ยูเอ็นคาดลานีญาจะเกิดตั้งแต่ ก.ค.หรือ ส.ค.

เจนีวา 3 มิ.ย.- องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) คาดว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดไฟป่าและพายุหมุนเขตร้อน จะเปลี่ยนไปเป็นปรากฏการณ์ลานีญาที่ทำให้เกิดน้ำท่วมและภัยแล้งในครึ่งหลังของปีนี้ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแถลงว่า มีโอกาสร้อยละ 60 ที่จะเกิดลานีญาระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน และมีโอกาสร้อยละ 70 ที่จะเกิดลานีญาระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน อย่างไรก็ดี การที่เอลนีโญสิ้นสุดไม่ได้หมายความว่า จะเป็นการหยุดพักการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว เนื่องจากโลกยังคงมีอุณหภูมิสูงขึ้นต่อไป จากก๊าซเรือนกระจกที่ห่อหุ้มโลกอยู่ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงมากเป็นพิเศษจะยังคงมีบทบาทสำคัญต่อไปในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ข้อมูลขององค์การอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ช่วง 9 ปีที่ผ่านมาโลกมีอุณหภูมิสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าลานีญาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 ถึงต้นปี 2566 ได้ทำให้อากาศเย็นก็ตาม.-814.-สำนักข่าวไทย

เมษาปีนี้เมียนมาร้อนทุบสถิติ

ย่างกุ้ง 4 พ.ค.- ข้อมูลของสำนักอุตุนิยมและอุทกวิทยาของเมียนมาระบุว่า อุณหภูมิเดือนเมษายนที่ผ่านมาสูงทำลายสถิติในหลายพื้นที่ของประเทศ สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (CCTV) ของทางการจีนรายงานอ้างข้อมูลดังกล่าวว่า เดือนเมษายนปีนี้ พื้นที่มากกว่า 10 แห่งในเมียนมามีอุณหภูมิรายวันสูงกว่าสถิติที่สถานีอุตุนิยมวิทยาท้องถิ่นเคยบันทึกไว้ โดยเฉพาะภาคมะกเวและภาคมัณฑะเลย์ทางตอนกลางของเมียนมาที่มักมีพื้นที่ติดอันดับต้น ๆ ของสถานที่ที่ร้อนที่สุดในโลก คลื่นความร้อนที่ทุบสถิติอยู่ในขณะนี้ก่อปัญหาให้แก่การดำเนินชีวิตประจำวันของคนในเมียนมา มีรายงานคนเป็นลม หรือเสียชีวิตจากโรคลมแดดหรือฮีทสโตรกหลายรายทั่วประเทศ ผู้อาศัยในนครย่างกุ้งเผยว่า อากาศร้อนทำให้หงุดหงิดง่าย และทำให้เป็นห่วงสุขภาพของคนชราและเด็กในครอบครัว อากาศปีนี้ร้อนกว่าปกติ กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ยิ่งเมียนมามีปัญหาไฟฟ้าดับอยู่เสมอ ยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลง จึงต้องหาแบตเตอรี่มาใช้เปิดพัดลม และบรรเทาความร้อนภายในบ้านด้วยการนำผ้าห่มชุบน้ำไปคลุมหลังคาและพื้นบ้าน สำนักอุตุนิยมวิทยาของเมียนมาพยากรณ์ว่า อุณหภูมิในเมียนมาจะสูงไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม เพราะปรากฏการณ์เอลนีโญ ขณะเดียวกันบางพื้นที่ยังอาจจะมีฝนตกหนักผิดปกติ มีพายุถี่ขึ้น เกิดภัยแล้ง และสภาพอากาศรุนแรงอื่น ๆ.-814.-สำนักข่าวไทย

เอกวาดอร์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพราะวิกฤตพลังงาน

อกวาดอร์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันศุกร์ โดยเป็นการประกาศเพราะวิกฤตพลังงานที่ทำให้ประเทศในอเมริกาใต้แห่งนี้ต้องใช้มาตรการปันส่วนพลังงาน

เอลนีโญส่งผลหลายพื้นที่แล้งต่อเนื่อง

สภาวะเอลนีโญที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้วยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อย กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าตั้งแต่เดือน ม.ค. 2567 ปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติ เป็นผลให้เกิดภัยแล้งหลายพื้นที่

ส่งออกข้าวไทยปี 66 แรงยอดรวมสูงถึง 8.76 ล้านตัน

นนทบุรี 1 ก.พ.-กรมการค้าต่างประเทศสรุปตัวเลขส่งออกข้าวไทยปี 2566 มีปริมาณ 8.76 ล้านตัน สูงกว่าที่คาดไว้แถมเติบโตทั้งปริมาณและมูลค่า พร้อมประเมินปี 67 ยอดส่งออกข้าวน่าจะไม่ต่ำกว่า 7.5 ล้านตันภายใต้ผลผลิตข้าวโลกลดจากปัญหาผลกระทบเอลนีโญ แต่มั่นใจข้าวไทยยังเป็นที่ต้องการชาวโลก เตรียมแผนส่งเสริมตลาดข้าวไทยในต่างประเทศทั้งตลาดหลักและตลาดใหม่

