ซูเปอร์โพลเผยประชาชนพอใจ ก.แรงงาน-มหาดไทย-สาธารณสุข ดูแลแรงงานต่างด้าว
ซูเปอร์โพล เผยประชาชนพอใจ ก.แรงงาน-ก.มหาดไทย-ก.สาธารณสุข ดูแลแรงงานต่างด้าว ขณะที่ 93.9% กังวลรัฐทุ่มงบประมาณ หวั่นสิ้นเปลือง
ซูเปอร์โพล เผยประชาชนพอใจ ก.แรงงาน-ก.มหาดไทย-ก.สาธารณสุข ดูแลแรงงานต่างด้าว ขณะที่ 93.9% กังวลรัฐทุ่มงบประมาณ หวั่นสิ้นเปลือง
นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน สั่งการกองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน ลงพื้นที่ย่านประตูน้ำ ตรวจสอบการทำงานของคนต่างชาติทำงานผิดกฎหมาย ตามเบาะแสพลเมืองดี
ไล่ล่าข้ามจังหวัด! ตำรวจทางหลวงจับรถกระบะขนแรงงานต่างชาติอัดแน่นรถ นั่งเบียดกันเป็นปลากระป๋อง นับจำนวนได้ 12 คน
กัวลาลัมเปอร์ 13 มิ.ย. – บริษัทต่าง ๆ ในมาเลเซียตั้งแต่บริษัทเพาะปลูกปาล์มน้ำมันไปจนถึงผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์จำเป็นต้องปฏิเสธคำสั่งซื้อและการขายสินค้าคิดเป็นมูลค่าหลายพันล้าน เนื่องจากกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานกว่า 1 ล้านคน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศหลังการระบาดของโรคโควิด-19 บริษัทในแวดวงอุตสาหกรรมมาเลเซียระบุตรงกันว่า แม้มาเลเซียได้อนุญาตให้แรงงานต่างชาติกลับมาทำงานในประเทศได้อีกครั้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์หลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด แต่ก็ยังไม่มีแรงงานต่างชาติเดินทางกลับเข้ามาทำงานในมาเลเซียมากพอ เนื่องจากรัฐบาลอนุมัติล่าช้าและการเจรจาเรื่องการคุ้มครองแรงงานกับบังกลาเทศและอินโดนีเซียมีความยืดเยื้อ ขณะที่ประธานสหพันธ์ผู้ผลิตของมาเลเซีย เผยว่า แม้บริษัทต่าง ๆ มีแนวโน้มธุรกิจเติบโตในเชิงบวกและมียอดขายเพิ่มขึ้น แต่บางบริษัทก็กำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างชาติอย่างหนักจนทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามคำสั่งซื้อ ส่วนประธานเจ้าหน้าที่บริหารของยูไนเต็ด แพลนเทชั่น บริษัทเพาะปลูกปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย ระบุว่า ผู้เพาะปลูกปาล์มน้ำมันกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤต ทั้งยังเปรียบสถานการณ์ในตอนนี้ว่าเป็นเหมือนการลงแข่งขันฟุตบอล 11 คน แต่มีนักฟุตบอลอยู่เพียง 7 คนเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของมาเลเซีย กล่าวว่า ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในมาเลเซียจำเป็นต้องปฏิเสธคำสั่งซื้อจากลูกค้าจำนวนมาก เนื่องจากแรงงานท้องถิ่นไม่สนใจที่จะทำงานในอุตสาหกรรมนี้ และส่วนใหญ่เข้ามาทำงานได้ไม่ถึง 6 เดือนก็ลาออก ทั้งนี้ ข้อมูลของรัฐบาลมาเลเซียและกลุ่มอุตสาหกรรมระบุว่า มาเลเซียขาดแคลนแรงงานอย่างน้อย 1.2 ล้านคนในธุรกิจภาคการผลิต การเพาะปลูก และการก่อสร้าง โดยที่ปัญหานี้ย่ำแย่ลงทุกวัน เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นหลังการยกเลิกมาตรการควบคุมโรคโควิด. -สำนักข่าวไทย
โฆษกรัฐบาลเผยนายกฯ ติดตามสถานการณ์การนำแรงงานต่างชาติกลับเข้ามาทำงานในไทย พร้อมกำชับกระทรวงแรงงานให้เตรียมแนวทางการดูแลและดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรการด้านสาธารณสุข
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยเดือน ส.ค.64 มีการอนุญาตให้ต่างชาติลงทุนในไทย 24 ราย มีเงินลงทุนที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ 908 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 636 คน
ยอดพุ่งไม่หยุด นนทบุรีพบผู้ป่วยโควิดรายใหม่อีก 261 คน ติดจากตลาดเทศบาลนครนนทบุรี 180 ราย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติ
กระทรวงสาธารณสุข ห่วงปัญหาแรงงานต่างชาติลักลอบเข้าประเทศ อาจนำเชื้อโควิด-19 มาแพร่ในประเทศ กำชับให้จังหวัดที่มีพื้นที่ชายแดนเฝ้าระวัง ขอฝ่ายปกครองกำกับติดตาม และขอความร่วมมือประชาชนแจ้งเบาะแส
โซล 19 มี.ค. – รัฐบาลท้องถิ่นกรุงโซลของเกาหลีใต้จะยกเลิกคำสั่งที่กำหนดให้แรงงานต่างชาติทุกคนเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 หลังเรื่องนี้กลายเป็นประเด็นถกเถียงและร้องเรียนจากจากสถานทูตต่าง ๆ และหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนว่า เข้าข่ายเลือกปฏิบัติหรือไม่ การยกเลิกดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่สำนักงานใหญ่ของคณะทำงานควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 แห่งชาติของเกาหลีใต้เผยว่า ได้ร้องขอให้กรุงโซลยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและปรับปรุงนโยบายการตรวจหาเชื้อโควิดใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชน แถลงการณ์ของสำนักงานใหญ่ระบุว่า คำร้องขอให้ยกเลิกนโยบายดังกล่าวมีขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้ความพยายามควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 เป็นต้นเหตุของการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับพลเมืองเกาหลีใต้และชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของกรุงโซล ยังคงแนะนำให้ชาวต่างชาติและแรงงานเกาหลีใต้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัส ก่อนหน้านี้ รัฐบาลของกรุงโซลและจังหวัดคย็องกีอยู่ในกลุ่มรัฐบาลท้องถิ่นที่สั่งให้แรงงานต่างชาติทุกคนต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด ซึ่งทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในบรรดา สส. เกาหลีใต้ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย และนักการทูตต่างประเทศ.-สำนักข่าวไทย
