การประชุมส่งเสริมการลงทุนระดับโลกของเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ปี 2024
การประชุมส่งเสริมการลงทุนระดับโลกของเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าประจำปี 2024 จัดขึ้นที่กว่างโจว
การประชุมส่งเสริมการลงทุนระดับโลกของเขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าประจำปี 2024 จัดขึ้นที่กว่างโจว
มาเลเซียกล่าววันนี้ว่า จะพยายามหาทางสรุปแผนการขั้นสุดท้ายและลงนามในข้อตกลงอย่างเต็มรูปแบบกับสิงคโปร์ในการฬฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) หรือ เอสอีซี ระหว่างทั้งสองประเทศภายในเดือนกันยายนนี้
ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดยรัฐบาลเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2567 จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนมาเก๊า สูงถึง 8.876 ล้านคน เพิ่มขึ้น 79.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี
ย่างกุ้ง 8 เม.ย.- เว็บไซต์ข่าวของกลุ่มชาวเมียนมาลี้ภัยในไทยรายงานว่า รัฐบาลทหารเมียนมาและบริษัทของทางการจีนเร่งเดินหน้าการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและโครงการท่าเรือน้ำลึกในรัฐยะไข่ แม้ว่าสถานการณ์การสู้รบในรัฐนี้ทวีความรุนแรง เว็บไซต์เดอะอิรวดี (The Irrawaddy) รายงานว่า นายออง เนียง อู ประธานคณะทำงานกลางเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียนมาเรียกร้องเมื่อวันที่ 2 เมษายนให้เร่งเตรียมการให้แล้วเสร็จสำหรับข้อตกลงสัมปทานและภาคผนวกเรื่องการสร้างท่าเรือน้ำลึกในเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ (Kyaukphyu) และเมื่อวันที่ 4 เมษายนคณะตัวแทนของซิติก (CITIC) บริษัทลงทุนของทางการจีนได้เข้าพบนายเมียว ถั่นต์ รัฐมนตรีการก่อสร้างของเมียนมาที่กรุงเนปิดอว์ เพื่อหารือเรื่องการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในโครงการท่าเรือน้ำลึกที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวก์ รัฐยะไข่ ทางตะวันตกสุดของเมียนมา โครงการนี้จะเปิดทางให้มณฑลยูนนานของจีนที่ไม่มีทางออกทางทะเลมีช่องทางเข้าออกมหาสมุทรอินเดีย และเป็นส่วนหนึ่งของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางหรือบีอาร์ไอ (BRI) ของจีน กองทัพอาระกันหรือเอเอ (AA) สู้รบกับกองทัพเมียนมามาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 หวังยึดครองรัฐยะไข่ให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยในขณะนี้ยึดได้แล้วหลายเมือง และเมื่อต้นเดือนมีนาคม เอเอประกาศขอร่วมมือกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังดำเนินการอยู่ในรัฐยะไข่ โดยรับปากว่าเรื่องการรับประกันความปลอดภัย และเมื่อวันที่ 1 เมษายน นายเติ้ง สีจุน ทูตพิเศษเรื่องเมียนมาของจีนได้เข้าพบ พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่ายของเมียนมาหารือเรื่องความเป็นไปได้ที่จะมีการหยุดยิงในรัฐยะไข่ เดอะอิรวดีชี้ว่า การที่จีนเริ่มกังวลต่อสถานการณ์ในรัฐยะไข่มากขึ้นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะนอกจากเขตเศรษฐกิจและท่าเรือน้ำลึกแล้ว จีนยังมีท่อส่งน้ำมันและก๊าซที่วางจากเมืองรุ่ยลี่ของจีน ตัดผ่านรัฐฉาน ภาคมัณฑะเลย์ […]
กัวลาลัมเปอร์ 11 ม.ค.- มาเลเซียและสิงคโปร์ตกลงกันในวันนี้เรื่องจะร่วมกันพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในรัฐยะโฮร์ ทางตอนใต้ของมาเลเซีย หวังดึงดูดการลงทุน ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายคนและสิ่งของ นายราฟีซี รามิล รัฐมนตรีเศรษฐกิจของมาเลเซียและนายกัน กิมยง รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์แถลงหลังจากลงนามข้อตกลงในพิธีที่รัฐยะโฮร์ โดยมีผู้นำของทั้ง 2 ประเทศร่วมเป็นสักขีพยานว่า ทั้ง 2 ประเทศจะทำให้ข้อตกลงมีผลอย่างเต็มที่ ด้วยการร่วมมือกันด้านพลังงานหมุนเวียนและอำนวยความสะดวกให้แก่กระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่การอนุมัติทางธุรกิจไปจนถึงการผ่านด่านศุลกากร แถลงการณ์ระบุด้วยว่า สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 2 ของรัฐยะโฮร์ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 