ทีมนักวิจัยจีนพบกลไกเบื้องหลัง “แบคทีเรียก่อโรคอ้วน”

ปักกิ่ง 31 ก.ค.- ผลการศึกษาของคณะนักวิจัยชาวจีนพบว่า สาเหตุที่บางคนกินจุแต่ยังดูผอมเพรียว ส่วนบางคนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่ายและมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนโดยธรรมชาติ อาจมาจากแบคทีเรียเมกะโมนาส (Megamonas) ซึ่งเป็นวงศ์แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอ้วน สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานอ้างหนังสือพิมพ์ไชน่าไซแอนซ์แอนด์เทคโนโลยีเดลีว่า ทีมนักวิจัยจากโรงพยาบาลรุ่ยจินในเครือคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง สถาบันวิจัยจีโนมิกส์ (BGI) และสถาบันวิจัยการแพทย์อัจฉริยะสังกัดสถาบันบีจีไอ ได้ศึกษาสารพันธุกรรมทั้งหมดในตัวอย่างอุจจาระของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคอ้วน 631 คน และกลุ่มควบคุมที่มีน้ำหนักปกติ 374 คน พบแบคทีเรียเมกะโมนาสเป็นส่วนใหญ่ในตัวอย่างจากบุคคลที่เป็นโรคอ้วน เพื่อเปิดเผยกลไกเบื้องหลังของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอ้วน ทีมวิจัยได้ทำการทดลองเพิ่มเติมโดยใช้ต้นแบบหลายชนิด เช่น หนูทดลองปลอดเชื้อจําเพาะ (SPF) หนูปลอดเชื้อโรค (GF) และออร์แกนอยด์ของลำไส้เล็ก โดยใช้ M. rupellensis ซึ่งเป็นตัวแทนสายพันธุ์ของแบคทีเรียเมกะโมนาส มาใช้เป็นอาหารทดลอง ปรากฏว่า M. rupellensis ไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อน้ำหนักตัวของหนูทดลองปลอดเชื้อจําเพาะที่ได้รับอาหารปกติ แต่กระตุ้นให้หนูทดลองชนิดเดียวกันที่ได้รับอาหารไขมันสูง มีน้ำหนักและสะสมไขมันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนหนูปลอดเชื้อโรคที่ได้รับอาหารไขมันสูง M. rupellensis เพิ่มน้ำหนักตัวของหนูอย่างมีนัยสำคัญ และส่งเสริมการขนส่งกรดไขมันในลำไส้และการดูดซึมไขมันอย่างชัดเจน ทีมนักวิจัยได้พิสูจน์ศักยภาพของ M. rupellensis ในการย่อยสลายอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งเป็นสารที่สามารถยับยั้งประสิทธิภาพในการขนส่งกรดไขมัน โดยทดลองทั้งในหลอดทดลองและในร่างกาย และคาดว่า การที่ M. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ รักษาโรคอ้วน

23 กุมภาพันธ์ 2667 – ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ อันตรายหรือไม่ ช่วยลดน้ำหนัก รักษาโรคอ้วนได้อย่างไร แล้วใครที่ไม่ควรทำ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.นพ.วรบุตร ทวีรุจจนะ ศัลยแพทย์ทางเดินอาหารและตับ แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด โรงพยาบาลธนบุรี หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลธนบุรี สัมภาษณ์เมื่อ : 8 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

เด็กไทยอ้วนติด 1 ใน 3 อาเซียน เปิดอาหารชูสุขภาพ เสริมออกกำลัง

กรมอนามัย เผยข้อมูลพบ เด็กไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ติด 1 ใน 3 ของอาเซียน พร้อมแนะกินอาหารชูสุขภาพ ถูกหลักโภชนาการ และเสริมการออกกำลังกายป้องกันภาวะอ้วน

คนกว่าครึ่งโลกจะอ้วนหรือเป็นโรคอ้วนภายในปี 2578

ลอนดอน 4 มี.ค.- สหพันธ์โรคอ้วนโลกเตือนว่า ประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งจะเข้าข่ายอ้วนหรือเป็นโรคอ้วนภายในปี 2578 หากไม่มีการดำเนินการใด ๆ รายงานของสหพันธ์โรคอ้วนโลกที่จะนำเสนอต่อสหประชาชาติในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ระบุว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะกระทบประชากรโลกมากกว่า 4,000 ล้านคน สร้างความสูญเสียไม่ต่ำกว่าปีละ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 137.76 ล้านล้านบาท) รายงานพบว่า เด็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่อ้วนหรือเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยน่าจะเพิ่มขึ้นราว 2 เท่าจากปี 2563 ขณะที่ 9 ใน 10 ประเทศที่น่าจะมีคนอ้วนหรือเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ในประเทศรายได้ต่ำและประเทศรายได้ต่ำถึงปานกลางในเอเชียและแอฟริกา อัตราผู้ป่วยโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างสำคัญ คิดเป็นร้อยละ 3 ของผลิตภณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ทั่วโลก ศ.ลูอิส เบาเออร์ ประธานสหพันธ์โรคอ้วนโลกชี้ว่า แนวโน้มดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกจำเป็นต้องทำทุกอย่างที่สามารถทำได้ เพื่อที่จะไม่ส่งต่อความสูญเสียทางสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจไปยังคนรุ่นหลัง ด้วยการประเมินระบบและปัจจัยต้นตอที่ทำให้คนเป็นโรคอ้วน ทั้งเรื่องกระแสการรับประทานอาหารแปรรูปสูง การมีพฤติกรรมเนือยนิ่งมากขึ้น การไม่มีนโยบายเคร่งครัดในการควบคุมปริมาณอาหารและการทำการตลาด การขาดแคลนบริการสาธารณสุขเพื่อช่วยดูแลเรื่องการควบคุมน้ำหนักและการศึกษาเรื่องสุขภาพ.-สำนักข่าวไทย

