fbpx

ช่วยโลมาเกยตื้นชายหาดสงขลา 

ช่วยโลมาขึ้นมาเกยตื้นหาด อ.เทพา จ.สงขลา พบบาดแผลบริเวณลำตัว เบื้องต้นอนุบาลอยู่ริมทะเล หากโลมาหายาดเจ็บจะปล่อยคืนสู่ทะเล

ช่วยโลมาเกยตื้น ไม่ยอมลงทะเล

ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง ช่วยกันผลักดันโลมาปากขวด อายุประมาณ 2 ปี กลับลงสู่ทะเล หลังขึ้นมาเกยตื้นบริเวณหาดสั้น แต่ไม่สำเร็จ

โลมาเกยตื้น 5 ตัว ว่ายน้ำกลับท้องทะเลแล้ว

โลมาเกยตื้นชายหาดเกาะทุ่งนางดำ 5 ตัว ว่ายน้ำกลับท้องทะเลได้แล้ว ส่วนอีก 8 ตัวที่ตาย จนท.เตรียมผ่าซากพิสูจน์ในวันนี้

ฝูงโลมาเกยตื้นชายหาดเกาะทุ่งนางดำ 13 ตัว ตาย 8

ฝูงโลมาเกยตื้นชายหาดเกาะทุ่งนางดำ 13 ตัว ตาย 8 รอด 5 คาดหลงทิศเข้ามาหากินช่วงน้ำทะเลขึ้นสูง ชาวประมงเผยไม่เคยเกิดเหตุแบบนี้ในพื้นที่มาก่อน

นาทีช่วยโลมาเกยตื้นหาดเกาะสุกร

นักท่องเที่ยว ช่วยโลมาปากขวดสีชมพู เกยตื้นอยู่หน้าหาดบนเกาะสุกร ให้กลับลงสู่ทะเล ไปหาโลมาปากขวดอีก 2 ตัว ที่ว่ายรออยู่ในทะเล

พบซากโลมาปากขวดถูกคลื่นซัดเกยหาดเจ้าหลาว

พบซากโลมาปากขวดถูกซัดเกยตื้นหาดเจ้าหลาว เขตรอยต่อหาดแหลมเสด็จ ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี สภาพเน่าเกือบทั้งตัว ท่อนหางเหลือเหลือแต่โครงกระดูก

เร่งช่วยเหลือ โลมาริสโซ ถูกคลื่นซัดเกยหาดอ่าวไร่เลย์

เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลฯ เร่งช่วยเหลือโลมาริสโซ ถูกคลื่นซัดลอยเกยตื้นที่ชายหาดอ่าวไร่เลย์ในสภาพอ่อนแรง มีบาดแผลและรอยขีดข่วนเกือบทั้งตัว

ยังน่าห่วงอาการโลมาลายแถบเกยตื้นหาดภูเก็ต

ภูเก็ต 3 ธ.ค.-สัตวแพทย์ดูแลใกล้ชิดโลมาลายแถบบาดเจ็บเกยตื้นหาดในยาง ภูเก็ต เมื่อ  5 วันที่ผ่านมา อาการยังน่าห่วงต้องพยุงว่ายน้ำตลอด ให้ยาฆ่าเชื้อ พร้อมใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ช่วยรักษา ความคืบหน้าอาการของโลมาลายแถบ เพศเมีย ขนาดลำตัวยาวประมาณ  1.5 เมตร เกยตื้นบริเวณหาดในยาง อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ต.สาคู อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 28 พ.ย.ที่ผ่านมา ในสภาพบาดเจ็บมีบาดแผลบริเวณครีบหลัง และปากที่เกิดจากเกยตื้นติดอยู่ในซอกหิน เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ศวทม.) จึงนำอนุบาลที่บ่อเลี้ยง โดยให้ยาคลายเครียด สารน้ำ และเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสาเหตุ พร้อมใช้ชูชีพช่วยพยุงตัว เนื่องจากโลมาไม่สามารถทรงตัวได้ และหัวมุดน้ำตลอดเวลา น.ส.พัชราภรณ์ แก้วโม่ง สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายากฯ กล่าวว่า  ล่าสุด (3 ธ.ค.) อาการของโลมายังอยู่ในขั้นวิกฤติ เนื่องจากติดเชื้อและมีบาดแผลที่ครีบ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ว่ายน้ำไม่ได้ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครต้องผัดเปลี่ยนกันช่วยพยุงโลมาตลอดเวลา เพื่อให้ว่ายน้ำ ขณะเดียวกันก็ให้ยาฆ่าเชื้อ และใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเลเซอร์เข้ามาช่วยในการรักษาบาดแผลอักเสบตรงครีบและลดอาการปวดกล้ามเนื้อของโลมา แต่อาการยังไม่พ้นวิกฤติ ซึ่งเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทุกคนได้พยายามอย่างเต็มความสามารถในการช่วยชีวิตโลมา.-สำนักข่าวไทย

