BEDO มอบรางวัลชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว

BEDO 27 ส.ค. 63 – BEDO มอบรางวัลเชิดชูเกียรติชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ให้กับประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO มอบรางวัลเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติชุมชน ในการร่วมดำเนินโครงการชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว เพิ่มพื้นที่สีเขียวนอกเขตอนุรักษ์ให้กับประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจากนายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติฯ ณ โรงแรมเดอะมาเจสติกสกลนคร (M.J.) จังหวัดสกลนคร นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กล่าวว่า โครงการชุมชนไม้มีค่า-ป่าครอบครัว เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่ทำให้พื้นที่สีเขียวนอกเขตป่าอนุรักษ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชุมชนเครือข่ายยังสามารถใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน สร้างผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าผลผลิตให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยไม่กระทบกับป่าอนุรักษ์ ชุมชนเกิดความมีส่วนร่วมเพิ่มทรัพยากรธรรมชาติ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โครงการไม้มีค่า-ป่าครอบครัว มีชุมชนท้องถิ่นร่วมดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 จำนวน 457 ราย มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 4,772 ไร่ ในพื้นที่นำร่อง 2 จังหวัด จังหวัดสกลนคร และ จังหวัดกาฬสินธุ์ นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า BEDO […]

BEDO พัฒนาการเพาะเห็ดป่า ลดการเผาป่าอย่างยั่งยืน

เบโด้ 11 ส.ค. 63 –  สนง.พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ใช้นวัตกรรมจากฐานชีวภาพในท้องถิ่น ช่วยลดปัญหาไฟป่า และเพิ่มพื้นที่สีเขียว การเผาป่าเพื่อหาของป่าเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าในไทยตลอดช่วงที่ผ่านมา ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากหมอกควันไฟป่าที่อันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งยังสูญเสียพื้นที่ป่าและทรัพยากรชีวภาพ ที่ใช้เวลาหลายปีในการฟื้นฟู นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือ BEDO กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีความเชื่อผิด ๆ ที่ชาวบ้านบางแห่งยังใช้วิธีเผาป่าเพื่อให้ได้เห็ดที่ต้องการ ซึ่งรายได้จากการเก็บเห็ดขายเทียบไม่ได้กับการสูญเสียทางทรัพยากรชีวภาพที่มีคุณค่าและสามารถสร้างมูลค่าสูงขึ้นด้วยนวัตกรรม เช่นโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดป่าไมคอร์ไรซาแบบจำลองธรรมชาติ ร่วมกับการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ BEDO และเครือข่ายพันธมิตร ได้แนะนำนวัตกรรมการเลี้ยงเห็ดป่าไมคอร์ไรซา ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดขายได้ราคาสูง ใช้วิธีที่ใส่เชื้อเห็ดที่กล้าไม้ ทำให้ต้นไม้เศรษฐกิจและเห็ดป่าเติบโตไปพร้อมกัน เกษตรกรได้ประโยชน์ 2 ต่อ เก็บผลผลิตจากต้นไม้ที่ปลูก และเก็บเห็ดขายได้ตลอดทั้งปี สร้างความเชื่อใหม่ที่ทุกคนสามารถเก็บเห็ดป่ามาขายได้โดยไม่จำเป็นต้องเผาป่า เพียงใช้เทคนิคในการเพาะปลูกให้เหมาะสม การทดลองในแปลงปลูกชุมชนบ้านบุญแจ่ม จ. แพร่ ยังพบว่ากล้าไม้ที่ใส่เชื้อเห็ดป่าไปด้วย มีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าปกติ และทนทานต่อโรคมากขึ้นกว่าเดิมด้วยเช่นกัน โดยยกระดับเป็นชุมชนต้นแบบการเพาะขยายเห็ดป่าไมคอร์ไรซาแบบจำลองธรรมชาติ ที่สามารถช่วยลดการเผาทำลายป่า  พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน และสร้างความมั่งคงทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน .-สำนักข่าวไทย

BEDO ชู ห้อมเมืองแพร่ คุณภาพดีที่สุดในไทย

เบโด้ 10 ส.ค. 63 –  สนง.พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ชูให้ห้อม จ.แพร่ เป็นจังหวัดที่มีเนื้อห้อมธรรมชาติที่ดีที่สุดในประเทศ พร้อมสนับสนุนนวัตกรรมขยายผลิตภัณฑ์ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนจากพืชท้องถิ่น สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ศึกษาวิจัยพบว่าต้นห้อม พืชธรรมชาติ ท้องถิ่นใน จ.แพร่ มีคุณภาพดีที่สุดในประเทศ โดยเตรียมสนับสนุนชุมชน จ.แพร่ ให้ใช้ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ ด้วยกระบวนการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ผู้อำนวยการ BEDO กล่าวว่า จ.แพร่ มีสายพันธุ์ต้นห้อมคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย พบมากในป่าชุมชนบ้านนาคูหา และชุมชนบ้านนาตอง เป็นหนึ่งในชุมชนต้นน้ำ ที่เก็บห้อมจากป่ามาเพาะขยายพันธุ์และใช้ประโยชน์ผลิตเป็นวัตถุดิบห้อมเปียก ที่คุณภาพสูงมีศักยภาพเป็นต้นน้ำของแหล่งปลูกต้นห้อมคุณภาพดีที่สามรถให้สารสกัดสีน้ำเงิน หรือ Indican จากลำต้นและใบ สามารถนำมาแปรรูปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นเนื้อห้อม วัตถุดิบสำคัญการย้อมผ้าจากสีธรรมชาติ ทั้งนี้ชุมชนกลุ่มห้อมบ้านนาคูหา เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่กลางหุบเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล จึงเหมาะสำหรับการปลูกต้นห้อมกลุ่มใบใหญ่ ที่มีคุณภาพให้เนื้อห้อมและปริมาณสารอินดิโก้สูง ซึ่ง BEDO ได้เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนบ้านนาคูหา เป็นต้นน้ำการผลิตทำห้อมสด และเนื้อห้อมเปียก ส่งออกห้อมเปียกให้กับชุมชนที่อยู่ในเมืองนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมห้อมสีธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง BEDO ยังได้ส่งเสริมให้ชุมชนได้พัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย และขยายช่องทางการตลาดให้กว้างขึ้น โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ […]

...