Kemi Badenoch becomes new leader of UK Conservatives

อังกฤษได้ผู้นำฝ่ายค้านคนใหม่เป็นผู้หญิงผิวดำคนแรก

เคมี เบดะนอค นักการเมืองหญิง วัย 44 ปี เป็นผู้หญิงผิวดำคนแรกที่ได้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นพรรคการเมืองใหญ่ของอังกฤษและเป็นพรรคฝ่ายค้านในปัจจุบัน

Harris in combative Fox interview with Bret Baier

“แฮร์ริส” ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์สายอนุรักษนิยม

นิวยอร์ก 17 ต.ค.- นางคอมมาลา แฮร์ริส ตัวแทนพรรคเดโมแครตชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์นิวส์ ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์สายอนุรักษนิยมที่ผู้ดำเนินรายการมักล้อเลียนนโยบายของเธอ และสนับสนุนนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ คู่แข่งจากพรรครีพับลิกัน รองประธานาธิบดีแฮร์ริสให้สัมภาษณ์เบร็ต เบย์เออร์ เป็นเวลาเกือบ 30 นาที ทั้งคู่มีการพูดแทรกกันหลายครั้ง และแฮร์ริสแสดงท่าทีไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัดในระหว่างที่ถูกถามแบบซักไซ้ไล่เรียง เบย์เออร์ขอให้เธอชี้แจงเรื่องที่รัฐบาลโจ ไบเดนแก้ไขนโยบายจำกัดพรมแดนที่ใช้ในสมัยรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ และขอให้ตอบมารดาที่ให้การต่อรัฐสภาเรื่องบุตรสาวถูกผู้ลอบเข้าเมืองฆาตกรรม แฮร์ริสกล่าวว่า เสียใจกับมารดาผู้นั้น แต่ขอให้มองที่ข้อเท็จจริงว่าทรัมป์บอกให้สมาชิกสภาพรรครีพับลิกันคว่ำร่างกฎหมายคนเข้าเมืองเมื่อต้นปีนี้ เพราะต้องการให้ปัญหาดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ มากกว่าแก้ปัญหา ผู้ดำเนินรายการถามเรื่องที่เธอเคยพูดว่า จะไม่เปลี่ยนแปลงการทำงานของรัฐบาลไบเดน แฮร์ริสกล่าวว่า ขอชี้แจงให้ชัดว่า การเป็นประธานาธิบดีของเธอจะไม่ใช่การสานต่อความเป็นประธานาธิบดีของไบเดน เธอจะนำแนวคิดใหม่ ๆ ของพรรครีพับลิกันและผู้นำภาคธุรกิจมาแก้ไขปัญหาที่พักอาศัยขาดแคลนและขยายธุรกิจขนาดเล็ก และเมื่อผู้ดำเนินรายการขอให้ชี้แจงเรื่องที่เคยปกป้องไบเดนที่แสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมทางด้านความคิดในการโต้วาทีแสดงวิสัยทัศน์หรือดีเบตกับทรัมป์เมื่อเดือนมิถุนายน แฮร์ริสย้ำว่า ไบเดนมีวิจารณญานและมีประสบการณ์ในการเป็นประธานาธิบดี แต่ไบเดนไม่ได้ลงเลือกตั้งในครั้งนี้ การไปให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์สายอนุรักษนิยมดังกล่าว เป็นความพยายามล่าสุดของแฮร์ริสที่หวังจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สนับสุนนพรรครีพับลิกัน ในขณะที่ผลสำรวจของรอยเตอร์เมื่อไม่นานมานี้พบว่า เธอมีคะแนนนิยมนำทรัมป์เพียงร้อยละ 46 ต่อ 43 เท่านั้น.-814.-สำนักข่าวไทย  

