว เรื่องสินเชื่อมูลค่า 15,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 538,566 ล้านบาท) เพื่อนำไปช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจยูเครนที่ตกอยูในภาวะสงครามมานานกว่า 1 ปี นายแกวิน เกรย์ หัวหน้าทีมภารกิจยูเครนของไอเอ็มเอฟ แถลงว่า นอกเหนือจากความสูญเสียด้านมนุษยธรรมอย่างน่ากลัวแล้ว การที่รัสเซียรุกรานยูเครนยังคงส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของยูเครน สินเชื่อระยะ 4 ปีนี้จะช่วยการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินอยู่อย่างช้าๆ และส่งเสริมการเติบโตระยะยาวในการบูรณะประเทศหลังสงคราม รวมถึงการที่ยูเครนกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป หรืออียู (EU) คณะกรรมการไอเอ็มเอฟจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อดังกล่าวในอีกไม่กี่สัปดาห์ นายเกรย์ระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของยูเครนลดลงถึงร้อยละ 30 ในปี 2565 มีคนยากจนเพิ่มขึ้น และสูญเสียเงินทุนจำนวนมาก ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยูเครนจะฟื้นตัวอย่างช้าๆ ใน 2-3 ไตรมาสนี้ เนื่องจากมีการดำเนินกิจกรรมอีกครั้งหลังจากโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเสียหายหนัก แต่ความท้าทายฉับพลันด้านเศรษฐกิจมหภาคยังคงมีอยู่ เนื่องจากมียอดขาดดุลการคลังที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและกินวงกว้าง.-สำนักข่าวไทย
โคลัมโบ 7 มี.ค.- ประธานาธิบดีรานิล วิกรมสิงเหของศรีลังกาเผยว่า จีนตกลงที่จะปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ศรีลังกา ซึ่งเป็นเงื่อนไขสุดท้ายที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) จะให้เงินช่วยเหลือแก่ศรีลังกา ประธานาธิบดีวิกรมสิงเหแถลงต่อรัฐสภาว่า ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีนได้ส่งจดหมายถึงไอเอ็มเอฟเมื่อคืนวันจันทร์ แสดงความพร้อมที่จะปรับโครงสร้างหนี้ให้แก่ศรีลังกา เขาจึงได้รีบลงนามจดหมายแสดงเจตนาจำนงที่จะเข้าร่วมโครงการของไอเอ็มเอฟทันที และคาดหวังว่า ไอเอ็มเอฟจะปล่อยเงินช่วยเหลืองวดแรกให้แก่ศรีลังกาได้ภายในเดือนนี้ ศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้จำนวน 46,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.58 ล้านล้านบาท) เมื่อเดือนเมษายน ปี 2565 ช่วงที่กำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนขาดแคลนอาหารและเชื้อเพลิงนานหลายเดือน หนี้ที่ผิดนัดชำระจำนวน 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 483,483 ล้านบาท) เป็นหนี้ทวิภาคีกับรัฐบาลต่างชาติ และในจำนวนนี้ร้อยละ 52 เป็นหนี้ของรัฐบาลจีน รัฐบาลศรีลังกากำลังหาทางขอเงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟจำนวน 2,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 100,150 ล้านบาท) เพื่อกอบกู้ฐานะการคลังที่ย่ำแย่ และได้ประกาศใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟ เช่น ขึ้นภาษี ยกเลิกการให้เงินอุดหนุนราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า ขายกิจการของรัฐที่ขาดทุน.-สำนักข่าวไทย
ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทย คาดส่งออกไทยปี 65 ขยายตัวสูงถึง 6.5-7.5% แต่ในปี 66 ยังอยู่ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ยังยืดเยื้อ ทำให้ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ประเมินภาพรวมการส่งออกของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 1% โตต่ำสุดในรอบ 3 ปี