อียิปต์ทวงรูปปั้นครึ่งตัวเนเฟอร์ติติจากเยอรมนี

ซาฮี ฮาวาสส์ นักโบราณคดี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงวัตถุโบราณอียิปต์ เรียกร้องวานนี้ให้พิพิธภัณฑ์น็อยเอส ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ส่งคืนรูปปั้นครึ่งตัวของราชินีเนเฟอร์ติติ (Nefertiti) มเหสีของฟาโรห์อเคนาเทน แห่งราชวงศ์อียิปต์โบราณ กลับสู่อียิปต์

จีนพบบ๊ะจ่างโบราณ อายุกว่า 2,000 ปี

เจิ้งโจว, 22 มิ.ย. (ซินหัว) — สถาบันมรดกวัฒนธรรมและโบราณคดีมณฑลเหอหนาน เปิดเผยการค้นพบอาหารจีนดั้งเดิมอย่างจ้งจื่อหรือ “บ๊ะจ่าง” เป็นพวง ซึ่งมีอายุมากกว่า 2,000 ปี ณ สุสานโบราณที่ขุดพบในเมืองซิ่นหยาง รายงานระบุว่าคณะนักโบราณคดีขุดพบหลุมศพของขุนนางรัฐฉู่โบราณในช่วงกลางยุครณรัฐหรือยุคจ้านกั๋ว (475-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และพบ “อาหารห่อใบไม้” ลักษณะคล้ายบ๊ะจ่างยัดไส้ธัญพืชในหลุมดังกล่าว จำนวน 40 ห่อ โดยบางส่วนมีสภาพเสียหายมาก “อาหารห่อใบไม้” ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 10-15 เซนติเมตร ถูกห่อด้วยใบไม้กว้างและมัดด้วยเชือกหรือก้านไม้ โดยผลตรวจสอบผ่านกล้องจุลทรรศน์พบอาหารเหล่านี้ 39 จาก 40 ห่อ ถูกยัดด้วยข้าวดิบที่ยังมีเปลือกอยู่ ส่วนอีกห่อถูกยัดด้วยข้าวฟ่าง คณะนักโบราณคดีระบุว่าใบไม้ที่ใช้ห่อเป็นใบจากพืชสกุลโอ๊ก (Quercus) ซึ่งสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติปัจจุบันในพื้นที่ทางตะวันตกและตอนใต้ของเหอหนานที่ห่อบ๊ะจ่างด้วยด้วยใบพืชสกุลดังกล่าว หลานว่านลี่ นักโบราณคดีจากสถาบันฯ กล่าวว่าอาหารห่อใบไม้สอดไส้ธัญพืชเหล่านี้ถือเป็นบ๊ะจ่างเก่าแก่สุดที่นักโบราณคดีเคยค้นพบ เมื่อพิจารณาจากการค้นพบทางโบราณคดีและธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ อนึ่ง เทศกาลเรือมังกรหรือเทศกาลตวนอู่ เฉลิมฉลองในวันที่ 5 เดือน 5 ตามตามปฏิทินจันทรคติจีน โดยมีจ้งจื่อหรือบ๊ะจ่างเป็นอาหารสำคัญประจำเทศกาล- สำนักข่าวไทย อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/366511_20230622ขอบคุณภาพจาก Xinhua

