hacker

รัฐบาลไต้หวันถูกโจมตีไซเบอร์วันละ 2.4 ล้านครั้ง

ไทเป 6 ม.ค.- ไต้หวันเผยว่า ปี 2567 ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐบาลไต้หวันถูกโจมตีทางไซเบอร์เฉลี่ยวันละ 2.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี 2566 และส่วนใหญ่มาจากกลุ่มไซเบอร์จีน สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติของไต้หวันออกรายงานเมื่อวันอาทิตย์ว่า เครือข่ายบริการรัฐบาลหรือจีเอสเอ็น (GSN) ของไต้หวันถูกโจมตีทางไซเบอร์เฉลี่ยวันละ 2.4 ล้านครั้งในปี 2567 เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากวันละ 1.2 ล้านครั้งในปี 2566 รายงานได้แจกแจงรายละเอียดการโจมตีเหล่านี้ว่า ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มไซเบอร์จีน โดยมีเป้าหมายอันดับต้น ๆ เป็นหน่วยงานด้านโทรคมนาคม การขนส่ง และกลาโหม แม้ไต้หวันสามารถตรวจจับและปิดกั้นการโจมตีได้เป็นจำนวนมาก แต่จำนวนการโจมตีที่เพิ่มขึ้นบ่งชี้ว่า การเจาะระบบหรือแฮ็กของจีนทวีความร้ายแรงมากยิ่งขึ้น รายงานระบุว่า บ่อยครั้งที่จีนมักโจมตีไซเบอร์ในช่วงเวลาเดียวกับที่กองทัพจีนฝึกซ้อมทางทหารรอบเกาะไต้หวัน เช่น โจมตีแบบดีดอส (DDoS) ด้วยการทำให้เว็บไซต์สถาบันการเงินและการขนส่งของไต้หวันมีปริมาณการใช้งานอย่างท่วมท้นผิดปกติจนไม่สามารถเข้าถึงได้ หวังขยายผลการคุกคามและการข่มขู่ทางการทหาร นอกจากนี้จีนยังเล็งเป้าหมายไปที่อีเมลของข้าราชการ และโจมตีเพื่อจารกรรมข้อมูลที่เป็นความลับ รวมทั้งใช้เทคนิคและซอฟต์แวร์หวังแทรกซึมและเป็นอันตรายต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอย่างทางหลวงและท่าเรือด้วย.-814.-สำนักข่าวไทย

อียูอาสาเสริมความมั่นคงทางทะเลให้เวียดนาม

ฮานอย 30 ก.ค.- หัวหน้านโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป หรืออียู (EU) เผยว่า อียูพร้อมเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลและศักยภาพด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่เวียดนาม นายโจเซฟ บอร์เรลล์ หัวหน้านโยบายต่างประเทศของอียู วัย 77 ปี ซึ่งจะครบวาระ 5 ปี ในปลายปีนี้กล่าวระหว่างพบกับนายบุ่น แทงเซิน รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามที่กรุงฮานอยของเวียดนามในวันนี้ว่า เขาต้องการเริ่มการทำงานเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนาม พร้อมกับเสนอว่า อียูสามารถเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลและศักยภาพด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่เวียดนาม นายบอร์เรลล์กล่าวว่า อียูที่มีสมาชิก 27 ประเทศมีผลประโยชน์โดยตรงในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงทางทะเลในทะเลจีนใต้ เพราะเป็นน่านน้ำการขนส่งสินค้านำเข้าของอียูมากกว่า 1 ใน 3 และสินค้าส่งออกของอียูมากกว่า 1 ใน 5 เขาถือโอกาสนี้ย้ำว่า การปฏิบัติตามกฎหมายสากลอย่างเต็มที่ตามที่เวียดนามได้ใช้ในทะเลจีนใต้ ควรเป็นสิ่งที่ปฏิบัติในทุกหนแห่ง รวมถึงในยูเครน อนึ่ง เวียดนามเป็น 1 ในประเทศที่มีข้อพิพาทกับจีนเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนในทะเลจีนใต้.-814.-สำนักข่าวไทย

ระบบไอทีล่มทั่วโลกทำคิวผ่านแดนสหรัฐยาวเหยียด

เหตุระบบไอทีล่มที่ส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนทั่วโลกที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ของไมโครซอฟต์รวมทั้งอุตสาหกรรมการบิน การเงินการธนาคาร การรักษาสุขภาพและสื่อสารมวลชนเมื่อช่วงวันพฤหัสและวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้ระบบคัดกรองและตรวจเอกสาร