สหรัฐให้ร้านขายยาจำหน่ายยาทำแท้งได้

วอชิงตัน 4 ม.ค.- สหรัฐจะอนุญาตให้ร้านขายยาจำหน่ายยาเม็ดยุติการตั้งครรภ์หรือทำแท้งได้ แม้ว่าศาลฎีกามีคำตัดสินเมื่อปีก่อนล้มเลิกสิทธิการทำแท้งในระดับรัฐบาลกลางก็ตาม สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐหรือเอฟดีเอ (FDA) แก้ไขระเบียบเมื่อวันอังคารตามเวลาสหรัฐ อนุญาตให้ร้านขายยาในรัฐที่อนุญาตให้ทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายสามารถจำหน่ายยาทำแท้งได้ โดยต้องมีใบอนุญาตให้จำหน่าย ส่วนผู้ซื้อต้องมีใบสั่งแพทย์และกรอกใบแสดงความยินยอม เดิมมีเพียงร้านขายยาแบบสั่งทางไปรษณีย์ หรือแพทย์และคลินิกที่มีใบอนุญาตเท่านั้นที่สามารถจำหน่ายยาทำแท้งได้ การแก้ไขระเบียบนี้เปิดทางให้ร้านขายยาสามารถจำหน่ายมิฟิพริสโตน (mifepristone) หนึ่งในยาทำแท้ง 2 ขนานที่ใช้อยู่ในสหรัฐ ความต้องการซื้อยาทำแท้งในสหรัฐเพิ่มขึ้นตั้งแต่ศาลฎีกามีคำตัดสินเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 ล้มเลิกคำตัดสินคดีระหว่างโรกับเวด ปี 2516 ที่รับรองสิทธิของสตรีในการทำแท้ง ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า สหรัฐมีการใช้ยาเม็ดทำแท้งมากกว่าครึ่งหนึ่งของการทำแท้งอยู่แล้ว แต่สิทธิในการทำแท้งกลายเป็นประเด็นต่อสู้ทางการเมืองและกฎหมาย นับตั้งแต่ศาลฎีกาที่มีผู้พิพากษาสายอนุรักษนิยมครองเสียงข้างมาก 6 คนจากทั้งหมด 9 คน ล้มเลิกสิทธิการทำแท้งในระดับรัฐบาลกลาง.-สำนักข่าวไทย

ชาวอินเดียดีใจกับว่าที่นายกฯ อังกฤษเชื้อสายอินเดีย

นิวเดลี 25 ต.ค.- คนทั่วอินเดียพากันดีใจกับนายริชี ซูนัค ชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดียที่เตรียมตัวจะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษในวันนี้ หลังจากได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมที่เป็นพรรครัฐบาลโดยไร้คู่แข่งเมื่อวันจันทร์ สถานีโทรทัศน์และสื่อสังคมออนไลน์ในอินเดียเต็มไปข่าวการแสดงความยินดีกับซูนัค อดีตรัฐมนตรีคลังอังกฤษวัย 42 ปี ที่จะได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเชื้อสายเอเชียคนแรกของอังกฤษ ชาวอินเดียบางคนมองว่า เป็นความภาคภูมิใจของอินเดีย เพราะลูกหลานชาวอินเดียได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศที่เคยปกครองอินเดียมายาวนาน บางคนมองว่า การที่เขาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรครัฐบาลอังกฤษเมื่อวันจันทร์ ซึ่งตรงกับวันฉลองเทศกาลดิวาลีที่มีความสำคัญของประเทศ ถือเป็นโอกาสพิเศษอย่างยิ่ง เพราะเป็นปีที่อินเดียฉลองการมีเอกราชเป็นที่ 75 นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดียทวีตแสดงความยินดีกับซูนัค และอวยพรวันดิวาลีให้แก่ชาวอังกฤษเชื้อสายอินเดียทุกคนที่เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมที่มีชีวิต เพราะความสัมพันธ์สมัยประวัติศาสตร์กำลังจะปรับเปลี่ยนไปเป็นความเป็นหุ้นส่วนที่ทันสมัย ครอบครัวของซูนัคมีภูมิลำเนาอยู่ในรัฐปัญจาบก่อนที่มีการแยกเป็นอินเดียและปากีสถาน หลังจากอังกฤษให้เอกราชในปี 2490 จากนั้นได้ย้ายไปอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 และลงหลักปักฐานในสหราชอาณาจักรช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ซูนัคเกิดที่เมืองเซาท์แฮมป์ตัน ริมฝั่งทางใต้ของอังกฤษในปี 2523 ขณะที่อัคชาตา มูรตี ภรรยาวัยเดียวกันของเขาก็มีเชื้อสายอินเดียเช่นเดียวกัน เธอเป็นบุตรสาวของเอ็น อาร์ นารายานะ มูรตี ผู้ก่อตั้งอินโฟซีส บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของอินเดีย ซูนัคประกาศตัวต่อสาธารณะมาโดยตลอดเรื่องมีเชื้อสายอินเดีย เรื่องไม่รับประทานเนื้อวัวตามความเชื่อของฮินดู และเรื่องรักในกีฬาคริกเกต.-สำนักข่าวไทย