เทคโนโลยีช่วยนักโบราณคดีจีนประกอบร่างเทวรูปจากหลุมบูชายัญ 3,000 ปี

ปักกิ่ง, 11 มิ.ย. (ซินหัว) — เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ช่วยนักโบราณคดีจีนประกอบร่างเครื่องสัมฤทธิ์โบราณเก่าแก่ที่พบในหลุมบูชายัญ 8 แห่ง ณ ซากโบราณซานซิงตุย ให้กลับคืนสู่หน้าตาที่เคยเป็นเมื่อราว 3,000 ปีก่อน สถาบันวิจัยทางโบราณคดีและโบราณวัตถุมณฑลเสฉวนเปิดเผยเมื่อวันเสาร์ (10 มิ.ย.) ว่าหน้าตาฉบับสมบูรณ์ของเครื่องสัมฤทธิ์โบราณขนาดใหญ่ 2 ชิ้นได้สร้างความตื่นตะลึงให้เหล่านักโบราณคดีไม่น้อย ถังเฟย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทางโบราณคดีฯ ให้ความเห็นไว้ว่า หน้าตาดั้งเดิมของเครื่องสัมฤทธิ์เหล่านี้แปลกประหลาดและน่าตกตะลึกมากกว่าที่เขาคาดไว้ “มันเปี่ยมด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์” เครื่องสัมฤทธิ์ทั้งสองชิ้นประกอบด้วยรูปปั้นสัมฤทธิ์ชายคุกเข่านั่งอยู่บนหลังสัตว์และเทิน “จุน” หรือภาชนะทรงคล้ายคนโทไว้บนศีรษะ ส่วนอีกชิ้นคือรูปปั้นเทวรูปเศียรคนเท้านกเทินจุนในท่ายกลำตัวขึ้นไปด้านหลังและเกาะอยู่บน “เหลย” หรือภาชนะบรรจุสุราสมัยโบราณ ซึ่งทั้งสองชิ้นล้วนประกอบขึ้นจากเศษซากที่กระจัดกระจายอยู่ในหลุมบูชายัญหลายหลุม เนื่องจากปัญหาด้านความปลอดภัยของโครงสร้างวัตถุ เจ้าหน้าที่จึงยังไม่สามารถประกอบชิ้นส่วนโบราณวัตถุเหล่านี้เข้าด้วยกันได้จริง ดังนั้นจึงใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การสแกน 3 มิติและแบบจำลอง 3 มิติ ในการคืนชีพหน้าตาที่ค่อนข้างสมบูรณ์ของสมบัติชาติเหล่านี้จนสำเร็จ รูปปั้นสัมฤทธิ์ชายคุกเข่านั่งบนหลังสัตว์และเทินจุนนั้น สูง 1.589 เมตร แบ่งเป็นส่วนบน กลาง และล่าง ซึ่งเชื่อว่าสัตว์ที่เขาขี่อยู่นั้นเป็น “สัตว์ศักดิ์สิทธิ์” ข้อมูลระบุว่า ส่วนปากของจุนสัมฤทธิ์ถูกพบจากหลุมบูชายัญหมายเลข 2 รูปปั้นคนนั่งคุกเข่าเทินจุนพบจากหลุมบูชายัญหมายเลข 3 […]

จีนถอดรหัส “ซีกไผ่” เก่า 2,000 ปี บันทึกความรู้การแพทย์โบราณ

เฉิงตู, 23 เม.ย. (ซินหัว) — มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รายงานว่าคณะนักวิจัยของจีนได้เผยแพร่เนื้อหาการแพทย์ดั้งเดิมที่หายสาบสูญไปเป็นเวลานาน ซึ่งเชื่อว่าเขียนโดยเปี่ยนเช่ว์ ผู้บุกเบิกการแพทย์ยุคจีนโบราณ โดยถอดรหัสจากซีกไผ่ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ซีกไผ่จากราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ปี 25) ถูกขุดพบจากกลุ่มหลุมศพในตำบลเทียนหุย นครเฉิงตู เมืองเอกของซื่อชวน เมื่อปี 2012 โดยการศึกษาเพิ่มเติมชี้ว่าซีกไผ่ดังกล่าวบันทึกวรรณกรรมทางการแพทย์อันล้ำค่าของโรงเรียนที่เปี่ยนเช่ว์เคยเป็นลูกศิษย์ ช่วงยุควสันตสารทหรือยุคชุนชิว และยุครณรัฐหรือยุคจ้านกั๋ว (770-221 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เปี่ยนเช่ว์ได้หยิบยกประสบการณ์และองค์ความรู้จากบรรพบุรุษ และนำเสนอวิธีวินิจฉัย 4 วิธี ได้แก่ ตรวจสอบ ฟัง-ดมกลิ่น สอบถาม และกดคลำ ซึ่งวางรากฐานสำหรับการวินิจฉัยและการรักษาของแพทย์แผนจีน (TCM) ซีกไผ่ดังกล่าวเสียหายและอ่อนตัวเหมือนเส้นก๋วยเตี๋ยวเนื่องจากจมน้ำอยู่นานกว่า 2,000 ปี ส่งผลให้การฟื้นฟูและวิจัยยากลำบากขึ้นหลายเท่า ทว่าท้ายที่สุดคณะนักโบราณคดี ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แผนจีน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญการปกป้องและบูรณะโบราณวัตถุ สามารถบูรณะซีกไผ่ 930 แผ่น ที่มีตัวอักษรจีนอยู่กว่า 20,000 ตัว หลังจากทุ่มเทความพยายามนานนับสิบปี อนึ่ง มีการคาดการณ์ว่าซีกไผ่ข้างต้นเป็นชุดเอกสารการแพทย์โบราณที่มอบรายละเอียดเนื้อหาครบครันที่สุด […]