ระบบไอทีล่มทั่วโลกกระทบสายการบิน สื่อ และโทรคมนาคม

– สายการบินหลัก ๆ ของสหรัฐ ต้องสั่งการให้หยุดบริการเที่ยวบินต่าง ๆ ในวันนี้ โดยอ้างประเด็นปัญหาเรื่องการสื่อสาร ในขณะที่สายการบินอื่น ๆ บริษัทด้านสื่อมวลชน ธนาคารและบริษัทโทรคมนาคม ทั่วโลก รายงานระบบอินเทอร์เน็ตล่มส่งผลกระทบกับการทำงาน

อินโดฯ จับชาวไต้หวัน 103 คน ฐานก่ออาชญากรรมไซเบอร์

อินโดนีเซียจับกุมชาวไต้หวัน 103 คน ข้อหาก่ออาชญากรรมไซเบอร์ จากปฏิบัติการบุกเข้าตรวจค้นสถานที่ต้องสงสัยบนเกาะบาหลี

เผย “10 กลโกงโทรคมนาคม-ออนไลน์”  พบบ่อยสุดในจีน

ปักกิ่ง 26 มิ.ย.- จีนเปิดเผย 10 กลโกงทางโทรคมนาคมและโลกไซเบอร์ที่แพร่หลายมากที่สุดในประเทศ และพบว่าเหยื่อที่ถูกฉ้อโกงทางโทรคมนาคมและไซเบอร์ในปี 2566 มีอายุเฉลี่ยที่ 37 ปี สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานอ้างกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีนว่า กระทรวงฯ ได้ร่วมเปิดตัวโครงการรณรงค์สร้างความตระหนักรู้เรื่องการฉ้อโกงทั่วประเทศเมื่อ 1 เดือนก่อน และพบว่า เหยื่อที่ถูกฉ้อโกงทางโทรคมนาคมและไซเบอร์เมื่อปีก่อนมีอายุเฉลี่ย 37 ปี โดยเหยื่อร้อยละ 62.1 มีอายุ 18-40 ปี และเหยื่อร้อยละ 33.1 มีอายุ 41-65 ปี คดีฉ้อโกงทางโทรคมนาคมและไซเบอร์เกือบร้อยละ 88.4 ที่มีรายงานทั่วประเทศนั้น เกี่ยวข้องกับกลโกง 10 ประเภท อาทิ การหลอกให้ลงทุน การแอบอ้างเป็นหน่วยงานโลจิสติกส์อีคอมเมิร์ซ และบริการซ่อมแซมเครดิตปลอม ขบวนการบรัชชิง สแกม (Brushing scam) และคลิกฟาร์ม (Click farm) เป็นกลโกงอับดับต้น โดยมักล่อลวงนักเรียนนักศึกษาและกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ ให้เชื่อว่าจะสามารถหาเงินได้ง่ายจากการทำงานออนไลน์ ก่อนจะชักจูงจนเรียกเก็บเงินจากเหยื่อได้ในภายหลัง เหยื่อรายหนึ่งของกลโกงนี้ในมณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีนสูญเสียเงินมากกว่า 420,000 หยวน (ราว […]

ยุโรปทลาย “บอทเน็ต” ครั้งใหญ่ที่สุด

สำนักงานตำรวจยุโรป หรือยูโรโปล (Europol) แจ้งวันนี้ว่า ได้ปฏิบัติการทลายบอทเน็ตครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนจำนวนมาก

