bus hit in Sudan bombardments

สงครามในซูดานทวีความรุนแรง สังเวย 127 ชีวิต

คาร์ทูม 11 ธ.ค.- สงครามกลางเมืองในซูดาน ประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังทวีความรุนแรง เมื่อการโจมตีจากกองกำลัง 2 ฝ่ายที่เป็นอริกันได้คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 127 คนในเวลาเพียง 2 วัน กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า ช่วงวันจันทร์และวันอังคารที่ผ่านมา มีการโจมตีด้วยระเบิดถังน้ำมันและระดมยิงปืนใหญ่จากกองกำลังทั้งสองฝ่าย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยถึง 127 คน ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน ชาวบ้านเปิดเผยว่า เมื่อวันอังคารกองกำลังสนับสนุนเคลื่อนที่เร็วหรืออาร์เอสเอฟ (RSF) ได้ระดมยิงปืนใหญ่โจมตีพื้นที่เขตออมเดอร์มัน ในรัฐคาร์ทูม ซึ่งเป็นพื้นที่ในการควบคุมของกองทัพซูดาน กลุ่มทนายความฉุกเฉินในซูดานเปิดเผยว่า การโจมตีดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 คน ในจำนวนนี้เป็นคนที่อยู่บนรถโดยสารอย่างน้อย 14 คน ขณะที่ทางการท้องถิ่นซึ่งอยู่ในการควบคุมของกองทัพเปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตมากถึง 65 คน นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บถูกส่งตัวยังโรงพยาบาลใกล้เคียง ส่วนเมื่อวันจันทร์ กองทัพได้ใช้ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศที่เมืองคับคาบิยาในรัฐดาร์ฟูร์เหนือ ทางตะวันตกของซูดาน สร้างความโกลาหลและสังหารผู้คนมากกว่า 100 คน เป็นอีกหนึ่งวันที่เกิดความสูญเสียหนักที่สุดจากการสู้รบในซูดาน ร่างผู้เสียชีวิตเกลื่อนไปทั่วตลาด ท่ามกลางซากปรักความเสียหายของร้านค้าและแผงลอย สงครามกลางเมืองในซูดานครั้งนี้ มีชนวนเหตุมาจากการแย่งชิงอำนาจของนายพลอับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ผู้บัญชาการกองทัพ และเป็นผู้นำรัฐบาลทหารของซูดาน กับนายพลโมฮาเหม็ด ฮัมดัน […]

เหยียบกันตาย

เหยียบกันตายในสนามฟุตบอลกินี

เหตุการณ์โกลาหลเหยียบกันตายในสนามฟุตบอลประเทศกินี อาจทำให้มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 100 ราย ขณะที่นายกรัฐมนตรีกินี สั่งสอบสวนโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น พร้อมให้ความช่วยหลือผู้บาดเจ็บอย่างเต็มที่

