fbpx

ตลาดจีนยังต้องการ”ทุเรียนไทย” แม้ทุเรียนที่ปลูกในจีนเตรียมวางตลาดปลายเดือนนี้

ซานย่า, 13 มิ.ย. (ซินหัว) — กระแสข่าวทุเรียนที่ปลูกในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ทางตอนใต้ของจีน เตรียมออกวางตลาดในประเทศช่วงปลายเดือนมิถุนายน ได้ก่อให้เกิดความสนใจในหมู่ผู้บริโภค บรรดาคนวงในมองว่าการผลิตทุเรียนของจีนไม่มีแนวโน้มเปลี่ยนทิศทางที่พึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก และทุเรียนไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดจีน เนื่องจากการผลิตทุเรียนในจีนยังอยู่ระยะแรกเริ่ม ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกมากมาย ผู้สื่อข่าวซินหัวลงพื้นที่แปลงปลูกทุเรียนของบริษัท ไห่หนาน โยวฉี อะกรีคัลเจอร์ จำกัด ในเมืองซานย่า ซึ่งถือเป็นฐานปลูกทุเรียนขนาดใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบันพื้นที่ราว 5,000 ไร่ พบว่าทุเรียนที่ฐานปลูกแห่งนี้เริ่มสุกและคาดว่าจะทยอยถูกเก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนมิถุนายน พร้อมส่งขายในปีนี้เพียง 416 ไร่ หรือคิดเป็นปริมาณ 50 ตัน แม้ไห่หนานจะเป็นแหล่งผลิตทุเรียนแห่งหลักของจีน แต่ยังคงมีพื้นที่ที่เอื้อต่อการปลูกทุเรียนอยู่อย่างจำกัดมาก โดยต่อให้มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น 10 เท่า ก็ยังถือเป็นแหล่งผลิต “ขนาดเล็ก” อยู่ดี “การปลูกทุเรียนภายในประเทศอาจได้ลดต้นทุนในการขนส่ง แต่ผลผลิตยังเป็นส่วนน้อยมากสำหรับส่วนแบ่งของตลาด” อีกทั้งผู้ประกอบการไม่ได้คิดเร่งเพิ่มการลงทุนและพื้นที่ปลูกอย่างสุ่มสี่สุ่มห้าด้วย ผู้บริโภคชาวจีนนั้นชื่นชอบ “ราชาแห่งผลไม้” อย่างทุเรียนกันมากจนทำให้จีนกลายเป็นตลาดผู้บริโภคทุเรียนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยทุเรียนเกือบทั้งหมดในจีนมาจากการนำเข้า ซึ่งข้อมูลสถิติพบว่าจีนนำเข้าทุเรียนในปี 2022 สูงถึง 8.25 แสนตัน และส่วนใหญ่มาจากไทย เฉินเหล่ย เลขานุการสมาคมการตลาดผลไม้แห่งประเทศจีน กล่าวว่าการผลิตทุเรียนในประเทศยังอยู่ในขั้นทดลองปลูกขนาดเล็ก ยังไม่มีการปลูกเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ […]

เกษตรกรถือฤกษ์ดีวันพืชมงคล ลงไร่ไถหว่าน

เกษตรกรถือฤกษ์ดีวันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ลงไร่ไถหว่าน ทำนาปี ปลูกมันสำปะหลัง หวังฝนฟ้าดี ผลผลิตงอกงามเติบโต

ยูเครนอาจมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มถ้าเคลียร์ทุ่นระเบิดได้