สื่ออังกฤษฟันธง “ซูนัค” ว่าที่นายกฯ คนใหม่

ลอนดอน 24 ต.ค.- หนังสือพิมพ์ระดับประเทศในอังกฤษพากันพาดหัวข่าวให้นายริชี ซูนัค อดีตรัฐมนตรีคลังเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลังจากอดีตนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ถอนตัวจากการชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมที่เป็นพรรครัฐบาล เดอะเดลีเอ็กซ์เพรสส์พาดหัวข่าวว่า ริชี ว่าที่นายกรัฐมนตรีหลังจากบอริสถอนตัวจากการแข่งขัน ขณะที่เดอะซันพาดหัวข่าวว่า ซูนัคเตรียมเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โบโจ (หมายถึงบอริส จอห์นสัน) บอกว่ายังไม่ใช่เวลา ขอถอนตัวเพื่อไม่ให้เกิดความโกลาหล ส่วนเดอะมิเรอร์พาดหัวข่าวว่า จอห์นสันขายหน้า ซูนัคเตรียมครองอำนาจ อดีตนายกรัฐมนตรีถอนตัวจากการชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เหลือริชีแข่งกับมอร์ดอนต์ที่เป็นคนนอก จอห์นสันวัย 58 ปี ออกแถลงการณ์เมื่อค่ำวันอาทิตย์ตามเวลาอังกฤษว่า จะไม่ลงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมแม้ว่าได้รับเสียงสนับสนุนจาก ส.ส.พรรค เพราะเห็นแล้วว่าไม่ใช่สิ่งที่สมควรทำ เนื่องจากเขาไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตราบใดที่รัฐสภายังไม่มีเอกภาพ เขาอ้างว่า มีเสียงสนับสนุนจาก ส.ส.พรรค 102 คน แต่บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษหรือบีบีซี (BBC) ระบุว่า มี ส.ส.ประกาศตัวสนับสนุนจอห์นสันเพียง 57 คนเท่านั้น ส่วนนายซูนัควัย 42 ปี มีเสียงสนับสนุน 147 เสียง และนางเพนนี มอร์ดอนต์ ผู้นำฝ่ายรัฐบาลในสภาสามัญและประธานสภาองคมนตรีวัย 49 […]

ส.ส.พรรครัฐบาลอังกฤษเตรียมยื่นญัตติไม่ไว้วางใจนายกฯ

ลอนดอน 17 ต.ค.- สื่ออังกฤษรายงานว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคอนุรักษนิยม ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลอังกฤษมากกว่า 100 คน พร้อมยื่นญัตติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีลิซ ทรัสส์ ภายในสัปดาห์นี้ แม้รัฐบาลเตือนว่าอาจทำให้มีการยุบสภาจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดก็ตาม หนังสือพิมพ์เดลี่เมลรายงานอ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อว่า ส.ส.พรรคอนุรักษนิยมมากกว่า 100 คน พร้อมยื่นญัตติไม่ไว้วางใจนางลิซต่อนายเกรแฮม เบรดี ประธานคณะกรรมการ 1922 ของพรรคที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งและลงญัตติไม่ไว้วางใจหัวหน้าพรรค โดยจะขอให้นายเบรดีแจ้งนางทรัสส์ให้ลาออกหรือแก้ไขระเบียบพรรค เพื่อเปิดทางให้มีการลงญัตติไม่ไว้วางใจโดยทันที แต่มีข่าวว่านายเบรดีไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่านางทรัสส์ และนายเจเรมี ฮันต์ ที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลังเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม แทนนายควาซี ควาร์เต็ง ควรได้รับโอกาสกำหนดยุทธศาสตร์เศรษฐกิจในแผนงบประมาณระยะกลางที่จะประกาศในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ด้านหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์รายงานว่า ส.ส.บางส่วนเริ่มจับกลุ่มหารือเรื่องหาผู้นำคนใหม่แทนนางทรัสส์แล้ว นางทรัสส์ วัย 47 ปี ชนะเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม เมื่อต้นเดือนกันยายน ทำให้ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีโดยอัตโนมัติ และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 นับตั้งแต่อังกฤษลงประชามติออกจากสหภาพยุโรป หรือที่เรียกว่าเบร็กซิต ในปี 2559 เธอต้องกลับลำแผนการลดเพดานภาษีรายได้ที่ประกาศเมื่อปลายเดือนกันยายน หลังจากทำให้ตลาดเงินปั่นป่วน ปอนด์อ่อนค่าลงแตะระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ […]