Plastic waste chokes Congo dam, causing widespread power cuts

ขยะพลาสติกในดีอาร์คองโกอุดเขื่อนจนผลิตไฟฟ้าไม่ได้

กินชาซา 18 พ.ย.- ขยะพลาสติกจำนวนมากในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกหรือดีอาร์คองโกในทวีปแอฟริกา ลอยเข้าไปอุดตันจนเครื่องจักรของเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าหลักไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ก่อให้เกิดปัญหากระแสไฟฟ้าดับบ่อยครั้ง เขื่อนรูซิซี (Ruzizi) ตั้งอยู่ตอนปลายสุดของทะเลสาบคีวู (Kivu) ที่มีพรมแดนติดกับรวันดา เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเมืองบากาวู ทางตะวันออกของดีอาร์คองโกและเมืองโดยรอบ เมื่อกระแสไฟฟ้าดับจึงสร้างความเดือดร้อนให้แก่ธุรกิจในพื้นที่ ผู้บริหาร SNEL ที่เป็นบริษัทไฟฟ้าแห่งชาติเผยว่า ปัญหาเกิดจากขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลที่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างเหมาะสม ถูกน้ำฝนจากฝนตกหนักพัดไหลจากพื้นที่เทือกเขาลงไปยังทะเลสาบคีวูที่อยู่ด้านล่าง จนไปปิดกั้นทางน้ำ ทำให้กระแสน้ำไหลไม่สะดวก เป็นเหตุให้เครื่องจักรขาดแรงดันน้ำมากพอที่จะทำงานได้  และต้องหยุดทำงานไปหลายชั่วโมง อย่างไรก็ดี แม้บริษัทส่งคนออกไปเก็บขยะทุกวันแต่ขยะก็ยังคงไหลมาสะสมอย่างไม่จบสิ้น ทางการระบุว่า หนทางหนึ่งที่จะช่วยได้ คือ ต้องให้ครัวเรือนช่วยเก็บขยะของตนเองตั้งแต่ต้นทาง เพราะลำพังการเก็บขยะพลาสติกที่ลอยเป็นแพอยู่บนผิวน้ำ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เนื่องจากยังมีขยะจมสะสมลึกลงไปถึง 14 เมตร ต้องให้นักประดาน้ำลงไปเก็บถึงท้องน้ำ เพื่อป้องกันขยะเข้าไปอุดตันเครื่องจักรของเขื่อน.-814.-สำนักข่าวไทย

herd of elephants

ซิมบับเวจะล้มช้าง 200 ตัวให้คนอดอยากเพราะภัยแล้ง

ฮาราเร 17 ก.ย.- ซิมบับเว ซึ่งเป็นประเทศทางตอนใต้ของแอฟริกา จะล้มช้างจำนวน 200 ตัว เพื่อแจกจ่ายเนื้อเป็นอาหารให้แก่ชุมชนต่าง ๆ ที่เผชิญภาวะอดอยากเฉียบพลันจากภาวะภัยแล้งที่สุดในรอบ 4 ทศวรรษ โฆษกสำนักงานอุทยานและสัตว์ป่าซิมบับเวยืนยันว่า สำนักงานฯ มีแผนการจะล้มช้างจำนวน 200 ตัวทั่วประเทศ ขณะนี้กำลังจัดทำเรื่องวิธีการ เนื้อช้างที่ล้มจะนำไปแจกจ่ายให้ชุมชนที่อดอยากจากภัยแล้ง ขณะเดียวกันการล้มช้างยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการลดความหนาแน่นของประชากรช้างตามอุทยานในภาวะภัยแล้งด้วย เนื่องจากปัจจุบันซิมบับเวมีช้างมากกว่า 84,000 ตัว แต่อุทยานต่าง ๆ สามารถรองรับได้อย่างยั่งยืนเพียง 55,00 ตัวเท่านั้น รอยเตอร์รายงานเสริมว่า ภัยแล้งรุนแรงอาจทำให้ความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่ารุนแรงขึ้น เนื่องจากอาหารหายากขึ้น โดยเมื่อปีที่แล้วมีชาวซิมบับเวถูกช้างป่าทำร้ายเสียชีวิตมากถึง 50 คน การล้มช้างครั้งแรกนับจากปี 2531 จะมีขึ้นใน 4 เขตของซิมบับเว หลังจากนามิเบียซึ่งเป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกาประกาศเมื่อเดือนสิงหาคมว่า จะล้มช้างจำนวน 83 ตัว เพื่อแจกจ่ายเนื้อเป็นอาหารให้แก่ประชาชนที่อดอยากจากภัยแล้ง ซิมบับเวได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือไซเตส (CITES) ของสหประชาชาติอนุญาตให้จำหน่ายงาช้างและช้างมีชีวิตได้อีกครั้ง เพราะปัจจุบันมีงาช้างคงคลังที่ไม่สามารถจำหน่ายได้คิดเป็นมูลค่าถึง 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ (เกือบ 20 ล้านบาท).-814.-สำนักข่าวไทย

จีนเสนอให้เงินสนับสนุนแอฟริกากว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์

ระธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน กล่าววันนี้ให้คำมั่นจะเพิ่มการสนับสนุนของจีนให้กับประเทศในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นทวีปที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ด้วยการให้เงินทุนเกือบ 51,000 ล้านดอลลาร์

