2024 Nobel economics prize laureates

นักเศรษฐศาสตร์ในสหรัฐคว้าโนเบลจากผลงานทำให้เข้าใจเรื่องความรุ่งเรือง

สตอกโฮล์ม 14 ต.ค.- นักเศรษฐศาสตร์ในสหรัฐ 3 คน ได้รับการประกาศให้คว้ารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2567 จากผลงานการศึกษาที่ช่วยให้เข้าใจว่าเหตุใดประเทศต่าง ๆ จึงมีความเจริญรุ่งเรืองแตกต่างกัน ราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนประกาศให้นายดารอน อาเจโมลู วัย 57 ปี จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์หรือเอ็มไอที (MIT) นายไซมอน จอห์นสัน วัย 61 ปี จากเอ็มไอที และนายเจมส์ เอ โรบินสัน วัย 64 ปี จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2567 จากผลงานการศึกษาว่าสถาบันทางสังคมตั้งขึ้นอย่างไรและมีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองอย่างไร โดยได้แสดงให้เห็นว่า สถาบันทางสังคมมีความสำคัญต่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ สังคมที่มีหลักนิติธรรมต่ำและสถาบันที่ฉวยประโยชน์จากประชาชนไม่ก่อให้เกิดการเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มีชื่อเต็มว่า รางวัลที่ระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล ในสาขาเศรษฐศาสตร์ ก่อตั้งโดยธนาคารแห่งประเทศสวีเดน (Sveriges Riksbank) ตั้งแต่ปี 2511 การประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในวันนี้เป็นรางวัลสุดท้ายจากที่มีการประกาศทั้งหมด 6 สาขาด้วยกันประกอบด้วย สรีรวิทยาหรือการแพทย์ ฟิสิกส์ เคมี วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์ […]

Hiroshima memorial park

นักท่องเที่ยวยินดีที่องค์กรผู้รอดชีวิตจากนิวเคลียร์คว้าโนเบลสันติภาพ

ฮิโรชิมะ 12 ต.ค.- นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนมาอนุสรณ์สถานสันติภาพในเมืองฮิโรชิมะในวันนี้ แสดงความยินดีที่องค์กรผู้รอดชีวิตจากระเบิดนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพเมื่อวานนี้ นักศึกษาชาวญี่ปุ่นที่มาเยือนอนุสรณ์สถานฯ มองว่า เป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับสหพันธ์องค์การผู้ประสบภัยจากระเบิดปรมาณูและไฮโดรเจนแห่งญี่ปุ่นที่ได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ เขาเองในฐานะนักศึกษาเพิ่งตระหนักว่า การศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เกิดสันติภาพ ขณะที่นักท่องเที่ยวคนหนึ่งแสดงความหวังว่า รางวัลโนเบลสันติภาพในปีนี้จะเป็นโอกาสให้คนทั่วโลกได้คิดทบทวนเรื่องพลังงานนิวคลียร์ในหลากหลายด้าน เพราะในขณะที่พลังงานนิวเคลียร์มีประโยชน์มหาศาล แต่ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้มีการนำไปใช้อย่างไม่ถูกไม่ควร สหพันธ์องค์การผู้ประสบภัยจากระเบิดปรมาณูและไฮโดรเจนแห่งญี่ปุ่น หรือ นิฮง ฮิดังเกียว (Nihon Hidankyo) เป็นองค์กรของกลุ่มผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ที่เรียกว่า “ฮิบะคุชะ” (hibakusha) ได้รับการประกาศจากคณะกรรมรางวัลโนเบลของนอร์เวย์ให้เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2567 จากความพยายามในการรณรงค์ต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์และต้องการทำให้โลกปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ตลอด 68 ปีที่ผ่านมา (อ่านเพิ่มเติม https://tna.mcot.net/world-1432659) ญี่ปุ่นได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพครั้งแรกเมื่อนายเอซากุ ซาโต นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในขณะนั้นได้รับร่วมกับนักการเมืองไอริชในปี 2518 จากการอุทิศตนทำให้พื้นที่รอบมหาสมุทรแปซิฟิกมีเสถียรภาพ และจากการลงนามในสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์.-816(814).-สำนักข่าวไทย

