นักวิจัยจีนแยกแอนติบอดีต้านเชื้อ HIV จากอัลปากา
คณะนักวิจัยจีนแยกแอนติบอดีจากอัลปากา ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นแนวทางที่มีแนวโน้มดีสำหรับการพัฒนายาต้านเอดส์ชนิดใหม่
คณะนักวิจัยจีนแยกแอนติบอดีจากอัลปากา ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นแนวทางที่มีแนวโน้มดีสำหรับการพัฒนายาต้านเอดส์ชนิดใหม่
สธ.เผยผลศึกษาแอนติบอดี “Evusheld” ป้องกันโควิดในผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีความคุ้มค่าในผู้ป่วยล้างไต เตรียมนำมาใช้เพื่อลดการเสียชีวิต
คณะนักวิจัยญี่ปุ่นพัฒนาหน้ากากอนามัยเคลือบด้วยแอนติบอดีของนกกระจอกเทศ ใช้ตรวจหาเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ได้ เมื่อส่องด้วยรังสีอัลตราไวโอแลต (ยูวี)
บริสเบน 30 ต.ค.- คณะนักวิจัยในออสเตรเลียพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แบบแผ่นแปะ ผลการทดลองกับหนูให้ผลน่าพอใจ วารสาร Science Advances เผยแพร่ผลการทดลองนำแผ่นแปะขนาด 1 ตารางเซนติเมตรที่เต็มไปด้วยหนามเชื้อไวรัสโคโรนาที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าและถูกเคลือบด้วยวัคซีนซับยูนิตที่อยู่ระหว่างการทดลองจำนวนมากกว่า 5,000 หนาม ไปติดบนตัวหนูเป็นเวลา 2 นาทีพบว่า หนูที่รับวัคซีนแบบแผ่นแปะครบ 2 โดส มีระดับแอนติบอดีต่อสู้กับเชื้อโรคสูงกว่าหนูที่รับวัคซีนแบบฉีดครบ 2 โดส รวมทั้งแอนติบอดีในปอดที่จะหยุดยั้งเชื้อลงปอดด้วย อีกทั้งยังพบว่า หนูที่รับวัคซีนแบบแผ่นแปะเพียงโดสเดียวที่เพิ่มสารกระตุ้นภูมิต้านทานก็ไม่มีอาการป่วยแม้แต่น้อย นักวิจัยของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ที่ทำการทดลองนี้อธิบายว่า วัคซีนแบบฉีดส่วนใหญ่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งไม่มีเซลล์ภูมิต้านทานมากพอจะตอบสนองต่อวัคซีน ขณะที่วัคซีนแบบแผ่นแปะมีหนามเชื้อไวรัสที่ไปทำให้ผิวหนังตายเฉพาะจุด จึงกระตุ้นให้ภูมิต้านของร่างกายตอบสนอง เตรียมทดลองกับคนในเดือนเมษายนปีหน้า หากได้ผลดีก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะนอกจากเหมาะสำหรับคนกลัวเข็มแล้ว ยังเก็บรักษาง่าย อยู่ได้นาน 30 วันที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส 7 วันที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส และไม่ต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนเป็นพิเศษ.-สำนักข่าวไทย
ผลวิจัยอังกฤษระบุว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของไฟเซอร์ โดยเว้นระยะห่างให้นานขึ้นระหว่างเข็มที่ 1 และ 2 จะช่วยเพิ่มระดับโปรตีนที่สร้างจากระบบภูมิคุ้มกัน หรือแอนติบอดี ได้มากกว่าการเว้นระยะห่างที่สั้นกว่า แม้พบว่าระดับแอนติบอดีลดลงอย่างรวดเร็วหลังฉีดวัคซีนโดสแรกก็ตาม
ฮ่องกง 16 ก.ค. – ผลการวิจัยของฮ่องกงระบุว่า ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของไบโอเอนเทคที่พัฒนาร่วมกับไฟเซอร์มีปริมาณแอนติบอดีมากกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนของซิโนแวกถึง 10 เท่า ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮ่องกงที่ทำการศึกษาในกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1,442 คนและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์แลนเซ็ต ไมโครบเมื่อวานนี้ระบุว่า ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดของซิโนแวกมีปริมาณแอนติบอดี ซึ่งเป็นโปรตีนที่สร้างจากระบบภูมิต้านทานของคน ในระดับใกล้เคียงหรือน้อยกว่าในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อและรักษาหายจากโรคโควิดแล้ว ทั้งยังมีหลักฐานเพิ่มเติมที่ชี้ว่า วัคซีนชนิด mRNA ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ เช่น วัคซีนของไบโอเอนเทคและโมเดอร์นา มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาและเชื้อโควิดกลายพันธุ์ได้ดีกว่าวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีดั้งเดิม เช่น วัคซีนที่ใช้เชื้อตายของไวรัส อย่างไรก็ดี วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีดั้งเดิมใช้ต้นทุนในการผลิตน้อยและง่ายต่อการเก็บรักษาหรือขนส่ง ทำให้เหมาะแก่การนำไปใช้ควบคุมการระบาดในกลุ่มประเทศที่ไม่ร่ำรวย คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮ่องกงระบุในรายงานดังกล่าวว่า แอนติบอดีไม่ได้เป็นตัวชี้วัดเพียงอย่างเดียวถึงความสำเร็จของวัคซีนในการป้องกันโรคบางชนิด แต่ความแตกต่างของปริมาณแอนติบอดีที่พบในผลการวิจัยครั้งนี้สามารถตีความได้ถึงความแตกต่างอย่างมากในเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสองชนิด อย่างไรก็ดี เบน โคว์ลิง นักระบาดวิทยาและหนึ่งในคณะผู้เขียนผลการวิจัยดังกล่าวแนะนำว่า ผู้คนทั่วไปควรเข้ารับการฉีดวัคซีนของซิโนแวก หากไม่มีตัวเลือกอื่น เพราะการได้รับการป้องกันบ้างย่อมดีกว่าไม่ได้รับอะไรเลย. -สำนักข่าวไทย