ออสเตรเลียเตือนภัยคลื่นความร้อนระดับสูงสุดเป็นวันที่ 2

ซิดนีย์ 21 ม.ค.- หลายพื้นที่ในออสเตรเลียร้อนระอุในวันนี้ เพิ่มความเสี่ยงเรื่องไฟป่า ขณะที่ทางการคงระดับเตือนภัยคลื่นความร้อนในระดับสูงสุดเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียแจ้งเตือนภัยคลื่นความร้อนระดับสุดขีด (extreme) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นวันที่ 2  ติดต่อกันสำหรับหลายพื้นที่ของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและได้ขยายครอบคลุมถึงรัฐเซาท์ออสเตรเลีย และแจ้งเตือนภัยคลื่นความร้อนระดับรุนแรง (severe) กับรัฐควีนส์แลนด์ รัฐนิวเซาท์เวลส์และดินแดนนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี สำนักอุตุนิยมวิทยาเตือนว่า ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ซึ่งเป็นรัฐใหญ่ที่สุดของประเทศ พื้นที่ห่างไกลอย่างพิลบาราและแกสคอยน์อาจมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียสในวันนี้ ท่าอากาศยานออนสโลว์ของพิลบาราเคยมีอุณหภูมิทำสถิติสูงสุดของประเทศที่ 50.7 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 สภาพอากาศร้อนและแล้งในขณะนี้เพิ่มความเสี่ยงเกิดไฟป่าในบางพื้นที่ของออสเตรเลียที่กำลังเผชิญกับรูปแบบสภาพอากาศแบบเอลนีโญ คือมักมาพร้อมกับปรากฏการณ์ร้ายแรงอย่างไฟป่า ไซโคลน และภัยแล้ง ฤดูไฟป่า 2 ครั้งหลังสุดในออสเตรเลียมีความรุนแรงไม่มากเมื่อเทียบกับฤดูไฟป่าปี 2562-2563 ที่เรียกว่าฤดูร้อนทมิฬ (Black Summer) ครั้งนั้นมีพื้นที่ถูกไฟป่าเผาเทียบเท่ากับพื้นที่ของประเทศทูร์เคียหรือตุรกี มีคนเสียชีวิต 33 คน สัตว์ตาย 3,000 ล้านตัว และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตายหลายล้านล้านตัว.-814.-สำนักข่าวไทย

น้ำท่วมทำคนในโซมาเลียพลัดถิ่นกว่าครึ่งล้าน

ประธานาธิบดีโซมาเลียเผยว่า ประชาชนมากกว่า 500,000 คน ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นในประเทศ หลังจากประสบอุทกภัยเพราะฝนตกหนัก

รัฐบาล มุ่งเพิ่มศักยภาพพื้นที่หน่วงน้ำ “บางระกำโมเดล” ลดท่วม

“รัดเกล้า” รองโฆษกรัฐบาลเผย รัฐบาลโดยกรมชลประทาน ก.เกษตรฯ มุ่งเพิ่มศักยภาพพื้นที่หน่วงน้ำ “บางระกำโมเดล” ลดท่วม เก็บใช้หน้าแล้ง ลดวิกฤตเอลนีโญ ในลุ่มเจ้าพระยา พร้อมชงแผนงานพัฒนาลุ่มน้ำยม-น่านทั้งระบบ เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำในพื้นที่

โลกร้อนขึ้นเกือบแตะขีดจำกัดแล้ว

ปารีส 5 ต.ค.- อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 สูงกว่าช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม 1.4 องศาเซลเซียส ใกล้แตะขีดจำกัดที่นานาชาติกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โคเปอร์นิคัส ไคลเมต เชนจ์ เซอร์วิซ (C3S) ซี่งเป็นองค์กรติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปเผยแพร่รายงานวันนี้ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนกันยายน 2566 สูงขึ้น 1.4 องศาเซลเซียสจากช่วงปี 2392-2443 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเกือบถึงระดับที่กำหนดไว้ใน “ความตกลงปารีส 2561 ” ไม่ให้สูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่จำเป็นต่อการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลหายนะที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้น้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้มีอุณหภูมิสูงขึ้นและทำให้อากาศร้อนขึ้นมีแนวโน้มจะทำให้ปี 2566 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมาในอีก 3 เดือนข้างหน้า นักวิทยาศาสตร์คาดว่า โลกจะรู้สึกได้ถึงผลร้ายแรงที่สุดของเอลนีโญที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ในช่วงสิ้นปี 2566 ไปจนถึงปี 2567 นักวิทยาศาสต์ของยุโรปและญี่ปุ่นเพิ่งรายงานว่า เดือนกันยายนที่ผ่านมาเป็นเดือนกันยายนที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดในประวัติศาสตร์  หลังจากเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดมากกว่าทุกเดือนเท่าที่ได้บันทึกมา ส่งผลให้สภาพอากาศเอื้อต่อการเกิดภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นความร้อน ไฟป่า และน้ำท่วมรุนแรง.-สำนักข่าวไทย

ตั้งอนุกรรมการรับมือเอลนีโญ 4 ชุดเพื่อทำแผน เตือนภัย ตรวจเยี่ยม

นนทบุรี 29 ก.ย.-ประชุมคณะกรรมการรับมือเอลนีโญ แต่งตั้งอนุกรรมการ 4 ชุด ติดตามประเมินสถานการณ์ ดูผลกระทบและทำมาตรการเผชิญเหตุ พีอาร์และเตือนภัย และลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมยืนยัน มั่นใจเอาอยู่ หลังแผนชัดตั้งแต่ยังไม่เกิด จับตาผลกระทบมีเพียบ ทั้งต่อนิเวศน์ป่าไม้ น้ำ อากาศ ประมง การเกษตร และน้ำกินน้ำใช้

ออสเตรเลียประกาศว่าเอลนีโญก่อตัวแล้ว

สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียประกาศว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญได้ก่อตัวขึ้นแล้ว นำมาซึ่งสภาพอากาศร้อนและแล้งที่อาจทำให้ไฟป่าและภัยแล้งรุนแรงมากยิ่งขึ้น

1 2 3 4
...