ผลักดันคนไทยใส่ใจสุขภาพ ปรับเปลี่ยนมุมมองลด “โรคอ้วน”

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นให้ประชาชนปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด ทัศนคติในการสื่อสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคอ้วน เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน เพราะการสื่อสารจะช่วยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนความคิด เผยประชาชนทั่วโลกมากกว่า 4 ล้านคน เสียชีวิตจากการที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

สหรัฐเสนอลดเค็มลดหวานในอาหารโรงเรียน

วอชิงตัน 4 ก.พ.- กระทรวงเกษตรของสหรัฐเสนอปรับปรุงอาหารโรงเรียนให้มีความเค็มและความหวานลดลง เพื่อแก้ไขปัญหาโรคอ้วนและให้นักเรียนได้รับประทานอาหารโรงเรียนที่มีคุณค่าทางโภชนาการ นายทอม วิลแซ็ก รัฐมนตรีเกษตรสหรัฐแถลงเมื่อวันศุกร์ว่า เด็กจำนวนมากไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็น และมีเด็กป่วยเพราะโรคที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพิ่มมากขึ้น ผลการวิจัยพบว่า สำหรับเด็กส่วนใหญ่แล้ว อาหารโรงเรียนคือมื้อที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดของวัน จึงเป็นมื้อสำคัญที่จะทำให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตที่ดี กระทรวงได้เสนอมาตรฐานใหม่ที่จะทำให้อาหารโรงเรียนทั่วประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางต้องทยอยลดปริมาณโซเดียมรายสัปดาห์, จำกัดปริมาณน้ำตาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารน้ำตาลสูงอย่างโยเกิร์ตและซีเรียลที่เป็นอาหารเช้า, ให้เด็กรับประทานนมไขมันต่ำและนมไร้ไขมัน และเน้นธัญพืชแบบไม่ขัดสี กระรวงเกษตรระบุว่า แต่ละปีมีเด็ก 30 ล้านคนเข้าร่วมโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนแห่งชาติที่จัดสรรอาหารฟรีหรือราคาถูกให้แก่โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชนที่ไม่สวงหากำไร และมีเด็ก 15 ล้านคนเข้าร่วมโครงการอาหารเช้าโรงเรียน กระทรวงจะเปิดให้ประชาชนแสดงความเห็นเป็นเวลา 60 วัน จากนั้นจะนำมาตรฐานใหม่นี้มาใช้กับภาคการศึกษาปี 2567-2568 โซเดียมเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ขณะที่น้ำตาลทำให้เป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐหรือซีดีซี (CDC) เผยว่า เยาวชนอเมริกันอายุ 2-19 ปี เป็นโรคอ้วนจำนวน 14 ล้าน 7 แสนคน หรือเกือบร้อยละ 20.-สำนักข่าวไทย

ชี้ความดันโลหิตสูงเป็นผลมาจากโรคอ้วนและความยากจน

องค์การอนามัยโลก กล่าววันนี้ว่า ประชาชนทั่วโลกเกือบ 1,300 คน ประสบกับปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นฆาตกรเงียบ ที่มักจะเป็นผลมาจากโรคอ้วนที่เพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ เส้นโลหิตในสมองแตกและโรคไต

แพทย์แนะคนเป็นโรคอ้วน เร่งฉีดวัคซีนโควิด

แพทย์แนะนำคนป่วยโรคอ้วน ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดโดยเร็ว หลังสถิติ พบโรคดังกล่าว มักมีอาการโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันสูง ทำให้มีแนวโน้มติดเชื้อง่าย และเสี่ยงเสียชีวิต มากกว่าคนปกติถึง 8 เปอร์เซนต์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ผู้ป่วยโควิดมีโรคประจำตัว เสี่ยงอาการรุนแรง-เสียชีวิต จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์ยังมีข้อสงสัยว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีโรคประจำตัว ทำไมจึงเสี่ยงมีอาการรุนแรง และเสี่ยงเสียชีวิตได้ เรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

กินเลี้ยงปีใหม่เยอะ “โรคอ้วน-โรคแทรกซ้อน” ถามหา

กรมการแพทย์ 26 ธ.ค.- แพทย์เตือนปีใหม่นี้กินเกินความต้องการของร่างกาย เสี่ยงเป็นโรคอ้วนและโรคแทรกซ้อน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2563 ที่จะถึงนี้ จะมีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ รวมทั้งท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ประกอบกับปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาหารที่ให้พลังงานสูง อาหารแปรรูปหรืออาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม เป็นรสชาติที่คนไทย ชอบรับประทานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น หากบริโภคเกินความต้องการของร่างกายประกอบกับขาดการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายน้อย จะส่งผลทำให้ระบบเผาพลาญอาหารผิดปกติ  เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคอ้วนลงพุง คือภาวะที่มีไขมันสะสมในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณช่องท้องทำให้เห็นพุงยื่นออกมาชัดเจน ส่งผลให้รูปร่างดูไม่ดี หอบหรือเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติ อาจมีผลกระทบต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่างๆ ดังนั้น ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งหากละเลยการดูแลตนเองอาจส่งผลทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงอื่นๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง  ด้าน นพ.เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์  กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ที่มีภาวะอ้วนหรืออ้วนลงพุง สามารถรักษาและป้องกันได้ ด้วยการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยวิธีการจำกัดปริมาณอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเสี่ยงของโรคนี้ โดยเทคนิคหรือหลักการการเลือกรับประทานอาหารตามสัดส่วนแบบง่ายๆ คือ ลดปริมาณข้าวหรือแป้งให้น้อยลง เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ที่หวานน้อย […]

1 2 3 4
...