จีนลงนามสนธิสัญญาภาษีร่วมกับ 21 ประเทศในแอฟริกา

นายเหมิง อวี้อิง หัวหน้าสำนักการจัดเก็บภาษีระหว่างประเทศ สังกัดสำนักบริหารกิจการภาษีแห่งชาติจีน เปิดเผยวันจันทร์ว่า ปัจจุบันจีนได้ลงนามสนธิสัญญาภาษีร่วมกับ 21 ประเทศในแอฟริกา

เปิดเคสเด็กในบุรุนดีรอดชีวิตจากเอ็มพ็อกซ์

กีเตกา 30 ส.ค.- เด็กหญิงวัย 12 ปีในบุรุนดี ยังมีแผลเป็นจาง ๆ ที่เกิดจากติดโรคเอ็มพ็อกซ์ หรือฝีดาษวานร ที่กำลังแพร่ระบาดหนักในทวีปแอฟริกา เด็กหญิงรายนี้เป็น 1 ในผู้โชคดีไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากโรคเอ็มพ็อกซ์ เธอเล่าว่า เริ่มจากมีอาการหนาว จากนั้นปวดศีรษะมาก แม้แต่ยาก็ไม่ช่วยบรรเทาอาการปวด นอกจากนี้ยังเจ็บคอมากจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ด้านบิดาเผยว่า ได้แต่ดูลูกสาววัย 12 ปี และลูกชายวัย 6 ขวบติดโรคนี้ทั้ง 2 คน และรู้สึกกลัว เพราะเห็นข่าวผู้ป่วยในสื่อสังคมออนไลน์ จึงตัดสินใจพาลูกไปโรงพยาบาล แพทย์แนะนำให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ จึงนำถังใส่น้ำและสบู่มาตั้งไว้หน้าบ้าน เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมเยียนแต่ละคนได้ล้างมือก่อนเข้ามา รอยเตอร์ระบุว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับเด็กทั้ง 2 รายในบุรุนดี สะท้อนถึงวิกฤตโรคเอ็มพ็อกซ์ในทวีปแอฟริกาที่พบการระบาดครั้งแรกตั้งแต่ปี 2513 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือดีอาร์ซี (DRC) ที่เกิดโรคเอ็มพ็อกซ์สายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรงขึ้น เพราะนับตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ พบผู้ป่วยเข้าข่ายแล้วมากกว่า 27,000 คน และเสียชีวิต 1,100 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ขณะที่บุรุนดีพบมากเป็นอันดับ 2 […]

จีนปล่อยกู้แอฟริกาเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 7 ปี

ไนโรบี 29 ส.ค.- ผลการศึกษาอิสระที่เผยแพร่ในวันนี้ระบุว่า จีนได้อนุมัติสินเชื่อให้แก่แอฟริกามูลค่ารวม 4,610 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 156,680 ล้านบาท) ในปี 2566 เป็นการเพิ่มขึ้นต่อปีเป็นครั้งแรกนับจากปี 2559 ศูนย์นโยบายการพัฒนาโลกของมหาวิทยาลัยบอสตันในสหรัฐเผยแพร่ผลการศึกษาก่อนที่จะมีการประชุมเวทีความร่วมมือจีน-แอฟริกาที่จัดขึ้นทุก 3 ปีในวันที่ 4-6 กันยายนที่กรุงปักกิ่งว่า ปี 2566 จีนอนุมัติสินเชื่อให้แอฟริกาเพิ่มขึ้น 3 เท่าจากปี 2565 หลังจากให้สินเชื่อปีละกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 339,870 ล้านบาท) ตลอดปี 2555-2561 ตามข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง หรือบีอาร์ไอ (BRI) ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน แต่ได้ปล่อยสินเชื่อลดลงอย่างมากนับตั้งแต่โรคโควิด-19 ระบาด รวมแล้วจีนปล่อยสินเชื่อให้ภูมิภาคนี้ทั้งหมด 182,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.19 ล้านล้านบาท) นับตั้งแต่ปี 2543-2566 ส่วนใหญ่เป็นภาคพลังงาน การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที (ICT) ผลการศึกษาพบว่า แอฟริกามีความสำคัญอย่างมากในช่วงปีแรก […]