โซล 8 มี.ค. – เกาหลีใต้ระบุว่า ผู้เสียชีวิตหลายรายเมื่อไม่นานมานี้ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ขณะที่ทางการสั่งให้แรงงานต่างชาติเกือบ 100,000 คนเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิดหลังพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในหอพักแรงงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกาหลีใต้ได้สืบสวนสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชน 8 คนที่มีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนของแอสตราเซนเนกา แต่ไม่พบความเชื่อมโยงว่า พวกเขาเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนดังกล่าว ขณะที่ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้หรือเคดีซีเอกล่าวว่า เคดีซีเอได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า ยากจะชี้ชัดว่ามีความเกี่ยวข้องกันระหว่างอาการไม่พึงประสงค์หลังเข้ารับการฉีดวัคซีน กับการเสียชีวิต ทั้งนี้ เกาหลีใต้ได้เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ในศูนย์ดูแลผู้สูงวัย รวมถึงกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงตั้งแต่ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา โดยฉีดวัคซีนโดสแรกให้แก่บุคคลกลุ่มดังกล่าวไปแล้ว 316,865 คนนับถึงเมื่อวานนี้ ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ยังพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนของโรคโควิด-19 ในสถานที่ผลิตสินค้าและโรงงานหลายแห่ง ทำให้เจ้าหน้าที่เริ่มลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่ทำงานราว 12,000 แห่งที่มีแรงงานต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่งสั่งให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ทั้งนี้ เกาหลีใต้พบผู้ป่วยติดเชื้อที่เป็นแรงงานต่างชาติอย่างน้อย 151 คนในจังหวัดคย็องกี ซึ่งล้อมรอบกรุงโซลและเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา และยังไม่ทราบที่มาของการระบาด ส่วนเมืองนัมยังจูที่ตั้งอยู่ในจังหวัดดังกล่าวพบผู้ป่วยติดเชื้อที่เป็นแรงงานต่างชาติอย่างน้อย 124 คนหลังเกิดการระบาดที่โรงงานผลิตพลาสติก ขณะนี้ เกาหลีใต้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อราว 92,800 คน และผู้เสียชีวิตกว่า 1,640 คน. -สำนักข่าวไทย
กัวลาลัมเปอร์ 28 ธ.ค. – มาเลเซียแนะให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการเข้าสู่มาตรการกักตัวที่บ้านไปก่อน เนื่องจากพบยอดผู้ป่วยติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นในกลุ่มแรงงานต่างชาติ หนังสือพิมพ์มาเลย์เมลของมาเลเซียรายงานอ้างคำพูดของ นพ. นูร์ ฮิชาม อับดุลเลาะห์ อธิบดีกรมอนามัยของมาเลเซียว่า ผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการอาจไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที เนื่องจากระบบสาธารณสุขประสบปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล มาเลเซียมีผู้ป่วยติดเชื้อรายวันสูงกว่า 1,000 คนต่อวันเพราะมีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนาในกลุ่มแรงงานต่างชาติเพิ่มมากขึ้น และคาดว่าจะมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้นเช่นกัน อธิบดีกรมอนามัยกล่าวต่อว่า แรงงานต่างชาติไม่มีที่อยู่อาศัยให้กักตัว ทางการจึงจำเป็นต้องเพิ่มเตียงผู้ป่วยสูงสุดถึง 10,000 เตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อกลุ่มนี้ ขณะเดียวกันทางการมาเลเซียได้เร่งตรวจสอบที่พักอาศัยของแรงงานต่างชาติในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และสั่งปรับเงินบริษัทหลายแห่ง รวมถึงบริษัทผลิตถุงมือยางที่ให้แรงงานต่างชาติอาศัยอยู่ในสถานที่แออัดและไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศ หนังสือพิมพ์มาเลย์เมลยังรายงานอีกด้วยว่า เมื่อวานนี้มาเลเซียพบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ 1,196 คน ลดลงจากสถิติผู้ป่วยรายวันสูงสุดในวันเสาร์ที่มี 2,335 คน ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 105,000 คน และผู้เสียชีวิตทั้งหมด 452 คน. -สำนักข่าวไทย
การพบแรงงานต่างชาติติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนที่จังหวัดสมุทรสาคร ทำให้รัฐบาลต้องแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน หนึ่งในรูปแบบที่ถูกทำมาปรับใช้คือสิงคโปร์โมเดล เป็นการคุมพื้นที่ให้อยู่ในวงจำกัด และให้เจ้าหน้าที่คอยส่งอาหารให้กับแรงงาน