ส่องรูปปั้นนก “จิ้นโหวเหนี่ยวจุน” สมบัติชาติล้ำค่าในซานซี

ไท่หยวน, 15 เม.ย. (ซินหัว) — ชวนชมความวิจิตรงดงามของ “จิ้นโหวเหนี่ยวจุน” รูปปั้นนกที่จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์มณฑลซานซีทางตอนเหนือของจีน ถูกจัดเป็นวัตถุทางวัฒนธรรม ชุดที่ 3 ที่ห้ามนำออกจากประเทศในปี 2013 และถือเป็นสมบัติล้ำค่าในประวัติศาสตร์ศิลปะสัมฤทธิ์ของจีน “จุน” เป็นภาชนะสำหรับดื่มที่มีความสำคัญต่อพิธีกรรมบูชายัญ มีรูปทรงเป็นนกฟีนิกซ์ที่มีนกตัวเล็กบนหลัง ส่วนหางคล้ายจมูกช้างที่กลายเป็นจุดช่วยค้ำยันร่วมกับสองขาของนกฟีนิกซ์ อนึ่ง จิ้นโหวเหนี่ยวจุนถูกจัดเป็นวัตถุทางวัฒนธรรม ชุดที่ 3 ที่ห้ามนำออกจากประเทศในปี 2013 และถือเป็นสมบัติล้ำค่าในประวัติศาสตร์ศิลปะสัมฤทธิ์ของจีน คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230415/1648f0fbfb974df3bbf592c23c5df0ae/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/351743_20230415ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ทิเบตพบ “พระศากยมุนี-พระโพธิสัตว์นั่งหลังสิงห์” แกะสลักบนหน้าผา

ลาซา, 12 เม.ย. (ซินหัว) — สถาบันคุ้มครองวัตถุทางวัฒนธรรมเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รายงานการค้นพบพระพุทธรูปแกะสลักจากช่วงยุคปลายศตวรรษที่ 8 จนถึงต้นศตวรรษที่ 9 จำนวน 10 องค์ รายงานระบุว่าคณะนักโบราณคดีค้นพบพระพุทธรูปเหล่านี้ที่มีลักษณะของอาณาจักรถู่โป (ราวปี 618-842) ของทิเบต บริเวณแหล่งหน้าผาแกะสลัก 3 แห่ง ในอำเภอหมางคางของเมืองชางตู ชื่อเลี่ยชื่อเหริน เจ้าหน้าที่สถาบันฯ กล่าวว่าพระพุทธรูปที่ถูกแกะสลักอยู่บนหน้าผามีองค์ประกอบเฉพาะตัว และแสดงลักษณะอันหายาก อาทิ พระศากยมุนี และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญา “งานแกะสลักบนหน้าผาเหล่านี้มอบข้อมูลสำคัญแก่การวิจัยการกระจายตัวเชิงพื้นที่ การสืบสานศิลปะ และการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อของพระพุทธรูปถู่โป” ชื่อเลี่ยชื่อเหรินกล่าว อนึ่ง ทิเบตเริ่มต้นการสำรวจวัดถ้ำและรูปปั้นแกะสลักบนหน้าผาเมื่อเดือนธันวาคม 2020 โดยปัจจุบันมีการตรวจสอบถ้ำและรูปปั้นแกะสลักบนหน้าผา 277 รายการแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองวัตถุทางวัฒนธรรมหลักระดับชาติ 7 รายการ และการคุ้มครองวัตถุทางวัฒนธรรมระดับภูมิภาค 23 รายการ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230411/d939753bf1a74dc2a4c3d54984151c1c/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/351085_20230412ขอบคุณภาพจาก Xinhua

