ครึ่งปีแรกราคาน้ำตาลตลาดโลกหดตัว 16.67% อาจกดดันราคาอ้อยเหลือ 1,200 บาท/ตัน

“พิมพ์ภัทรา” สั่งการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำตาลตลาดโลก เผยครึ่งปีแรก 67 ราคาน้ำตาลตลาดโลกหดตัว 16.67% จากปีก่อน เหตุสตอกน้ำตาลตลาดโลกมีจำนวนมาก คาดการณ์ราคาน้ำตาลตลาดโลกครึ่งปีหลัง 67 ไม่เกิน 21 เซนต์ต่อปอนด์ เหตุแรงกดดันจากสตอกน้ำตาลสะสม อาจส่งผลให้ราคาอ้อยในประเทศเฉลี่ยที่ 1,200 บาท/ตัน

ศก.อีสาน ไตรมาส 4 ปี 66 หดตัวจากปีก่อน แม้มีปัจจัยหนุนจากท่องเที่ยว

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธปท. สภอ.) แถลงข่าวเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2566 ไตรมาส 4 หดตัวจากปีก่อน แม้มีปัจจัยหนุนจากการท่องเที่ยว

สศอ.เผยดัชนี MPI เดือน ต.ค.หดตัวร้อยละ 4.29

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนตุลาคม ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 89.38 หดตัวร้อยละ 4.29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ 10 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 5.04 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวช้า

จีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

ปักกิ่ง 9 ส.ค.- จีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืด เนื่องจากดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคมหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี สาเหตุเพราะการบริโภคในประเทศชะลอตัวกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังผ่านพ้นโควิด สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยข้อมูลวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 0.3 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม หลังจากไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 0.0 ต่อปีในเดือนมิถุนายน เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี และเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากเมื่อวานนี้สำนักงานศุลกากรจีนเผยว่า ยอดส่งออกมีมูลค่าลดลงร้อยละ 14.5 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และลดลงมากที่สุดในรอบกว่า 3 ปี การที่สินค้าและบริการมีราคาลดลงบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความต้องการบริโภคลดลง ภาวะเช่นนี้อาจทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น แต่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง เพราะผู้บริโภคจะชะลอการซื้อออกไปด้วยหวังว่าราคาจะลดลงอีก ส่งผลให้ธุรกิจต้องลดการผลิต งดการจ้างงานใหม่หรือเลิกจ้าง จีนเคยเกิดภาวะเงินฝืดครั้งหลังสุดในปี 2552 และเกิดภาวะเงินฝืดเป็นเวลาสั้น ๆ ช่วงสิ้นปี 2563 จนถึงต้นปี 2564 เนื่องจากหมูซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศมีราคาลดลงอย่างมาก.-สำนักข่าวไทย

ส่งออกไทยครึ่งปีแรก66 ยังหดตัว 5.4% แต่มั่นใจครึ่งหลังปีสดใส

นนทบุรี 26 ก.ค.-ปลัดกระทรวงพาณิชย์เผยยอดส่งออกของไทย ล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2566 ยังหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 โดยติดลบที่ 6.4% จากฐานสูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังซบเซา แต่ยังถือว่าดีกว่าหลายประเทศ มั่นใจครึ่งหลังปี 66 สดใสเพราะมียอดคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่องทำให้ยอดส่งออกทั้งปีเป็นบวก 1% โดยเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 23,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เศรษฐกิจนิวซีแลนด์เข้าสู่ภาวะถดถอย