เคียฟ 11 เม.ย.- ยูเครนเผยว่า พื้นที่เพาะปลูกประจำฤดูใบไม้ผลิปี 2565 อาจกลับไปแตะระดับร้อยละ 80 ของช่วงก่อนเกิดสงครามได้ หากยูเครนสามารถขจัดทุ่นระเบิดในพื้นที่ทางเหนือของประเทศได้ สำนักข่าวอูครินฟอร์มของทางการยูเครนรายงานอ้างนายตาราส วิซอตสกี รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรยูเครนว่า หากแคว้นเชอร์นิฮิวและแคว้นซูมีที่มีพื้นที่เพาะปลูกกว้างขวางสามารถกำจัดทุ่นระเบิดได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ พื้นที่เพาะปลูกอาจเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 80 ของช่วงก่อนเกิดสงครามได้ สองแคว้นนี้ถูกกองกำลังรัสเซียยึดครองไว้บางส่วนและฝังทุ่นระเบิดไว้จำนวนมากก่อนถอนกำลังออกไป อย่างไรก็ดี ยูเครนยังคงสามารถผลิตอาหารเลี้ยงตนเอง แม้พื้นที่เพาะปลูกในฤดูใบไม้ผลิจะลดลงเหลือร้อยละ 70 เพราะผลผลิตร้อยละ 30-40 จะใช้สำหรับการบริโภคในประเทศ ส่วนที่เหลือสำหรับส่งออก เจ้าหน้าที่เกษตรของยูเครนประเมินเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่า การรุกรานของรัสเซียอาจทำให้พื้นที่เพาะปลูกของยูเครนลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง ต่อมาได้ปรับแก้ไขเป็นร้อยละ 70 หลังจากรัสเซียไม่สามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้ ยูเครนเป็นผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยส่งออกผ่านท่าเรือริมทะเลดำเป็นหลัก แต่ขณะนี้ต้องเปลี่ยนไปขนส่งทางรถไฟทางฝั่งตะวันตกแทน เพราะสงครามส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามริมชายฝั่ง ราคาข้าวโพดส่งออกของยูเครนลดลง เพราะมีสินค้าในโกดังทั้งหมด 13 ล้านตันนับจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม แต่ส่งออกได้เพียง 300,000 ตันเพราะถูกจำกัดด้านการขนส่ง จนสินค้ามากเกินความต้องการ.-สำนักข่าวไทย

เกษตรฯ พร้อมเดินหน้าแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง

รมว.เฉลิมชัยสั่งทุกหน่วยงานเดินหน้าแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 63/64 ทั้งประเทศ 5.12 ล้านไร่ ด้าน รมช.ปรภัตร เตรียมเยี่ยมเยียนพื้นที่ประสบภัยเร่งผลักดัน 7 โครงการเสริมสร้างรายได้เกษตรกร

อินโดนีเซียจะพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่

ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย กล่าววันนี้ว่า อินโดนีเซียกำลังพัฒนาพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกขนาดใหญ่ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ประเทศสิงคโปร์ 10 เท่า

ครม. ขยายโควตานำเข้ามันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป เพิ่ม 6,400 ตัน

ครม. อนุมัติขยายโควตานำเข้ามันฝรั่งสดเพื่อแปรรูป แก้ปัญหาขาดวัตถุดิบในประเทศ ยันไม่กระทบเกษตรกร

ฝนชุกกว่าปกติในปีนี้เอื้อเกษตรกรอินเดียเพาะปลูกได้นานขึ้น

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดียแจ้งว่า ฝนปีนี้ที่ตกชุกกว่าอัตราเฉลี่ยราวร้อยละ 10 และตกหนักที่สุดในรอบ 25 ปี ช่วยให้เกษตรกรเพาะปลูกได้นานขึ้นไปจนถึงฤดูหนาว

กระทรวงพลังงานกำชับ ปตท. – บางจาก เร่งโครงการปุ๋ยสั่งตัด ช่วยพื้นที่น้ำท่วม

รมว.พลังงาน สั่ง ปตท. – บางจาก เร่งโครงการ “ปุ๋ยสั่งตัด” เน้นพื้นที่น้ำท่วม หวังช่วยลดต้นทุนเริ่มฤดูการผลิตใหม่

ฝรั่งเศสสั่งแหล่งธัญพืชใหญ่หยุดปลูกกลัวไฟไหม้เพราะคลื่นความร้อน

จังหวัดวาซ แหล่งเพาะปลูกธัญพืชใหญ่อันดับสองของฝรั่งเศสสั่งเกษตรกรงดเพาะปลูกอย่างไม่มีกำหนด เพราะเกรงจะเกิดไฟไหม้ทุ่งเนื่องจากภาวะคลื่นความร้อนรุนแรงในขณะนี้

เตรียมส่งน้ำให้ชาวนาปลูกข้าว หลังชะลอมาจากภาวะฝนทิ้งช่วง

ชาวนาจังหวัดแพร่ เฮ ชลประทานเร่งสูบน้ำให้เริ่มเพาะปลูกข้าวนาปีได้ หลังขอความร่วมมือชะลอการปลูกเนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงทำให้น้ำแม่น้ำยมมีน้อย

1 2
...