ข้อมูลลับทางการทูตของญี่ปุ่นรั่ว หลังถูกโจมตีไซเบอร์

โตเกียว 5 ก.พ.- แหล่งข่าวในรัฐบาลญี่ปุ่นเผยวันนี้ว่า ข้อมูลลับทางการทูตของญี่ปุ่นรั่วไหล หลังจากกระทรวงต่างประเทศถูกกลุ่มแฮกเกอร์ชาวจีนโจมตีไซเบอร์ในปี 2563 สะท้อนว่าญี่ปุ่นมีความเปราะบางด้านดิจิทัล สำนักข่าวเกียวโดนิวส์ของญี่ปุ่นรายงานอ้างแหล่งข่าวว่า ทางการตรวจพบการโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่และการเปิดเผยโทรเลขทางการทูตในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ แต่สาธารณชนยังคงไม่ทราบว่าข้อมูลรั่วไหลได้อย่างไร รัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลสหรัฐได้หารือมาตรการรับมือ หลังจากโทรเลขทางการทูตถูกเปิดเผย ซึ่งเป็นเอกสารความลับขั้นสูงที่กระทรวงต่างประเทศและสถานทูตญี่ปุ่นในต่างประเทศแลกเปลี่ยนกันทุกวัน เกียวโดระบุว่า ญี่ปุ่นล้าหลังประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ เรื่องการพัฒนามาตรการปกป้องความมั่นคงทางไซเบอร์ สร้างความกังวลอย่างยิ่งให้แก่สหรัฐที่เป็นพันธมิตรด้านความมั่นคง ซึ่งเรียกร้องให้ญี่ปุ่นปรับปรุงศักยภาพความมั่นคงทางไซเบอร์ ญี่ปุ่นรับปากในยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติเมื่อไม่นานมานี้ว่า จะมีมาตรการปกป้องไซเบอร์อย่างแข็งขัน เพื่อชิงขจัดความเป็นไปได้ที่จะเกิดการโจมตีไซเบอร์ร้ายแรง ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติและโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ อย่างไรก็ดี ร่างกฎหมายเรื่องนี้ยังคงไม่ได้รับการเสนอเข้าสู่สภา เนื่องจากการหารือหยุดชะงักไม่มีความคืบหน้า.-814.-สำนักข่าวไทย

เผยแฮกเกอร์รัสเซียแฝงตัวในระบบสื่อสารยูเครนหลายเดือน

เคียฟ 4 ม.ค.- เจ้าหน้าที่ด้านไซเบอร์ของยูเครนเผยว่า กลุ่มนักเจาะระบบหรือแฮกเกอร์รัสเซียได้แฝงตัวอยู่ในระบบของบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของยูเครนมาตั้งเดือนพฤษภาคมเป็นอย่างน้อย เรื่องนี้ถือเป็นคำเตือนครั้งใหญ่ต่อชาติตะวันตก นายอิเลีย วีทุก หัวหน้าฝ่ายความมั่นคงไซเบอร์ สำนักงานความมั่นคงแห่งยูเครนหรือเอสบียู (SBU) ให้สัมภาษณ์พิเศษรอยเตอร์เล่ารายละเอียดของการแฮกดังกล่าวที่เขาระบุว่า สร้างความเสียหายร้ายแรง โดยมุ่งหวังผลกระทบทางจิตวิทยาและเก็บรวบรวมข้อมูล นายวีทุกเผยว่า เอสบียูพบว่ากลุ่มแฮกเกอร์พยายามแทรกซึมระบบของเคียฟสตาร์ (Kyivstar) ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของยูเครนตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 หรือก่อนหน้านั้น และเข้ามาอยู่ในระบบตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นได้ทำให้ผู้ใช้งานของบริษัทที่มีมากถึง 24 ล้านคนใช้บริการไม่ได้หลายวันตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม เป็นการแฮกครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากบุกยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เอสบียูประเมินว่า กลุ่มแฮกเกอร์น่าจะสามารถจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล ทราบตำแหน่งของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดักรับข้อความสั้น และอาจจารกรรมบัญชีแอบพลิเคชันเทเลแกรมด้วย  ด้านโฆษกของเคียฟสตาร์เผยว่า บริษัทกำลังประสานงานกับเอสบียูอย่างใกล้ชิดในการสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้น และจะดำเนินมาตรการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อขจัดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต.-814(813).-สำนักข่าวไทย

ญี่ปุ่น-อาเซียนกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงไซเบอร์

ญี่ปุ่นและสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จะกระชับความร่วมมือของภาคเอกชนในเรื่องความมั่นคงด้านไซเบอร์ ท่ามกลางอิทธิพลจากจีนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

เปิดปฏิบัติการ จับพ่อค้าคนกลางซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล

ตร.ไซเบอร์ เปิดปฏิบัติการ Take down “ล่ารัก(ลัก) ลวง” จับกุมพ่อค้าคนกลาง รับซื้อ-ขายข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) กว่า 15 ล้านรายชื่อ

ตลท.คาดปี 66  มูลค่าเสียหายภัยไซเบอร์ทั่วโลกพุ่ง 8 ล้านล้านดอลลาร์ฯ

ตลท. ประเมินปี 2566 มูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกสูงถึง 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ในไทยปี 65 พบเสียหายสูงถึง 91 ล้านบาทต่อวัน “แก๊งคอลเซ็นเตอร์-หลอกลวงออนไลน์” ครองแชมป์

1 2 3 5
...