อังกฤษยกเลิกแผนลดภาษีให้คนรวยแล้ว

ลอนดอน 3 ต.ค.- รัฐบาลอังกฤษยกเลิกแผนการลดภาษีให้ผู้มีรายได้สูงแล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่ทำให้ตลาดการเงินปั่นป่วนและเงินปอนด์อ่อนค่าครั้งประวัติศาสตร์เมื่อสัปดาห์ก่อน นายควาซี ควาร์เตง รัฐมนตรีคลังอังกฤษแถลงวันนี้ว่า เขาจะไม่ยกเลิกเพดานภาษีรายได้ร้อยละ 45 สำหรับผู้มีรายได้เกิน 150,000 ปอนด์ (ราว 6.35 ล้านบาท) ต่อปีตามที่แถลงไว้เมื่อวันที่ 23 กันยายน รัฐบาลรับฟังเสียงประชาชน และเห็นชัดเจนแล้วว่า การยกเลิกดังกล่าวได้เบี่ยงเบนภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งเรื่องการแก้ไขปัญหาที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงยึดมั่นต่อนโยบายภาษีอื่น ๆ เช่น การลดภาษีรายได้ในอัตราพื้นฐานในปีหน้า การยกเลิกการขึ้นภาษีนิติบุคคลที่รัฐบาลชุดก่อนประกาศไว้ การกลับลำนี้มีขึ้นหลังจากสมาชิกรัฐสภาพรรคอนุรักษนิยมซึ่งเป็นพรรครัฐบาลพากันแสดงความไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมากกับแผนการลดภาษี และมีขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากพรรคเผยแพร่ถ้อยแถลงบางส่วนที่นายควาร์เตงจะกล่าวต่อที่ประชุมพรรคประจำปีที่เมืองเบอร์มิงแฮมในวันนี้ เนื้อหาบางส่วนในถ้อยแถลงระบุว่า “จะต้องเดินหน้าต่อไป เขามั่นใจว่าแผนการนี้ถูกต้องแล้ว”.-สำนักข่าวไทย

รู้จัก “ลิซ ทรัสส์” นายกฯ คนใหม่ของอังกฤษ

ลอนดอน 5 ก.ย.- ลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ ผู้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนที่ 3 ของอังกฤษ หลังจากชนะเลือกตั้งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมรอบสุดท้าย เป็นนักการเมืองที่เส้นทางชีวิตเต็มไปด้วยความพลิกผัน นางแมรี เอลิซาเบธ ทรัสส์ วัย 47 ปี เกิดในครอบครัวที่เธอระบุว่า “เป็นฝ่ายซ้าย” มารดาเป็นพยาบาลและครู บิดาเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ เคยพาเธอไปเข้าร่วมการประท้วงต่อต้านนายกรัฐมนตรีมากาเร็ต แทตเชอร์ ของพรรคอนุรักษนิยม เธอเคยสวมบทเป็นแทตเชอร์ในการเลือกตั้งจำลองที่โรงเรียนจัดขึ้นพร้อมกับที่มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2526  ทรัสส์วัย 7 ขวบในขณะนั้นไม่ได้เลยแม้แต่คะแนนเดียว ขณะที่แทตเชอร์กวาดคะแนนอย่างถล่มทลาย เธอเล่าในภายหลังว่า ตั้งใจอย่างเต็มที่และปราศรัยหาเสียงอย่างจับใจ แต่ไม่ได้แม้แต่คะแนนเดียว เพราะไม่ได้ลงคะแนนให้ตัวเอง อย่างไรก็ดี เมื่อเข้าสู่เส้นทางทางการเมืองจริง ๆ ทรัสส์ได้ยกย่องให้แทตเชอร์เป็น “ต้นแบบทางการเมือง” และสามารถเดินตามรอยแทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศที่ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2522-2533 ด้วยการเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษที่คนที่ 3 ต่อจากนายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ที่ดำรงตำแหน่งปี 2559-2562   ทรัสส์เคยวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ในช่วงที่เป็นสมาชิกพรรคเสรีประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เธอพูดในการประชุมพรรคในปี 2537 สนับสนุนให้ยกเลิกสถาบันกษัตริย์ว่า สมาชิกพรรคนี้เชื่อเรื่องโอกาสควรเป็นของทุกคน ไม่เชื่อเรื่องการเกิดมาเป็นผู้ปกครอง […]