“นิฮง ฮิดังเกียว” องค์กรของญี่ปุ่นคว้ารางวัลโนเบล สันติภาพ

สหพันธ์องค์การผู้ประสบภัยจากระเบิดปรมาณูและไฮโดรเจนแห่งญี่ปุ่น หรือ นิฮง ฮิดังเกียว (Nihon Hidankyo) ซึ่งเป็นองค์กรของกลุ่มผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ

Nobel Prize in Chemistry

ชาวอเมริกันและ 2 ชาวอังกฤษคว้าโนเบลเคมีจากผลงานด้านโปรตีน

สตอกโฮล์ม 9 ต.ค.- นักเคมีชาวอเมริกันและนักเคมีชาวอังกฤษ 2 คน ได้รับการประกาศให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2567 จากผลงานการถอดรหัสโครงสร้างโปรตีน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการมีชีวิต ราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนประกาศให้นายเดวิด เบเกอร์ นักชีวเคมีชาวเมริกัน วัย 62 ปี จากมหาวิทยาลัยวอชิงตันของสหรัฐได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2567 ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ 2 คนจากกูเกิลดีปไมน์ ซึ่งเป็นห้องทดลองปฏิบัติการวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ในสหราชอาณาจักรที่อยู่ในเครือกูเกิล คือ นายเดมิส ฮาสซาบิส วัย 48 ปี และนายจอห์น เอ็ม จัมเปอร์ วัย 39 ปี นายเบเกอร์ได้รับรางวัลจากผลงานการออกแบบโปรตีนเชิงคำนวณ (computational protein design) ขณะที่นายฮาสซาบิสและนายจัมเปอร์ได้รับรางวัลจากผลงานการทำนายโครงสร้างโปรตีน (protein structure prediction) การประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในวันนี้เป็นรางวัลที่ 3 จากที่จะมีการประกาศทั้งหมด 6 สาขาด้วยกันประกอบด้วย สรีรวิทยาหรือการแพทย์ ฟิสิกส์ เคมี วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์ แต่ละสาขาจะมีการมอบเหรียญและเงินรางวัล 11 […]

Winner of Nobel prize in physics warns of AI dangers

เจ้าของโนเบลฟิสิกส์แนะใช้งานเอไออย่างปลอดภัย

แคลิฟอร์เนีย 9 ต.ค.- นายเจฟฟรีย์ ฮินตัน ที่ได้รับการประกาศให้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2567 แนะนำให้เดินหน้าวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย นายฮินตัน นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ-แคนาดา วัย 76 ปี จากมหาวิทยาลัยโทรอนโตในแคนาดาให้สัมภาษณ์ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนประกาศให้เขาและนายจอห์น ฮอปฟิลด์ ชาวอเมริกันวัย 94 ปี จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในสหรัฐได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2567 จากผลงานการค้นพบและประดิษฐ์ด้านแมชชีนเลิร์นนิงหรือการที่คอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นการปูทางไปสู่ความเฟื่องฟูด้านเอไอ (อ่านเพิ่มเติม https://tna.mcot.net/world-1431033) นายฮินตันเผยว่า ยังคงตกใจอยู่ไม่หายและตื่นเต้นมาก หลังจากที่ได้รับโทรศัพท์แจ้งข่าวเมื่อเวลา 01.00 น.วันที่ 8 ตุลาคมตามเวลารัฐแคลิฟอร์เนีย เขาหวังว่าเอไอจะนำมาซึ่งประโยชน์มหาศาล เพิ่มผลิตภาพในการผลิตอย่างมาก และทำให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่สิ่งที่กังวล คือ เอไออาจนำมาซึ่งสิ่งที่เลวร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเอไอฉลาดขึ้นจนมนุษย์อาจไม่สามารถควบคุมได้ นักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่า เอไอจะฉลาดกว่ามนุษย์ในอีก 20 ปีข้างหน้า เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์คนล่าสุดเรียกร้องให้เร่งเดินหน้าวิจัยเพิ่มเติม โดยสนับสนุนให้นักวิจัยรุ่นใหม่วิจัยเรื่องการใช้งานเอไออย่างปลอดภัย และขอให้รัฐบาลบังคับให้บริษัทใหญ่อำนวยความสะดวกให้นักวิจัยเหล่านี้ นายฮินตันเคยเป็นข่าวใหญ่เมื่อครั้งลาออกจากกูเกิล บริษัทเทคโนโลยีระดับโลกเมื่อปีก่อนด้วยเหตุผลว่า เพื่อให้สามารถพูดถึงอันตรายของเทคโนโลยีที่เขาบุกเบิกได้อย่างสะดวกใจ.-814.-สำนักข่าวไทย