สุสานยุคราชวงศ์จีน ฝังเตียงหิน ฉากกั้น รูปปั้นสัตว์ร้าย

ลั่วหยาง, 27 มี.ค. (ซินหัว) — ประมวลภาพวัตถุโบราณล้ำค่าที่ขุดพบจากสุสานเก่าแก่ในหมู่บ้านจูชาง เขตเมิ่งจิน เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน สุสานโบราณแห่งนี้ที่ประกอบด้วยหลุมศพ 3 หลุม จัดเป็นหนึ่งในห้าการค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญประจำมณฑลเหอหนานในปี 2022 กลุ่มหลุมศพที่คาดว่าถูกก่อสร้างขึ้นระหว่างปลายยุคราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปี 386-534) และราชวงศ์เว่ยตะวันออก (ปี 534-550) ยังฝังเตียงหินขนาดใหญ่สภาพดี พร้อมฉากกั้นแบบพับทำจากหิน รายงานระบุว่านี่นับเป็นครั้งแรกที่มีการขุดพบเตียงหินจากยุคราชวงศ์ดังกล่าวในเมืองลั่วหยาง นอกเหนือจากรูปปั้นสัตว์ประหลาดเฝ้าหลุมศพและรูปปั้นนักรบ-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230325/c2da27398dad425db157f247268d40f1/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/347602_20230327ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ซานซีอวดโฉม “ชุมชนเมืองหิน”อายุกว่า 4,000 ปี สถาปัตยกรรมจีนโบราณยุคแรก

หลี่ว์เหลียง, 22 มี.ค. (ซินหัว) — คณะนักโบราณคดีเปิดเผยการค้นพบชุมชนเมืองทำจากหิน อายุกว่า 4,000 ปี บริเวณสถานขุดค้นปี้ชุน มณฑลซานซีทางตอนเหนือของจีน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมในยุคแรกของจีน สถานที่ดังกล่าวเป็นชุมชนเมืองหินขนาดใหญ่ของยุคหลงซานราว 4,000 ปีที่แล้ว โดยประกอบด้วยกำแพงเมืองสองชั้นและระบบป้องกันเมือง ครอบคลุมพื้นที่ 7.5 แสนตารางเมตรทางตอนเหนือของหมู่บ้านปี้ชุน ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำเหลืองและแม่น้ำเวยเฟินไหลมาบรรจบกัน-สำนักข่าวไทย คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230321/68addaf5065c4c93ae30b27f0114163c/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/vdo/346620_20230322ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ส่านซีพบเมืองศูนย์กลาง “แคว้นศักดินา” เก่าแก่กว่า 2,700 ปี

ซีอัน, 14 ก.พ. (ซินหัว) — สถาบันโบราณคดีมณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เปิดเผยว่าซากโบราณเถาฉวีในส่านซีเคยเป็นเมืองสำคัญในระบบศักดินาระหว่างปลายยุคราชวงศ์โจวตะวันตก (1,046-771 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จนถึงต้นยุควสันตสารทหรือยุคชุนชิว (770-476 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แหล่งโบราณคดีเถาฉวีตั้งอยู่ที่ตำบลจือหยาง เมืองหานเฉิง ถูกค้นพบเมื่อช่วงทศวรรษ 1980 และคณะนักโบราณคดีเริ่มขุดสำรวจพื้นที่ดังกล่าวในเดือนพฤษภาคม 2020 จนนำไปสู่การค้นพบซากโบราณครอบคลุมพื้นที่ 800,000 ตารางเมตร (ราว 500 ไร่) อันประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัยชนชั้นสูงและสามัญชน รวมถึงหลุมศพหลายขนาด เกิ่งฉิงกาง นักวิจัยประจำสถาบันฯ ระบุว่าปัจจุบันคณะนักโบราณคดีขุดพบหลุมศพขนาดใหญ่ จำนวน 7 หลุม ซึ่งเก็บรวบรวมโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ กระเบื้องพื้น กระเบื้องท่อ เศษเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือกระดูก รวมถึงเครื่องสัมฤทธิ์บางส่วน อายุของหลุมศพ ประเพณีการฝังศพ และจารึกบนเครื่องสัมฤทธิ์ เป็นหลักฐานเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่าซากโบราณเถาฉวีเคยเป็นศูนย์กลางของแคว้นศักดินาระหว่างปลายยุคราชวงศ์โจวตะวันตกจนถึงต้นยุคชุนชิว โดยการค้นพบนี้มีคุณค่าทางวิชาการต่อการศึกษาหัวข้อทางประวัติศาสตร์อันมีนัยสำคัญ เช่น ระบบศักดินา ภูมิศาสตร์การเมือง และการบูรณาการทางชาติพันธุ์- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230214/f11d713df2a84a80986120c448f50952/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/339067_20230214ขอบคุณภาพจาก Xinhua