เซลล์เทรียน บริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ เผยผลการทดลองเชิงบวกจากการใช้แอนติบอดีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดยระบุว่า วิธีดังกล่าวมีความปลอดภัยและช่วยลดเวลารักษาตัวได้เกือบ 5 วันในการทดลองทางคลินิกระยะสามทั่วโลก
โซล 18 ม.ค.- กระทรวงความปลอดภัยอาหารและยาของเกาหลีใต้เผยว่า คณะผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้อนุมัติอย่างมีเงื่อนไขในการใช้แอนติบอดีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่อยู่ระหว่างการทดลองระยะสาม เป็นแอนติบอดีที่บริษัทในประเทศผลิตเองขนานแรก เซลล์เทรียนอิงก์ บริษัทยายักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ได้ยื่นขอต่อกระทรวงให้อนุมัติเรื่องการวางจำหน่าย CT-P59 อย่างมีเงื่อนไข เป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดีรักษาโรคโควิด-19 ที่ผลิตเองในเกาหลีใต้ขนานแรก ฉีดเข้าหลอดเลือดดำโดยตรง ใช้เวลาฉีดนาน 90 นาที คณะผู้เชี่ยวชาญได้ประชุมพิจารณาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของแอนติบอดีนี้ และมีคำแนะนำให้กระทรวงอนุมัติอย่างมีเงื่อนไขว่า เซลล์เทรียนต้องนำเสนอผลการทดลองระยะสามในระดับโลก เซลล์เทรียนประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ผลการทดลองระยะสองในระดับโลก เปรียบเทียบระหว่างการสุ่มให้อาสาสมัครรับ CT-P59 กับยาหลอกพบว่า แอนติบอดีนี้ช่วยให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ลดระยะเวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และลดโอกาสที่จะอาการจะทรุดหนักลงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ บริษัทจะทดลองระยะสามใน 10 กว่าประเทศ เพื่อให้ได้ผลเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ละเอียดมากขึ้น อีกทั้งยังเตรียมจะยื่นขอให้สำนักงานอาหารและยาสหรัฐหรือเอฟดีเอ (FDA) อนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉิน และยื่นขอให้สำนักงานการแพทย์ยุโรปอนุมัติให้วางจำหน่ายอย่างมีเงื่อนไขด้วย.-สำนักข่าวไทย
นิวเดลี 28 ธ.ค.- อินเดียพบเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ในหลายรัฐ เป็นเชื้อที่สามารถหลบเลี่ยงสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างขึ้น เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เด็คแคนเฮรัลด์ในรัฐกรณาฏกะของอินเดียรายงานว่า คณะนักวิจัยอินเดียพบไวรัสโคโรนาที่มีการปรับปรุงสายพันธุ์จนแตกต่างไปจากสายพันธุ์เดิม 19 สายพันธุ์ หนึ่งในนั้นกำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในรัฐอานธรประเทศ ทางตะวันออกเฉียงใต้ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสิบของประเทศ เป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ชื่อ N440K พบเกือบร้อยละ 34 ของการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนา 272 ตัวอย่างในรัฐนี้ นอกจากนี้ยังพบในรัฐกรณาฏกะ ทางตะวันตกเฉียงใต้ รัฐมหาราษฏระ ทางตะวันตก และรัฐเตลังกานา ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ และพบในผู้ป่วยที่ติดเชื้อซ้ำอย่างน้อย 1 คน ส่วนการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนา 6,370 ตัวอย่างทั้งประเทศ พบว่าร้อยละ 2 เป็นเชื้อกลายพันธุ์ N440K ที่กำเนิดขึ้นในเอเชียช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม คณะทำงานเฉพาะกิจแห่งชาติเสนอเมื่อไม่กี่วันก่อนให้เพิ่มการถอดรหัสพันธุกรรมให้ได้ร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั้งประเทศ อินเดียมีผู้ป่วยสะสมกว่า 10 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 147,000 คน สำหรับไวรัสกลายพันธุ์ชื่อ N501Y ที่เป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกพบในการถอดรหัสพันธุกรรม 290 ตัวอย่าง ทั้งจากสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย […]
สตรีสิงคโปร์ที่ติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เมื่อเดือนมีนาคมขณะตั้งครรภ์ คลอดลูกชายที่มีสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีเชื้อไวรัสโคโรนา เป็นเบาะแสใหม่เรื่องเชื้อสามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้หรือไม่
รัฐบาลญี่ปุ่นแถลงวันนี้ว่า การทดสอบแอนติบอดีสำหรับไวรัสโคโรนารอบใหม่ต่อประชาชนจำนวน 15,000 คนจะเสร็จสิ้นในปีนี้ ขณะที่รัฐบาลกำลังพยายามหาแนวทางเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อในประเทศ
สำนักงานอาหารและยาหรือเอฟดีเอ (FDA) ของสหรัฐอนุมัติให้ใช้เป็นการฉุกเฉินแอนติบอดีรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของรีเจเนอรอน ฟาร์มาซูติคัลส์ ที่เคยใช้รักษาประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และเขาอ้างว่าช่วยให้หายจากโควิด-19