ดูแลใกล้ชิดอาการโลมาลายแถบเกยตื้นชายฝั่งสตูล

สตูล 23 ต.ค.-  สัตวแพทย์ประเมินอาการโลมาลายแถบในบ่ออนุบาลของกรมประมงทุกชั่วโมง หลังเกยตื้นชายฝั่งสตูลเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ล่าสุดยังว่ายน้ำเองไม่ไหวต้องใช้เครื่องพยุง พร้อมประสานทีมเชี่ยวชาญจากภูเก็ตมาช่วยวิเคราะห์การรักษา กรณีชาวบ้านพบโลมาลายแถบสภาพอ่อนแรงเกยตื้นหาดกาสิง  บ้านบ่อเจ็ดลูก  ตำบลปากน้ำ  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล  เมื่อวันที่  21 ต.ค.ที่ผ่านมา และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือ เบื้องต้นไม่พบบาดแผลตามลำตัว เป็นโลมาเพศผู้ ลำตัวยาวประมาณ 2 เมตร น้ำหนัก 70 กิโลกรัม และนำมาอนุบาลที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอันดามันตอนล่าง (สตูล) กรมประมง ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู  ล่าสุด (23 ต.ค.) ทีมสัตวแพทย์จากสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  วิทยาเขตตรัง ยังคงเฝ้าติดตามอาการโลมาลายแถบทุกครึ่งชั่วโมง อีกทั้งยังต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงตัวโลมา เพื่อป้องกันการกระแทกขณะว่ายอยู่ในบ่ออนุบาล และวันพรุ่งนี้ (24 ต.ค.) จะมีทีมเชี่ยวชาญด้านโลมาจากจังหวัดภูเก็ตมาช่วยวางแผนการรักษา.-สำนักข่าวไทย

เร่งช่วยโลมาคลื่นซัดเกยตื้นหาดคลองดาว-กระบี่

กระบี่ 10 ก.ค.- กระบี่คลื่นสูงซัดโลมายาวเกือบ 2 เมตร เกยหาดคลองดาว-เกาะลันตา ประสานศูนย์วิจัยฯ ชายฝั่งอันดามันรีบอนุบาล ช่วงเที่ยงวันนี้ (10 ก.ค.) ที่ชายหาดคลองดาว ม.3 ต.ศาลาด่าน  อ.เกาะลันตา จ.กระบี่  เจ้าหน้าที่ประมงอำเภอเกาะลันตา ชาวบ้าน และนักท่องเที่ยว ช่วยเหลือโลมาขนาดลำตัวยาวเกือบ 2 เมตร ถูกคลื่นลมแรงพัดขึ้นเกยตื้นในสภาพอ่อนแรง นายศักดิ์ดา ทวีเมือง ประมงอำเภอเกาะลันตา  กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นหน้ามรสุมอาจมีสัตว์ทะเลถูกคลื่นซัดขึ้นเกยฝั่งได้ สำหรับโลมาตัวดังกล่าวยังพบว่าตามลำตัวมีปุ่มนูน สงสัยมีการติดเชื้อ จึงประสานกับทหารเรือรักษาความปลอดภัยทางทะเลเกาะลันตาน้อย เพื่อรับไปพักฟื้นประมาณ 3 ชั่วโมง และแจ้งศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต รับไปอนุบาลตามขั้นตอน.-สำนักข่าวไทย

โลมาเกยตื้นภูเก็ตยังน่าห่วง สัตวแพทย์ประเมินอาการรายชั่วโมง

ภูเก็ต 7 มิ.ย.- สัตวแพทย์ศูนย์วิจัยฯ ชายฝั่งอันดามัน ประเมินผลการรักษาโลมาทุกชั่วโมง หลังมรสุมซัดขึ้นเกยตื้นหาดกมลาเมื่อคืนนี้ เผยอาการยังน่าห่วง พบภาวะเครียด ว่ายน้ำเองไม่ได้ ต้องใช้เครื่องช่วยพยุง บ่ายวันนี้ ( 7 มิ.ย.) ที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต สัตวแพทย์หญิงชวัชญา เจียกวธัญญู นายสัตวแพทย์ปฐมพงศ์ จงจิตต์ และเจ้าหน้าที่เร่งอนุบาลโลมาลายแถบเพศผู้ หลังถูกคลื่นซัดขึ้นมาเกยตื้นหน้าหาดกมลาเมื่อคืนที่ผ่านมา (6 พ.ย.) ในสภาพอ่อนแรง โดยเจ้าหน้าที่ต้องใช้เสื้อชูชีพพยุงไว้ตลอดเวลา พร้อมให้น้ำเกลือและเจาะเลือดเพื่อประเมินผลการรักษาและอาการทุก 1 ชั่วโมง สัตวแพทย์หญิงชวัชญา กล่าวว่า  เบื้องต้นตรวจสอบพบมีรอยถลอกตามลำตัวเล็กน้อย ไม่พบบาดแผล ซึ่งมีอาการเครียด อ่อนเพลีย และกล้ามเนื้ออักเสบ ว่ายน้ำไม่ได้ การรักษาในขั้นแรกได้ให้ยาคลายเครียด ยาปฎิชีวนะ และน้ำเกลือ เพื่อให้โลมาหายจากอ่อนเพลียและได้เจาะเลือดตรวจหาความผิดปกติเพื่อทำการรักษาในขั้นต่อไป ขณะนี้อาการอยู่ในภาวะทรงตัว และยังน่าเป็นห่วง จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด สำหรับโลมาลายแถบเพศผู้ตัวนี้อยู่ในช่วงโตเต็มวัย น้ำหนักราว 70-80 กิโลกรัม อายุประมาณ 15-20 ปี.-สำนักข่าวไทย

...