Nobel Prize in Physics 2024

ชาวอเมริกันและอังกฤษ-แคนาดาคว้าโนเบลฟิสิกส์จากผลงานด้านแมชชีนเลิร์นนิง

สตอกโฮล์ม 8 ต.ค.- นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ-แคนาดาได้รับการประกาศให้คว้ารางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2567 จากผลงานการค้นพบและการประดิษฐ์ด้านแมชชีนเลิร์นนิงหรือการที่คอมพิวเตอร์เรียนรู้ด้วยตนเอง ราชบัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนประกาศให้นายจอห์น เจ ฮอปฟิลด์ ชาวอเมริกันวัย 94 ปี จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในสหรัฐ และนายเจฟฟรีย์ อี ฮินตัน ชาวอังกฤษ-แคนาดาวัย 76 ปี จากมหาวิทยาลัยโทรอนโตในแคนาดาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากผลการค้นพบและประดิษฐ์ขั้นพื้นฐานที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองด้วยโครงข่ายประสาทเทียม ราชบัณฑิตยสภาฯ ยกย่องเจ้าของรางวัลโนเบลทั้ง 2 คนว่า ใช้เครื่องมือทางฟิสิกส์ในการพัฒนาวิธีการที่เป็นพื้นฐานของแมชชีนเลิร์นนิงในปัจจุบัน การประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในวันนี้เป็นรางวัลที่ 2 จากที่จะมีการประกาศทั้งหมด 6 สาขาด้วยกันประกอบด้วย สรีรวิทยาหรือการแพทย์ ฟิสิกส์ เคมี วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์ แต่ละสาขาจะมีการมอบเหรียญและเงินรางวัล 11 ล้านโครนาสวีเดน (ราว 35 ล้านบาท).-814.-สำนักข่าวไทย

Nobel prize for medicine goes to U.S. scientists Ambros and Ruvkun

2 นักวิทย์อเมริกันคว้าโนเบลการแพทย์จากการค้นพบไมโครอาร์เอ็นเอ

สตอกโฮล์ม 7 ต.ค.- นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน 2 คน ได้รับการประกาศชื่อให้เป็นผู้คว้ารางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ประจำปี 2567 ร่วมกัน จากผลงานการค้นพบไมโครอาร์เอ็นเอ (RNA) สมัชชาโนเบลแห่งสถาบันแคโรลินสกาในกรุงสตอกโฮล์มของสวีเดนประกาศให้นายวิกเตอร์ อัมบรอส วัย 70 ปี และนายแกรี รัฟคัน วัย 72 ปี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ประจำปี 2567 ร่วมกัน จากผลงานการค้นพบไมโครอาร์เอ็นเอและบทบาทของไมโครอาร์เอ็นเอที่มีต่อการควบคุมยีนหลังการถอดรหัส สมัชชาโนเบลฯ ระบุว่า การค้นพบที่สำคัญมากของพวกเขานำมาซึ่งหลักการใหม่ถอดด้ามเรื่องการควบคุมยีนซึ่งกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ รวมถึงมนุษย์ ไมโครอาร์เอ็นเอคือสิ่งที่มีความสำคัญขั้นพื้นฐานต่อการพัฒนาและทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิต การประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในวันนี้เป็นการประกาศผลรางวัลโนเบลสาขาแรกจากที่จะมีการประกาศทั้งหมด 6 สาขาด้วยกันประกอบด้วย สรีรวิทยาหรือการแพทย์ ฟิสิกส์ เคมี วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์ แต่ละสาขาจะมีการมอบเหรียญและเงินรางวัล 11 ล้านโครนาสวีเดน (ราว 35 ล้านบาท).-814.-สำนักข่าวไทย

