fbpx

ตลาดหุ้นจีนร่วงเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน

เซี่ยงไฮ้ 5 ก.พ.- ตลาดหลักทรัพย์จีนลดลงเป็นวันที่ 6 ติดต่อกันในวันนี้ นำโดยหลักทรัพย์ของบริษัทขนาดเล็ก เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ในแง่ร้ายมากขึ้นจากการที่ไม่เห็นสัญญาณชัดเจนที่จะสนับสนุนนโยบาย ดัชนีซีเอส300 (CS300) ซึ่งเป็นกลุ่มหุ้นบลูชิปของจีนร่วงลงถึงร้อยละ 2.1 ไปแตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีครั้งใหม่ ขณะที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตร่วงลงมากถึงร้อยละ 3.5 หลังจากร่วงไปร้อยละ 6.2 เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นการร่วงรายสัปดาห์มากที่สุดนับจากเดือนตุลาคม 2561 ทำให้นักลงทุนชาวจีนพากันแสดงความไม่พอใจผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ลามไปถึงบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของสถานทูตสหรัฐในจีน หน่วยงานกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์จีนประกาศช่วงสุดสัปดาห์ว่า จะป้องกันไม่ให้ตลาดผันผวนอย่างผิดปกติ แต่ยังไม่มีการประกาศมาตรการใด ๆ เป็นพิเศษ นักวิเคราะห์ชี้ว่า ตลาดร่วงลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน และยังไม่มีสัญญาณว่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว “ทีมประเทศ” ซึ่งหมายกลุ่มนักลงทุนที่รัฐสนับสนุน ควรเพิ่มความพยายามในการกอบกู้ตลาด ขณะเดียวกันดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจีนยังไม่มีสัญญาณดีขึ้น กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจจีนว่าจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 4.6 ในปี 2567 นอกจากนี้ยังมีความกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์ หลังจากสหรัฐเพิ่มบริษัทจีนสิบกว่าแห่งไว้ในรายชื่อบริษัทที่สหรัฐกล่าวหาว่าทำงานกับกองทัพจีน เพื่อหาทางสกัดไม่ให้เทคโนโลยีของสหรัฐถูกนำไปช่วยเหลือจีน.-814.-สำนักข่าวไทย

ผลคัดเลือกหลักทรัพย์ดัชนี FTSE สำหรับรอบ ธ.ค.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และฟุตซี่ รัสเซล (FTSE Russell) ประกาศผลการทบทวนรายชื่อหลักทรัพย์ชุดใหม่ที่จะใช้ในการคำนวณ FTSE SET Index Series มีผลวันที่ 18 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป

นักวิเคราะห์ชี้ความไม่แน่นอนการเมืองฉุดการลงทุน

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์เห็นตรงกันว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองฉุดการลงทุน ชี้พรรคเพื่อไทยมีโอกาสเป็นผู้นำจัดตั้งรัฐบาลมากกว่าพรรคก้าวไกล

ผลคัดเลือกหลักทรัพย์คำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ฯ ช่วงครึ่งปีหลัง 2566

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศผลการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่ใช้สำหรับคำนวณดัชนี SET50 SET100 sSET SETCLMV SETHD SETTHSI และ SETWB ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2566 (1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม)

คาด 21 มิ.ย.ชื่อย่อหลักทรัพย์ MAKRO เปลี่ยนเป็น CPAXT

กรุงเทพฯ 15 มิ.ย.-บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO)  เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน)” ในวันนี้และคาด 21 มิ.ย.เริ่มเปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์เป็น “CPAXT”สร้างความชัดเจนธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก มรองรับการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยยังคงใช้แบรนด์ห้าง “แม็คโคร” และ “โลตัส” เช่นเดิม 