เวลลิงตัน 15 มิ.ย.- ข้อมูลของทางการนิวซีแลนด์เผยว่า เศรษฐกิจนิวซีแลนด์ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว เนื่องจากขยายตัวติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน ก่อนที่นิวซีแลนด์จะมีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ สำนักงานสถิตินิวซีแลนด์เผยวันนี้ว่า เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 0.1 ในไตรมาสแรกของปี 2566 หลังจากหดตัวร้อยละ 0.7 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ทให้เศรษฐกิจเข้าสู่ถาวะถดถอยเป็นครั้งแรกนับจากปี 2563 ที่นิวซีแลนด์ต้องปิดประเทศเพราะโควิด-19 นายแกรนต์ โรเบิร์ตสัน รัฐมนตรีคลังนิวซีแลนด์ยอมรับว่า การที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะเป็นที่รู้กันว่าปี 2566 เป็นปีที่ท้าทาย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอการขยายตัว อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงไปอีกระยะหนึ่ง และเกาะเหนือของนิวซีแลนด์เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเมืองออกแลนด์เมื่อเดือนมกราคม และถูกไซโคลนแกเบรียลพัดถล่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลกระทบหนักต่อกิจกรรมของครัวเรือนและธุรกิจ พรรคฝ่ายค้านสายกลางขวากล่าวโทษรัฐบาลว่า ทำให้เศรษฐกิจตกอยู่ในอันตราย เพราะหดตัวทั้งที่อัตราเงินเฟ้อสูงถึงร้อยละ 6.7 ตัวเลขการเกษตร การผลิต การขนส่งและการบริการล้วนขยายตัวลดลง นายกรัฐมนตรีคริส ฮิปกินส์กำลังถูกกดดันเนื่องจากผลการหยั่งเสียงชี้ว่า รัฐบาลพรรคแรงงานสายกลางซ้ายต้องขับเคี่ยวอย่างหนักกับพรรคแห่งชาติในการเลือกตั้งเดือนตุลาคม เขาจะไปเยือนจีนในปลายเดือนนี้เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ทางการค้า เพราะรายได้จากการส่งออกเกือบ 1 ใน 4 มาจากจีน นักวิเคราะห์ของกีวีแบงก์มองว่า เศรษฐกิจนิวซีแลนด์เข้าสู่ภาวะถดถอยเร็วกว่าที่คาด จึงเป็นหน้าที่ของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ที่จะต้องนำพาประเทศให้พ้นจากภาวะนี้ด้วยการยุตินโยบายขึ้นดอกเบี้ยที่ทำให้ประชาชนยากลำบากในช่วงที่ค่าครองชีพสูง.-สำนักข่าวไทย

นายกฯ สิงคโปร์คาดเศรษฐกิจไม่น่าจะหดตัว

สิงคโปร์ 30 เม.ย.- นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุงของสิงคโปร์คาดว่า เศรษฐกิจของสิงคโปร์จะชะลอการขยายตัวในปีนี้ แต่ไม่น่าจะหดตัวอย่างทันทีทันใด นายกรัฐมนตรีลีกล่าวในสารเนื่องในแรงงานว่า มีความหวังว่าภาวะเงินเฟ้อจะดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และจำนวนผู้ถูกเลิกจ้างจะยังคงเป็นตัวเลขที่จัดการได้ อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมภายนอกยังคงผันผวน อีกทั้งยังมีความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์อย่างรุนแรง เขาชี้ว่า มีความเสี่ยงที่ชาติตะวันตกจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะยังคงมีการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยหวังควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ระบบการค้าแบบพหุภาคีกำลังถูกสั่นคลอนอย่างหนักจากกระแสชาตินิยมและปกป้องทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการค้าและความร่วมมือสากล ผู้นำสิงคโปร์ระบุว่า สิงคโปร์จะต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคที่เศรษฐกิจเผชิญภาวะผกผันจากอุตสาหกรรมเกิดใหม่และเทคโนโลยี การอยู่รอดของสิงคโปร์ขึ้นอยู่กับการยังคงเปิดกว้างและทำธุรกิจกับทั้งโลก ซึ่งหมายความว่า สิงคโปร์จะต้องปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรม ส่งเสริมศักยภาพที่มีอยู่และสร้างศักยภาพใหม่อย่างต่อเนื่องในขณะที่เข้าสู่ตลาดที่มีการเติบโต เอเอฟพีระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์มักถูกใช้เป็นมาตรวัดภาวะเศรษฐกิจโลก เนื่องจากสิงคโปร์พึ่งพาการค้ากับทั้งโลก เศรษฐกิจสิงคโปร์ในปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 3.6 ลดลงอย่างมากจากร้อยละ 8.9 ในปี 2564 สำนักงานการเงินแห่งสิงคโปร์ซึ่งทำหน้าที่เหมือนธนาคารกลางของสิงคโปร์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์ปีนี้จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5-2.5 เท่านั้น.-สำนักข่าวไทย

