ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ภาวะการมองเห็นภาพบิดเบี้ยว

6 ธันวาคม 2567 – ภาวะการเห็นภาพบิดเบี้ยวเกิดจากสาเหตุใด จะเกิดขึ้นกับคนกลุ่มไหน และจะเป็นสัญญาณอันตรายหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์

จีนพัฒนาระบบตรวจจับ”มองเห็นบกพร่อง” ผ่านสมาร์ตโฟน

กว่างโจว, 28 ม.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น และมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียวทง ของจีน ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการตรวจจับความบกพร่องทางการมองเห็นของเด็กผ่านสมาร์ตโฟนความบกพร่องทางการมองเห็นเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่สุดของความพิการระยะยาวในเด็กทั่วโลก ทว่ามักไม่มีการตรวจจับความบกพร่องนี้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพราะเด็กให้ความร่วมมือกับการทดสอบการมองเห็นตามมาตรฐานได้อย่างจำกัด ผลการศึกษาจากวารสารเนเจอร์ เมดิซิน (Nature Medicine) เมื่อวันพฤหัสบดี (26 ม.ค.) ระบุว่า “อะพอลโล อินแฟนต์ ไซต์” (AIS) เป็นระบบสุขภาพบนสมาร์ตโฟนพลังปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งสามารถระบุความบกพร่องทางการมองเห็นในเด็กระบบสุขภาพดังกล่าวจะบันทึกและวิเคราะห์พฤติกรรมการจ้องมองและลักษณะใบหน้าของเด็กเพื่อจำแนกความผิดปกติทางดวงตา 16 รายการ โดยอาศัยสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กจ้องมองอย่างคลิปวิดีโอการ์ตูน ซึ่งจะจับลักษณะใบหน้าและการเคลื่อนไหวของลูกตา ปัจจุบันมีการเก็บรวบรวมคลิปวิดีโอจากเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี จำนวน 3,652 คน เพื่อใช้พัฒนาและตรวจสอบระบบสุขภาพนี้ ซึ่งเป็นระบบที่พ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถใช้งานบนสมาร์ตโฟนและบรรลุการตรวจจับคุณภาพสูง แม้ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรม-สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230128/78e8eeca3e6b4f549f212d0f2c919bf7/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/335290_20230128ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ชัวร์ก่อนแชร์ : แบบทดสอบความผิดปกติของสายตาใช้ได้ จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์แบบทดสอบที่ช่วยบอกความผิดปกติของสายตาได้ แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : กระจกตาโก่งเสี่ยงตาบอด จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า กระจกตาโก่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการตาบอด แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : สารสกัดจากดอกดาวเรืองบำรุงสายตาจริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ แนะนำว่าสารสกัดจาก “ดอกดาวเรือง” ช่วยบำรุงสายตาได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาหยอดตานาโน จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำว่า มียาหยอดตานาโนแก้ปัญหาสายตาสั้นหรือยาวได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : สัญญาณเตือน 1 เดือนก่อนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปแนะให้สังเกตสัญญาณเตือน 1 เดือน ก่อนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

แนะต้องปรับสายตา ‘ทีมหมูป่า’ ก่อนรับแสงนอกถ้ำ-ใส่แว่นดำ

จักษุแพทย์เตือนทีมหมูป่าตาห้ามโดนแสงทันทีเสี่ยงจอประสาทตาอักเสบ แนะควรอยู่ที่แสงน้อยและใส่แว่นดำกรองแสงเมื่อออกนอกถ้ำ ให้ตาปรับสภาพหลังอยู่ในที่มืดเป็นเวลานาน

ชัวร์ก่อนแชร์ : 9 วิธีถนอมดวงตา จริงหรือ?

บนโซเชียลแชร์แนะนำ 9 วิธีถนอมดวงตา เมื่อต้องจ้องหน้าจอนานๆ เช่น กะพริบตาถี่ๆ ใช้น้ำตาเทียม เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ภาพตรวจสุขภาพตาใช้ได้จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ภาพสำหรับการทดสอบสุขภาพของดวงตา ภาพเหล่านี้ตรวจตาได้จริงหรือไม่? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

...