สหรัฐฟ้องแพลตฟอร์มเทรดคริปโทใหญ่ที่สุดของประเทศ

นิวยอร์ก 7 มิ.ย. – คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต.ของสหรัฐ ยื่นฟ้องคอยน์เบส (Coinbase) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลรายใหญ่ที่สุดของประเทศว่า ทำให้นักลงทุนตกอยู่ในความเสี่ยงจากการที่คอยน์เบสไม่จดทะเบียนเป็นสถานที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ ก.ล.ต.สหรัฐ กล่าวหาคอยน์เบสซึ่งมีผู้ใช้งาน 110 ล้านราย และมีสินทรัพย์ 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.78 ล้านล้านบาท) นับถึงสิ้นปี 2565 ว่าทำรายได้มหาศาลจากการอำนวยความสะดวกอย่างผิดกฎหมายให้แก่การซื้อขายสินทรัพย์คริปโทฯ การที่คอยน์เบสไม่จดทะเบียนเป็นตลาดหลักทรัพย์ได้ทำให้นักลงทุนไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างสำคัญ เช่น การคุ้มครองจาก ก.ล.ต. การกำหนดให้ต้องเก็บข้อมูล การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ด้านนายพอล กรูวัล ที่ปรึกษาทางกฎหมายของคอยน์เบส กล่าวว่า การที่ ก.ล.ต. อาศัยแต่วิธีการบังคับ ทั้งที่อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลยังไม่มีระเบียบที่ชัดเจน กำลังทำลายความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของสหรัฐ และบริษัทอย่างคอยน์เบสที่ได้แสดงให้เห็นว่ามีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามระเบียบ เขาเรียกร้องระหว่างชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการรัฐสภาในวันเดียวกันว่า จะต้องมีกฎหมายที่ชัดเจน เพื่อให้อุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับการพัฒนาอย่างโปร่งใสภายใต้ระเบียบที่เป็นธรรมโดยไม่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ก.ล.ต. ยื่นฟ้องคอยน์เบสเมื่อวันอังคารตามเวลาสหรัฐ หลังจากเมื่อวันจันทร์ยื่นฟ้องไบแนนซ์ (Binance) แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทฯ อีกแห่งและนายจ้าว ฉางเฝิง ผู้ก่อตั้งชาวแคนาดาที่เกิดในจีน วัย 46 ปี ว่าดำเนินเครือข่ายหลอกลวงอย่างกว้างขวาง […]

เวียดนามมีเหยื่อหลอกลวงออนไลน์เพิ่มขึ้นมาก

ฮานอย 9 ต.ค.- สื่อเวียดนามรายงานว่า เวียดนามมีคนตกเป็นเหยื่อหลอกลวงออนไลน์เพิ่มขึ้นมากทั้งจำนวนคนและยอดความเสียหาย เว็บไซต์วีเอ็นเอ็กซ์เพรสส์ของเวียดนามอ้างข้อมูลที่กระทรวงความมั่นคงสาธารณะแถลงเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า จำนวนเหยื่อเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ต้นปี 2565 โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนหลังของปี 2564 ขณะที่ข้อมูลของเว็บท่ารายงานอาชญากรรมไซเบอร์แห่งชาติระบุว่า เดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคมปีนี้ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตแจ้งเหตุหลอกลวงออนไลน์มากถึง 3,500 คดี กระทรวงสารสนเทศเผยว่า การหลอกลวงส่วนใหญ่ทำผ่านสื่อสังคมออนไลน์และข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเอสเอ็มเอส (SMS) โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์หรือที่อยู่ไอดีแปลกหน้าเสนอจ้างงานพาร์ตไทม์รายได้สูง เหยื่อส่วนใหญ่เป็นคุณแม่มือใหม่ นักเรียนนักศึกษา และคนทำงานอิสระที่ต้องการหารายได้พิเศษยามว่าง นอกจากนี้ยังมีการหลอกลวงโดยอ้างตัวว่าเป็นธนาคารเพิ่มขึ้นมากในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ คนร้ายจะส่งเอสเอ็มเอสโดยใช้ชื่อของธนาคารไปพร้อมกับลิงก์ หลอกให้เหยื่อกดลิงก์เพื่อรับของรางวัล ยกเลิกโฆษณา หรือจ่ายค่าบริการที่ไม่เคยใช้ และเมื่อเหยื่อกรอกข้อมูลตามที่ปรากฏในลิงก์ เงินในบัญชีก็จะถูกถอนหรือโอนหมดเกลี้ยงในทันที วีเอ็นเอ็กซ์เพรสส์รายงานว่า การหลอกลวงในรูปแบบใหม่ที่กำลังแพร่หลายในช่วงหลายปีมานี้คือ หลอกให้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และคริปโทเคอร์เรนซี คนร้ายจะเลือกเหยื่อจากผู้ใช้เฟซบุ๊กที่อยู่ในกลุ่มการลงทุน แล้วหลอกล่อด้วยการจ่ายผลตอบแทนสูงในตอนต้น จากนั้นจะจูงใจให้เหยื่อลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง หากต้องการร่ำรวยตามผู้ลงทุนรายอื่นซึ่งเป็นบัญชีปลอมที่คนร้ายสร้างประวัติการลงทุนขึ้นเองภายในกลุ่มปิด หากเหยื่อไม่ลงทุนเพิ่มก็จะไม่ได้เงินที่ลงทุนไปก่อนหน้านั้น.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4
...