รมว.กลาโหมอังกฤษประกาศหนุน รมว.ต่างประเทศเป็นนายกฯ

ลอนดอน 29 ก.ค.- นายเบน วอลเลซ รัฐมนตรีกลาโหมอังกฤษประกาศตัวสนับสนุนนางเอลิเบธหรือลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศ เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม ซึ่งจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แทนนายบอริส จอห์นสัน นายวอลเลซ ซึ่งไม่ลงสมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแม้ถูกมองว่าเป็นตัวเต็ง เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ว่า นางทรัสส์คือ “ของแท้” เธอเป็นผู้สมัครเพียงคนเดียวที่มีประสบการณ์ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึกในการเผชิญหน้ากับความท้าทายของประเทศในเวลาที่ไม่ปกติเช่นนี้ ทั้งเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลก และภัยจากผู้นำรัสเซีย เธออาจไม่ใช่คนพูดเก่ง แต่เธอเป็นคนมั่นคง ตรงไปตรงมา ส่วนในการให้สัมภาษณ์บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษหรือบีบีซี (BBC) นายวอลเลซระบุว่า การที่นางทรัสส์มุ่งมั่นจะเพิ่มงบประมาณกลาโหมเป็นร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ภายในปี 2573 เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขาประกาศตัวสนับสนุน เพราะเธอจะพยายามอย่างเต็มที่ในการปกป้องประเทศด้วยการลงทุนด้านกลาโหม ส่วนนายริชี ซูนัค อดีตรัฐมนตรีคลังที่เป็นผู้สมัครอีกคน เขาเชื่อว่าจะเป็นรัฐมนตรีที่ดีของทุกรัฐบาล แต่ไม่เห็นด้วยกับการที่นายซูนัคลาออกจากตำแหน่งเมื่อต้นเดือน นางทรัสส์ วัย 48 ปี และนายซูนัค วัย 42 ปี เป็นผู้สมัครสองคนสุดท้ายที่ได้คะแนนมากที่สุดในกระบวนการเลือกหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยมคนใหม่ ทั้งคู่เพิ่งขึ้นเวทีถามตอบกับสมาชิกพรรคครั้งแรกเมื่อคืนวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น จากที่ต้องจัดขึ้นทั้งหมด 12 ครั้งทั่วประเทศ […]

อังกฤษจะได้นายกฯ คนใหม่วันที่ 5 ก.ย.

ลอนดอน 12 ก.ค.- พรรคอนุรักษนิยม ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลอังกฤษแจ้งว่า จะประกาศชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่จะมาทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสันในวันที่ 5 กันยายนนี้ คณะกรรมการปี 1922 ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคอนุรักษนิยมที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแจ้งตารางเวลาการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่เมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า จะเปิดให้เสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 กรกฎาคมและปิดในวันเดียวกัน จนถึงขณะนี้มีผู้ประกาศตัวลงสมัครแล้ว 11 คน จากนั้น ส.ส.พรรคจะลงคะแนนคัดเลือกให้เหลือผู้สมัครที่มีคะแนนมากที่สุดสองคนสุดท้ายผ่านการลงคะแนนรอบแรกในวันที่ 13 กรกฎาคม อาจจะมีการลงคะแนนรอบสองในวันที่ 14 กรกฎาคม และรอบสามในวันที่ 18 กรกฎาคม โดยต้องให้ได้ตัวผู้สมัครสองคนสุดท้ายในวันที่ 21 กรกฎาคมก่อนพักการประชุมสภาช่วงฤดูร้อน เพื่อให้สมาชิกพรรค 160,000 คน เลือกผ่านการลงคะแนนทางไปรษณีย์ เซอร์เกรแฮม เบรดี ประธานคณะกรรมการปี 1922 เผยว่า อังกฤษจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อสภาเปิดสมัยประชุมอีกครั้งในวันที่ 5 กันยายน คณะกรรมการเร่งกระบวนการคัดเลือกผู้สมัครด้วยการกำหนดให้ผู้สมัครแต่ละคนต้องได้เสียง ส.ส.สนับสนุนไม่ต่ำกว่า 20 เสียง จึงจะมีสิทธิเข้าร่วมการชิงชัย จากปกติที่กำหนดไว้ที่ 8 เสียงเท่านั้น และผู้สมัครที่ได้เสียง ส.ส.สนับสนุนไม่ถึง […]

...