และครองสัดส่วนถึงร้อยละ 70 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติทั้งหมดในภาคการผลิตของรัฐนี้ นายราฟีซีกล่าวว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษจะสร้างโอกาสอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จะส่งเสริมการเคลื่อนย้ายคนและสินค้าข้ามพรมแดนอันจะเสริมให้ธุรกิจแข็งแกร่ง และจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันนายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิมของมาเลเซียและนายกรัฐมนตรีลี เซียนลุงของสิงคโปร์ได้ร่วมในพิธีเสร็จสิ้นการก่อสร้างรถไฟรางเบาเชื่อมเมืองยะโฮร์ บารู ที่เป็นเมืองเอกของรัฐยะโฮร์กับสิงคโปร์ ระยะทาง 4 กิโลเมตร โครงการนี้มีมูลค่า 10,000 ล้านริงกิต (ราว 75,500 ล้านบาท) จะเสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2569 หลังจากเผชิญกับการล่าช้าหลายครั้ง จะช่วยลดการจราจรแออัดบนทางหลวงที่แต่ละวันมีชาวมาเลเซียจำนวนมากเดินทางข้ามไปทำงานและศึกษาในสิงคโปร์.-814.-สำนักข่าวไทย
“พิมพ์ภัทรา” ปลื้มนายกฯ ตรวจเยี่ยมนิคมฯ สระแก้ว ชี้พื้นที่ศักยภาพสูง เหมาะพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ขณะที่ “วีริศ” วอนนายกฯ ช่วยเจรจากรมธนารักษ์ลดอัตราค่าเช่า หวังจูงใจนักลงทุนเพิ่มขึ้น
ตอนนี้เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำของกลุ่มทุนจีน ใน สปปลาว ตรงข้ามชายแดนเชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งนำร่องด้วยอาณาจักรคิงส์โรมัน กาสิโนสุดหรูมากว่า 10 ปี
สามเหลี่ยมทองคำ ถูกขนานนามว่าเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดของโลกมาหลายสิบปี แต่หลังรัฐบาลลาวให้สัมปทานพื้นที่กับกลุ่มบริษัทดอกงิ้วคำ ของเจ้าเหว่ย กลุ่มทุนชาวจีน เป็นเวลา 99 ปี ผ่านไป 16 ปี พื้นที่สามหลี่ยมทองคำ ถูกพัฒนาป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
พล.อ.ประวิตร ทำทีมใหญ่ล่องภาคใต้ เปิดเวทีปราศรัยใหญ่ จ.สงขลา ชูนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ ขอเสียงกวาดทั้ง 9 เขต ลั่นพร้อมรับใช้ประชาชน
คาบูล 20 ก.พ.- รัฐบาลตอลิบานของอัฟกานิสถานจะเดินหน้าแผนการปรับเปลี่ยนฐานทัพเดิมของต่างชาติเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ นายมุลลาห์ อับดุล กานี บาราดาร์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรีด้านกิจการเศรษฐกิจของอัฟกานิสถาน แถลงเมื่อวันอาทิตย์ว่า คณะรัฐมนตรีมีมติหลังจากที่มีการหารืออย่างถี่ถ้วนแล้วว่า กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ควรเร่งเข้าไปดูแลฐานทัพที่เคยเป็นของกองกำลังต่างชาติ เพื่อปรับเปลี่ยนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เริ่มด้วยโครงการนำร่องที่ฐานทัพในกรุงคาบูลและจังหวัดแบลค์ที่อยู่ทางเหนือ หน่วยงานบรรเทาทุกข์เตือนว่า อัฟกานิสถานเกิดวิฤตด้านมนุษยธรรมร้ายแรงตั้งแต่ตอลิบานเข้ายึดกรุงคาบูลและกลับมาปกครองประเทศอีกครั้งในปี 2564 เพราะกองกำลังต่างชาติพากันถอนตัวออกไป รวมทั้งสหรัฐที่ส่งทหารเข้ามาประจำการตั้งแต่โค่นล้มตอลิบานในปี 2544 เงินสนับสนุนการพัฒนาอัฟกานิสถานถูกตัดลด ทรัพย์สินของธนาคารกลางถูกอายัด และภาคการธนาคารถูกมาตรการคว่ำบาตร หน่วยงานบรรเทาทุกข์หลายแห่งระงับการดำเนินงานบางส่วนในอัฟกานิสถาน เนื่องจากตอลิบานห้ามสตรีทำงานในองค์กรเหล่านี้ตั้งแต่ปี 2565 ส่วนเรื่องที่ตอลิบานยืนยันว่า จะส่งเสริมเศรษฐกิจที่สามารถพึ่งพาตัวเองผ่านการค้าและการลงทุนนั้น นักลงทุนต่างชาติกังวลว่า อัฟกานิสถานยังคงมีเหตุโจมตีในประเทศหลายครั้ง อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกเผยว่า ปีที่แล้วยอดการส่งออกของอัฟกานิสถานเพิ่มขึ้น และตอลิบานสามารถรักษารายได้ของประเทศได้ค่อนข้างมีเสถียรภาพ.-สำนักข่าวไทย
นายกรัฐมนตรี สั่งเดินหน้า เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษกับจังหวัดใกล้เคียง เพิ่มแรงดึงดูดการลงทุน
นายกฯ ประชุม คกก.นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ขอทุกภาคส่วนขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนา ดึงดูดนักลงทุน เพิ่มการจ้างงานให้ประชาชน