เกิดข้อถกเถียงหลังผู้คว้ารางวัลโนเบลถึงตอนนี้เป็นชายล้วน

โกเธนเบิร์ก 8 ต.ค. – การประกาศผลรางวัลโนเบลประจำปี 2564 ทั้งแปดคนในสาขาการแพทย์ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ชายทั้งหมด จนทำให้เกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับประเด็นความหลากหลายในรางวัลสุดยิ่งใหญ่ที่มอบให้งานวิจัยหรือสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ อาร์เดม ปาตาปูเตียน และเดวิด จูเลียส สองนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน คว้ารางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์เมื่อวันจันทร์ ขณะที่จอร์จิโอ ปาริซี ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีสนามควอนตัมจากมหาวิทยาลัยซาเปียนซาแห่งกรุงโรมของอิตาลี ชูคุโระ มานาเบะ นักวิจัยชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น และเคลาส์ ฮาสเซิลมานน์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน คว้ารางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ไปครองจากผลงานระบบความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่วนเบนจามิน ลิสต์จากสถาบันมักซ์พลังก์เพื่อการวิจัยถ่านหินของเยอรมนี และเดวิด แม็กมิลแลน นักเคมีชาวอังกฤษจากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันของสหรัฐ ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากการคิดค้นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีชนิดใหม่ ด้านอับดุลราซัก กูร์นาห์ นักเขียนนวนิยายเชื้อสายแทนซาเนีย กลายเป็นนักเขียนผิวดำคนที่สองจากพื้นที่ในทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ในประวัติศาสตร์โนเบลที่คว้ารางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมต่อจากโทนี มอร์ริสันในปี 2536 แอนน์-มารี มอร์เฮ็ด หัวหน้าสมาคมนักวิชาการหญิงแห่งสวีเดน ให้ความเห็นว่า กูร์นาห์ มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์อย่างน้อยหนึ่งข้อ เนื่องจากเขาเป็นนักเขียนจากแวดวงวัฒนธรรมที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิม ซึ่งไม่ใช่ชาวยุโรปที่มีภูมิหลังด้านอาณานิคม แต่เขาก็ไม่ใช่ผู้หญิงอยู่ดี ขณะนี้ยังเหลือการประกาศผลรางวัลโนเบลอีกสองสาขา คือ รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพและสาขาเศรษฐศาสตร์ เธอหวังว่าคณะกรรมการโนเบลของนอร์เวย์จะมอบรางวัลเพื่อยกย่องผู้หญิงบ้าง ทั้งนี้ สเวียตลานา […]

...