ผู้ประท้วงบังกลาเทศต้องการให้เจ้าของโนเบลร่วมรัฐบาลชั่วคราว

ธากา 6 ส.ค.- กลุ่มผู้ประสานงานการประท้วงของนักศึกษาบังกลาเทศเรียกร้องให้แต่งตั้งนายมูฮัมหมัด ยูนุส เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของรัฐบาลชั่วคราวที่จะตั้งขึ้น หลังจากนายกรัฐมนตรีเชค ฮาซีนา ลี้ภัยออกนอกประเทศ กลุ่มผู้ประสานงานโพสต์คลิปผ่านเฟซบุ๊กในวันนี้ว่า ทางกลุ่มจะไม่ยอมรับรัฐบาลใดก็ตามที่ไม่มีนายยูนุส และจะไม่ยอมรับรัฐบาลที่กองทัพให้การสนับสนุนหรือมีกองทัพเป็นแกนนำ พวกเขาได้หารือกับนายยูนุสแล้ว และนายยูนุสได้ยอมรับหน้าที่ความรับผิดชอบนี้ เพื่อปกป้องประชาชนชาวบังกลาเทศ นายยูนุสวัย 84 ปี และธนาคารกรามีนแบงก์ของเขา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2549 จากการอุทิศตนเพื่อช่วยให้ชาวบังกลาเทศหลายล้านคนหลุดพ้นจากความยากจน ผ่านการปล่อยสินเชื่อต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ (ต่ำกว่า 3,545 บาท) แต่ขณะนี้เขากำลังถูกศาลไต่สวนในคดียักยอกทรัพย์ ซึ่งเขาปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด นายยูนุสได้ให้สัมภาษณ์สื่ออินเดียว่า วันที่ 5 สิงหาคมถือเป็นวันปลดปล่อยครั้งที่ 2 ของบังกลาเทศ หลังจากบังกลาเทศทำสงครามเรียกร้องเอกราชจากปากีสถานในปี 2514 ขณะเดียวกันกองทัพบกบังกลาเทศแถลงว่า ผู้บัญชาการกองทัพบกจะพบกับแกนนำนักศึกษาในวันนี้ หนึ่งวันหลังจากที่เขาเป็นผู้แถลงทางโทรทัศน์ว่า นางฮาซีนาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และจะมีตั้งรัฐบาลชั่วคราว.-814.-สำนักข่าวไทย

อดีตผู้นำฟินแลนด์และเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพถึงแก่อสัญกรรม

มาร์ตตี อาห์ตีซารี (Martti Ahtisaari) อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพถึงแก่อสัญกรรมแล้วที่กรุงเฮลซิงกิ ของฟินแลนด์ขณะมีอายุได้ 86 ปี หลังจากต้องต่อสู้กับโรคอัลไซเมอร์

รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ 2566

สตอกโฮล์ม 10 ต.ค. ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายเรื่องช่องว่างและความไม่เท่าเทียมทางเพศในตลาดแรงงานคว้ารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2566 ราชบัณฑิตยสภาแห่งสวีเดนประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมว่า ได้แก่เคลาเดีย โกลดิน วัย 77 ปี ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด จากผลงานการค้นคว้าวิจัยที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับช่องว่างและความไม่เท่าเทียมทางเพศในตลาดแรงงาน ผลงานการวิจัยของโกลดินที่ศึกษาการทำงานของผู้หญิงในตลาดแรงงานทั่วโลกตลอด 200 ปีที่ผ่านมาพบว่า ค่าจ้างในการทำงานของผู้หญิงไม่เคยทัดเทียมเทียบเท่ากับผู้ชาย และความแตกต่างเรื่องค่าจ้างยังคงเกิดขึ้นต่อไป แม้ผู้หญิงจะมีการศึกษาสูงกว่าผู้ชาย คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ระบุว่า แม้งานวิจัยของโกลดินไม่ได้นำเสนอวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ทำให้ผู้จัดทำและกำหนดนโยบายนำข้อมูลไปปรับใช้และรับมือความไม่เท่าเทียมดังกล่าว งานวิจัยของเธอยังช่วยให้เกิดความเข้าใจเรื่องบทบาทของผู้หญิงในตลาดแรงงานที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวางนโยบายเพื่อช่วยให้ผู้หญิงได้รับโอกาสและความก้าวหน้าในตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น โกลดินเป็นผู้หญิงคนที่ 3 ที่คว้ารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เธอจะได้รับเงินรางวัล 10 ล้านโครนสวีเดน (ราว 34 ล้านบาท) และเตรียมเข้ารับรางวัลในพิธีที่จะจัดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน.-สำนักข่าวไทย

นักรณรงค์เรียกร้องสิทธิสตรีชาวอิหร่านได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพ

“นาร์เกส โมฮัมมาดี” สตรีชาวอิหร่านผู้รณรงค์เรียกร้องสิทธิสตรี ซึ่งขณะนี้ถูกทางการอิหร่านลงโทษจำคุก 12 ปี ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพประจำปี 2023

1 2 3 6
...