เศรษฐกิจอังกฤษรอดจากถดถอยอย่างเฉียดฉิว

ลอนดอน 10 ก.พ.- ข้อมูลของทางการอังกฤษระบุว่า เศรษฐกิจอังกฤษรอดพ้นจากการเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเฉียดฉิว หลังจากเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ไม่หดตัวเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน คำนิยามทางเทคนิคของภาวะเศรษฐกิจถดถอยหมายถึงเศรษฐกิจที่หดตัว 2 ไตรมาสติดต่อกัน สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษแถลงวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ไตรมาส 4 ของปี 2565 ขยายตัวที่ร้อยละ 0 สอดคล้องกับที่ตลาดคาดหมาย หลังจากหดตัวร้อยละ 0.3 ในไตรมาส 3 ของปีเดียวกัน ขณะที่เศรษฐกิจปี 2565 ทั้งปีขยายตัวร้อยละ 4.1 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ แต่ยังคงขยายตัวน้อยกว่าปี 2564 ทั้งปีที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 นายเจเรมี ฮันต์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษยินดีต่อรายงานข่าวเรื่องเศรษฐกิจอังกฤษรอดพ้นจากภาวะถดถอย แต่เตือนว่าเศรษฐกิจยังไม่พ้นจากวิกฤต โดยเฉพาะเรื่องอัตราเงินเฟ้อสูงที่ทำให้เกิดวิกฤตค่าครองชีพและการเคลื่อนไหวของคนทำงานในภาคส่วนต่าง ๆ อย่างไรก็ดี เขามองว่าเศรษฐกิจอังกฤษมีความยืดหยุ่นมากกว่าที่หลายฝ่ายกังวล.-สำนักข่าวไทย

เศรษฐกิจเกาหลีใต้หดตัวครั้งแรกนับจากต้นปี 2563

โซล 26 ม.ค.- เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาส 4 ของปี 2565 หดตัวเป็นครั้งแรกนับจากไตรมาส 2 ของปี 2563 เนื่องจากยอดการส่งออกลดลง อันเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายหลังจากที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางเกาหลีใต้แถลงวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ในไตรมาสเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 หดตัวร้อยละ 0.4 จากไตรมาสก่อนของปีเดียวกัน การบริโภคภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.4 เนื่องจากการบริโภคสินค้าและบริการลดลง ประกอบด้วยเครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า สิ่งอำนวยความสะดวก อาหาร และความบันเทิง ยอดการส่งออกลดลงร้อยละ 5.8 ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และสารเคมี ขณะที่ยอดการนำเข้าลดลงร้อยละ 4.6 ส่วนใหญ่เป็นโลหะพื้นฐานและน้ำมันดิบ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ยังคงขยายตัวร้อยละ 1.4 เทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 และเศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับปี 2564 ส่วนปี 2566 ธนาคารกลางคาดว่า จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.7 และอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ธนาคารกลางเกาหลีใต้แจ้งตัวเลขดังกล่าวหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเป็นครั้งที่ 10 […]

เศรษฐกิจไต้หวันหดตัวมากที่สุดนับจากวิกฤตการเงินโลก

ไทเป 18 ม.ค.- ไต้หวันแจ้งว่า เศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนหดตัวรายไตรมาสมากที่สุดนับจากวิกฤตการเงินโลกในปี 2552 สำนักงานงบประมาณ การบัญชีและสถิติของไต้หวันเปิดเผยตัวเลขเบื้องต้นในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ลดลงร้อยละ 0.86 จากไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 เป็นการลดลงครั้งแรกนับจากไตรมาสปี 2559 และหดตัวรายไตรมาสมากที่สุดนับจากวิกฤตการเงินโลกในปี 2552 อีกทั้งยังย่ำแย่กว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ในเดือนพฤศจิกายนว่า จีดีพีไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.52 สำนักงานฯ ระบุว่า แรงกดดันจากเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั้งสองอย่างยังคงกดดันความต้องการบริโภคทั่วโลก นอกจากนี้สถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ระบาดมากขึ้นในจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไต้หวัน  ยังกระทบต่อการบริโภคและการผลิตด้วย ยอดส่งออกของไต้หวันในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ลดลงถึงร้อยละ 8.63 จากไตรมาสเดียวกันปี 2564 เฉพาะการส่งออกไปจีนและฮ่องกงลดลงมากถึงร้อยละ 15.6 ส่วนจีดีพีปี 2565 ทั้งปีคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.43 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.06.-สำนักข่าวไทย

ประชากรจีนหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 60 ปี

ประชากรจีนเมื่อปีที่แล้วหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 60 ปี ในขณะที่จีน ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กำลังเผชิญกับวิกฤตด้านประชากร

1 2 3 4
...