หญิงไทยยุคใหม่ เรียนรู้ใส่ใจ ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เชิญชวนประชาชนร่วมรณรงค์ต้านภัยมะเร็งปากมดลูก แนะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ และฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เชิญชวนประชาชนร่วมรณรงค์ต้านภัยมะเร็งปากมดลูก แนะหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ และฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV
HPV self-sampling ทางเลือกใหม่คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ลดกลัว ลดอาย ทำได้ด้วยตัวเอง
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ลงนามศึกษาวิจัยคลินิก ร่วมกับศูนย์มะเร็งแห่งชาติของญี่ปุ่น ศึกษาวิจัยทางคลินิกการรักษามะเร็งร่วมกัน ทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์การรักษา และการจ่ายยา เน้นการรรักษาในระดับยีนส์ เพื่อยับยั้งเซลล์มะเร็ง
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชวนคนไทยทำความรู้จักกับ “มะเร็งผิวหนัง” เป็นมะเร็งที่พบได้น้อย แต่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญยังไม่ชัด แต่พบว่า หูด ไฝ ปาน หรือแผลเรื้อรังอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ รวมทั้งแสงแดด
ตามที่มีกระแสข่าวทางสื่อออนไลน์ระบุว่า “รักษาโรคมะเร็งตับ ด้วยสมุนไพรฉัตรพระอินทร์” กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าฉัตรพระอินทร์รักษาโรคมะเร็งตับในมนุษย์ได้
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ชวนคนไทยรู้จัก “มะเร็งช่องปาก” ชี้เป็นอีกโรคที่มีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งในช่องปาก เช่น ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น และต่อมทอนซิล
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ย้ำจุดยืนเดิมร่วมต่อต้านการใช้สารพาราควอต สารไกลโฟเซต และสารคลอร์ไพริฟอส ชี้งานวิจัยที่เชื่อถือได้จำนวนมากแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการเกิดมะเร็งกับสารกำจัดศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดนี้
กรมการแพทย์ เผยภัยของ “มะเร็งเต้านม” พบมากเป็นอันดับ 1 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย แนะหมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน และสังเกตความผิดปกติ ชี้หากพบแพทย์ในระยะแรก สามารถรักษาหายขาดได้
ตามที่มีกระแสข่าวทางสื่อออนไลน์ โดยระบุว่า “ผู้หญิงที่ย้อมสีผมบ่อย เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม มากขึ้น 60%” กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันว่าผู้หญิงที่ย้อมสีผมบ่อยเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม
กรุงเทพฯ 15 มี.ค. – ในช่วงที่ผ่านมามีบุคคลสำคัญจากหลายแวดวงเสียชีวิตหลังป่วยด้วยโรคมะเร็ง ซึ่งเมื่อมาดูข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ก็พบว่า โรคมะเร็งเป็นโรคสาเหตุอันดับ 1 การเสียชีวิตของคนไทย ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นมาตลอดในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีความพยายามพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต เพราะมะเร็งบางชนิด หากรู้เร็วก็มีโอกาสรักษาหายได้. – สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 15 ก.ย.- สถาบันมะเร็งฯ เตือนข่าวปลอม “ต้นอังกาบหนูรักษาโรคมะเร็งได้หายขาด จากกรณีที่มีข่าวปรากฏผ่านสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง “ต้นอังกาบหนูรักษาโรคมะเร็งได้หายขาด” กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า ต้นอังกาบหนูไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งในมนุษย์ได้นั้น นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ต้นอังกาบหนู (Barleria prionitis L.) เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านมีกลุ่มฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ฟีโนลิกส์ ฟลาโวนอยด์ และเทอร์พีนอยด์ จากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารนี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าต้นอังกาบหนูช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า การใช้สมุนไพรอาจส่งผลข้างเคียงกับผู้ใช้ได้ ดังนั้นควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ .-สำนักข่าวไทย
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ แจ้งเตือนข่าวปลอม
“เปลือกต้น และแก่นของตะโกนาสามารถรักษาโรคมะเร็ง”