เผยเอ็มพ็อกซ์สายพันธุ์ใหม่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก

เผยคณะนักวิทยาศาสตร์ในแอฟริกาที่กำลังศึกษาโรคฝีดาษลิง หรือ เอ็มพ็อกซ์ (mpox) สายพันธุ์ใหม่ ยังคงทำงานแบบมืดบอด ไม่มีข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับเชื้อไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก

วิกฤตมนุษยธรรมในซูดานทำอหิวาต์ระบาดหนัก

คาร์ทูม 23 ส.ค.- วิกฤตด้านมนุษยธรรมในซูดาน ซึ่งเป็นประเทศทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกาที่ตกอยู่ในภาวะสงคราม ทำให้โรคอหิวาต์หรืออหิวาตกโรคระบาดรุนแรง นพ.ชีเบิล ซาห์บานี ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำซูดานเผยว่า สถานการณ์อหิวาต์แพร่ระบาดทวีความรุนแรงจากวิกฤติด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากสงครามกลางเมือง  เฉพาะเมื่อเดือนกรกฎาคมเพียงเดือนเดียวพบผู้ป่วยอหิวาต์มากถึง 658 คน ส่วนใหญ่อยู่ในอัล-กาดาริฟและจังหวัดคาสซาลาที่ประสบอุทกภัยอยู่ในขณะนี้ อีกทั้งยังมีผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในประเทศอยู่ใน 2 จังหวัดนี้เป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกกำลังเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ในช่วงฤดูฝนด้วยการจัดหาปัจจัยที่จำเป็น รวมทั้งร้องขอวัคซีนป้องกันอหิวาต์เพิ่มเติม โรคติดต่อหลายโรค เช่น อหิวาต์ ตาแดง กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในซูดาน เนื่องมาจากสงครามกลางเมืองที่ยาวนานส่งผลกระทบอย่างหนักต่อระบบสาธารณสุข ประกอบกับการมีฝนตกหนักและน้ำท่วมประจำปีทำให้เกิดปัญหาสุขอนามัยตามมา นอกจากนี้ซูดานยังเผชิญวิกฤตความหิวโหยครั้งใหญ่ที่สุดในโลก มีประชาชน 25.6 ล้านคนอยู่ในภาวะหิวโหยเฉียบพลัน ระบบสาธารณสุขย่ำแย่เพราะหลายพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือ.-816(814).-สำนักข่าวไทย

แอฟริกาพบผู้ติดเชื้อเอ็มพ็อกซ์ปีนี้มากกว่าปีที่แล้วทั้งปี

อาดดิสอาบาบา 18 ส.ค.- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา หรือแอฟริกาซีดีซี (Africa CDC) แจ้งว่า ยอดผู้ติดเชื้อเอ็มพ็อกซ์ (mpox) หรือฝีดาษวานรในภูมิภาคนี้นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ มีจำนวนมากกว่ายอดผู้ติดเชื้อในปี 2566 ทั้งปี แอฟริกาซีดีซีแถลงเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงวันที่ 17 สิงหาคม มีรายงานผู้ติดเชื้อใน 12 ประเทศจากสมาชิกสหภาพแอฟริกา หรือเอยู (AU) ทั้งหมด 55 ประเทศที่ 18,737 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้ว 3,101คน และผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ15,636 คน ส่วนผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตอยู่ที่ 541 คน คิดเป็นอัตราเสียชีวิตร้อยละ 2.89 ตัวเลขเหล่านี้ครอบคลุมเชื้อไวรัสเอ็มพ็อกซ์ทั้ง 3 สายพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์พบใหม่ที่แพร่ง่ายและอันตรายอย่างสายพันธุ์เคลด 1 บี (Clade 1b) สายพันธุ์ดังกล่าวเริ่มระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือดีอาร์ซี (DRC ) เมื่อเดือนกันยายน 2566 และยังคงเป็นศูนย์กลางของการระบาดอยู่ในขณะนี้ โดยพบผู้ป่วยหมดทั้ง […]

1 2 3 8
...