fbpx

ผู้ว่าฯ ปราจีนบุรี ลงพื้นที่ทำความเข้าใจชาวบ้านรอบโรงถลุงเหล็ก

ผู้ว่าฯ ปราจีนบุรี ลงพื้นที่ทำความเข้าใจชาวบ้านที่พักอาศัยรอบโรงงานถลุงเหล็ก ที่พบการปนเปื้อนรังสีซีเซียม-137 ขณะที่ชาวบ้านบอกว่า หลังฟังผู้ว่าฯ แล้ว คลายกังวลเรื่องสุขภาพลงไปได้บ้าง แต่ยังกังวลเรื่องผลผลิตทางการเกษตร

ผลตรวจพบการปนเปื้อนซีเซียม-137 โรงงานหลอมโลหะ 2 จุด

หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เผยผลตรวจพบการปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” จำนวน 2 จุด ในโรงงานหลอมโลหะ จ.ปราจีนบุรี ส่วนผลตรวจเลือดคนงาน 70 คน ไม่พบสารกัมมันตรังสี

ตรวจวัดค่ารังสีพื้นที่ชุมชนรอบโรงงาน ยังไม่พบรั่วไหล

เจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ นำเครื่องมือเข้าตรวจวัดค่ารังสีหน้าโรงงาน และพื้นที่ชุมชนโดยรอบ พบค่ารังสียังไม่เกินค่าในธรรมชาติ ด้านหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ย้ำยังไม่มีสารกัมมันตรังสีรั่วไหล ปลอดภัยแน่นอน

ผลกระทบซีเซียม 137

แม้สารกัมมันตรังสีซีเซียม 137 ที่ตามหามาหลายวัน จะถูกหลอมทำลายไปแล้ว แต่ดูเหมือนความกังวลของประชาชนยังไม่ลดลง ขณะที่แพทย์สั่งจับตาคนในพื้นที่เฝ้าระวัง 3 กลุ่ม เผยซีเซียมเดินทางในอากาศได้จริง แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณว่ามากน้อยเพียงใด

เจอแล้ว “ซีเซียม-137” ที่สูญหาย เตรียมแถลงพรุ่งนี้ (20 มี.ค.)

เจอแล้ว “ซีเซียม-137” หลังตรวจสอบโรงหลอมเหล็กในเขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี คาดถูกขายเป็นของเก่าปนมากับเหล็ก ประกาศปิดโรงงานและกันพื้นที่ แถลงข่าวพรุ่งนี้ (20 มี.ค.)

ญี่ปุ่นหวังได้แรงหนุนปล่อยน้ำปนเปื้อนที่บำบัดแล้วลงทะเล

โตเกียว 24 ส.ค. – รัฐบาลญี่ปุ่นมีมติรับรองแผนชั่วคราวเพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ประมงของเมืองฟูกูชิมะในวันนี้ และหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากชาวประมงและกลุ่มที่เกี่ยวข้องในการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะลงสู่ทะเล รัฐบาลญี่ปุ่นจะจัดตั้งกองทุนเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ประมงและแช่แข็งเก็บไว้ชั่วคราวเพื่อบรรเทาผลกระทบจากข่าวด้านลบเกี่ยวกับการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัด และจะช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเมืองฟูกูชิมะให้แก่ร้านอาหารและอุตสาหกรรมอาหารอื่น ๆ นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้วางแผนเริ่มโครงการเลี้ยงปลาในน้ำปนเปื้อนที่ผ่านการบำบัดจนกระทั่งอยู่ในระดับที่นำไปปล่อยได้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจในรายละเอียดเชิงลึก นายคัตสึโนบุ คาโตะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวในการประชุมวันนี้ว่า ในขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นทำงานร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย ประเมินการปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัด และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อประชาคมระหว่างประเทศ รัฐบาลจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ยั่งยืนสำหรับการประมงและธุรกิจอื่น ๆ รวมถึงไม่ทอดทิ้งผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติดังกล่าว ก่อนหน้านี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจที่จะเริ่มปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในฤดูใบไม้ผลิของปี 2566 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลังเสร็จสิ้นการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและจัดทำแผนปล่อยน้ำที่เป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของหน่วยงานกำกับดูแลหลายแห่ง อย่างไรก็ดี แผนดังกล่าวกลับถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากกลุ่มชาวประมง ชาวบ้าน รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่น เช่น จีน และเกาหลีใต้.-สำนักข่าวไทย