จีนพบ “ทหารดินเผา” นอกสุสานจิ๋นซี เพิ่มกว่า 220 ตัว

ซีอัน, 12 ม.ค. (ซินหัว) — วันพฤหัสบดี (12 ม.ค.) สำนักโบราณวัตถุวัฒนธรรมมณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เปิดเผยการขุดพบทหารดินเผาเพิ่มกว่า 220 ตัว จากหลุมฝังศพใกล้กับสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ในมณฑล การค้นพบดังกล่าวมีขึ้นระหว่างการขุดค้นครั้งใหญ่ที่เริ่มต้นเมื่อปี 2009 ซึ่งถือเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีครั้งที่ 3 ของหลุมหมายเลขหนึ่ง ในพื้นที่ขนาดประมาณ 430 ตารางเมตร โดยคณะนักโบราณคดียังขุดพบม้าดินเผา 16 ตัว รถม้า 4 คัน อาวุธบางส่วน และอุปกรณ์การผลิต เซินเม่าเซิ่ง นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์สุสานจักรพรรดิฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ระบุว่าทีมวิจัยพบความคืบหน้าหลายประการระหว่างการขุดค้น อาทิ คำอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดขบวนกองทัพทหารดินเผาภายในหลุม รวมถึงขั้นตอนการผลิตทหารดินเผาที่จะมีการแกะสลักรายละเอียดบนร่างรูปปั้นก่อนประกอบเข้ากับแขน อนึ่ง หลุมหมายเลขหนึ่งเป็นหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่สุดที่พบใกล้กับสุสานฯ และครอบคลุมพื้นที่ 14,260 ตารางเมตร โดยมีการสันนิษฐานจากการจัดเรียงแถวกองทหารว่าหลุมแห่งนี้อาจมีรูปปั้นทหารและม้าดินเผามากกว่า 6,000 ตัว หากเสร็จสิ้นการขุดสำรวจอย่างเต็มรูปแบบ-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230112/148b8a0e6a2e4e92b9dab8e1506c4aee/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/331982_20230112ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ชาวบ้านจีนพบ “ศิลาจารึกพระพุทธรูป” ยุคราชวงศ์ฉีเหนือ

สือเจียจวง, 24 ธ.ค. (ซินหัว) — เมื่อไม่นานนี้ ชาวบ้านที่กำลังปรับปรุงบ้านพักของตนเองในหมู่บ้านจงหลู่ อำเภอไป่เซียง มณฑลเหอเป่ยทางตอนเหนือของจีน ได้ค้นพบศิลาจารึกรูปปั้นโบราณ ทีมผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าศิลาจารึกรูปปั้นนี้ ซึ่งกว้าง 70 เซนติเมตร สูง 148 เซนติเมตร และหนา 18 เซนติเมตร มาจากยุคราชวงศ์ฉีเหนือตอนปลาย (ปี 550-577) โดยไม่สามารถระบุปีที่แน่นอนได้ ด้านบนของศิลาจารึกมีการแกะสลักพระพุทธรูป จำนวน 2 องค์ ประดิษฐานอยู่ภายในโพรงคู่ ทว่าพระพุทธรูปมีสภาพเสียหายเกินกว่าจะจำแนกลักษณะรายละเอียดต่างๆ ด้านล่างของศิลาจารึกมีการแกะสลักข้อความ จำนวน 23 แถว ซึ่งไม่สามารถอ่านตีความทั้งหมดเพราะมีสภาพทรุดโทรมตามกาลเวลา อย่างไรก็ดี ข้อความที่อ่านออกบางส่วนกล่าวถึงการกระทำของสมาชิกตระกูลหลู่ในหมู่บ้านจงหลู่หลายคน ซึ่งประกอบอาชีพรับราชการและทำงานรับใช้ประชาชน เกิ่งเสี่ยวหนิง ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองวัตถุทางวัฒนธรรมอำเภอไป่เซียง เผยว่าการค้นพบศิลาจารึกนี้มอบข้อมูลสำหรับการศึกษาพัฒนาการของวัฒนธรรมพุทธศาสนาในจีนอย่างมาก- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20221223/3decf19df30a400ab94e407f6cc0bee7/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/328284_20221224ขอบคุณภาพจาก Xinhua

1 2
...