ครม.อนุมัติร่างกฎกระทรวงให้เครื่องกำเนิดรังสีฯ ต้องแจ้งการครอบครอง

ครม.อนุมัติร่างกฎกระทรวงให้เครื่องกำเนิดรังสีที่ไม่มีสารกัมมันตรังสี ไม่ต้องขออนุญาตแต่ต้องแจ้งการครอบครอง

ศุลกากรฯ แจงเก็บกู้สารกัมมันตรังสีไว้ในที่ปลอดภัยแล้ว

สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง แจงได้เก็บวัตถุกัมมันตรังสีไว้ในที่ปลอดภัยแล้ว หลังตรวจพบตู้คอนเทนเนอร์แผ่รังสีเกินค่ามาตรฐาน พร้อมเร่งหาเจ้าของมาดำเนินคดี

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ฯ แจงไทยนำเข้าอาหารทะเลจากฟูกูชิมะ

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ แจงไทยนำเข้าอาหารทะเลจากฟูกูชิมะ ปลอดภัย เพราะมีมาตรการตรวจสอบหลายขั้น ย้ำผู้บริโภคไม่ต้องกังวล

ไม่พบสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนชิ้นส่วนโลหะตกชายแดนอุบลฯ

อุบลราชธานี 17 พ.ย.-  ศูนย์เฝ้าระวังภัยทางรังสี ม.อุบลราชธานี ตรวจชิ้นส่วนโลหะของจรวดตกกลางอากาศบริเวณชายแดนโขงเจียมไม่พบปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี พร้อมเตือนประชาชนอย่าหยิบจับวัตถุที่ไม่รู้จักและให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ กรณีชาวบ้านในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เห็นลำแสงพุ่งเป็นทางยาว ก่อนเกิดเสียงดังกลางอากาศได้ยินเป็นบริเวณกว้างเมื่อกลางดึกวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา และรุ่งเช้าชาวบ้านพบเศษโลหะกระจาย 4 หมู่บ้าน จึงเก็บรวบรวมมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.โขงเจียม เพื่อประสานผู้เชี่ยวชาญมาตรวจพิสูจน์ และวานนี้ (16 พ.ย.) ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ Gistda ได้ลงพื้นที่นำตัวอย่างชิ้นส่วนไปตรวจสอบแล้ว ในเบื้องต้นเป็นไปได้ว่าเป็นชิ้นส่วนของจรวดใช้ส่งดาวเทียนขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศ  นายบุญชุบ บุ้งทอง ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการดาวเทียม สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ Gistda กล่าวว่า ได้นำชิ้นส่วนสำคัญ เช่น กล่องควบคุมการทำงานอัตโนมัติ ชิ้นส่วนโลหะที่มีรหัสหมายเลข และชิ้นส่วนที่คาดว่าจะเป็นถังเชื้อเพลิงไปตรวจสอบหาที่มา คาดว่าใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ จะทราบผลเป็นจรวดของประเทศใด ขณะที่ รศ.จินตนา เหล่าไพบูลย์ จากศูนย์เฝ้าระวังภัยทางรังสี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครือข่ายปรมาณูเพื่อสันติ ได้นำเครื่องเซอร์เวย์มิเตอร์ตรวจหาสารกัมมันตรังสีจากวัตถุที่เป็นตัวจรวด เพื่อตรวจดูระหว่างการส่งจรวดขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลก มีสารกัมมันตรังสีหรือสารปนเปื้อนอื่นที่เป็นอันตรายต่อผู้หยิบจับสัมผัสวัตถุดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยการตรวจวัดค่าครั้งนี้ […]

ญี่ปุ่นเล็งใช้หุ่นยนต์ช่วยรื้อถอนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์

ญี่ปุ่นเล็งใช้หุ่นยนต์ช่วยรื้อถอนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิจิ ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ

ปิดสนามบินนิวเดลีบางส่วน เกรงสารกัมมันตรังสีรั่วไหล

อินเดียเร่งปิดพื้นที่บางส่วนของท่าอากาศยานนานาชาตินิวเดลี หลังจากเจ้าหน้าที่สงสัยว่ากล่องบรรจุวัสดุนิวเคลียร์ทางการแพทย์ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีอาจรั่วไหล

...