สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ประกาศปิดรับบริจาคเส้นผม

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ประกาศปิดรับบริจาคเส้นผม เนื่องจากได้รับบริจาคเส้นผมเป็นจำนวนมากเกินความจำเป็น และไม่มีงบประมาณเพียงพอในการผลิตวิกผม และจำเป็นต้องหาสถานที่เก็บไว้โดยที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์

สถาบันมะเร็งฯ ชี้นโยบายมะเร็งรักษาทุกที่ช่วยผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้สะดวกขึ้น

รองผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชี้หลังเกิดนโยบาย Cancer Anywhere ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งสะดวกและเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น ผลประเมินความพึงพอใจทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการอยู่ในระดับดี ปี 2567 เดินหน้าลงพื้นที่เขตสุขภาพทั่วประเทศเพื่อสื่อสารนโยบายให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

มีนาคม ร่วมใจต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จึงขอเชิญชวนประชาชนตระหนักถึงความสำคัญร่วมกันป้องกันการเกิดโรค

ผู้ป่วยมะเร็งเร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกัน

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ แนะผู้ป่วยมะเร็งเร่งฉีดวัคซีนโควิดทันทีที่มีโอกาส เพื่อลดความรุนแรงและเสียชีวิต หากติดเชื้อโควิด

เตือน “สมุนไพรขันทองพยาบาท ใช้รักษามะเร็ง”

สถาบันมะเร็งฯ 23 มี.ค.-ตามที่มีกระแสข่าวทางสื่อออนไลน์ โดยระบุว่า “ขันทองพยาบาทรักษาโรคมะเร็งได้หายขาด” สถาบันมะเร็งฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็งและไม่สามารถนำมาใช้รักษามะเร็งได้ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขันทองพยาบาท เป็นพืชที่ถูกนำมาใช้ในตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้าน มีกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น อัลคาลอยด์ ซาโปนิน ฟลาโวนอยด์ เป็นต้น จากผลการศึกษาวิจัยระดับเซลล์ในห้องปฏิบัติการ พบว่า สารนี้อาจมีส่วนในการยับยั้งเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง แต่ผลดังกล่าวเป็นเพียงงานวิจัยเบื้องต้น และยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าขันทองพยาบาทช่วยรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า การรักษาโรคมะเร็งหลัก ๆ มี 3 วิธี ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และรังสีรักษา การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณาหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง อาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนและอาจลดโอกาสการรักษาทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน ควรศึกษารายละเอียดด้านสรรพคุณ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา และวิธีการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ .-สำนักข่าวไทย

ข่าวปลอม สัมผัสสารกันบูดในปลาทูนึ่งเป็นมะเร็ง

สถาบันมะเร็งฯ 30 ก.ย.-สถาบันมะเร็งฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังมีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เรื่อง “การสัมผัสสารกันบูดในปลาทูนึ่งทำให้เป็นมะเร็งที่มือ” พบว่าข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริง นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สารกันบูดเป็นสาร ที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาโดยการทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุการเน่าเสียของอาหาร ตัวอย่างของสารกันบูด เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก พาราเบนส์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลไฟต์ เป็นต้น สารกันบูดที่อนุญาตให้ใช้จะผ่านการประเมินความปลอดภัยและมีการกำหนดปริมาณที่บริโภคได้ต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการสุ่มตรวจหรือสำรวจปริมาณการตกค้างของสารเหล่านี้ให้อยู่ในค่าไม่เกินมาตรฐาน จากกรณีที่เป็นข่าวว่าการสัมผัสสารกันบูดในปลาทูทำให้เป็นมะเร็งที่มือนั้น จากการตรวจสอบข้อมูล พบว่า ยังไม่มีหลักฐานหรือข้อมูลวิชาการที่บ่งชี้ว่าการสัมผัสสารกันบูดส่งผลให้เกิดมะเร็งผิวหนัง นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า กระบวนการผลิตปลาทูนึ่ง ถือเป็นการถนอมอาหารอยู่แล้วซึ่งจะช่วยรักษาคุณภาพปลาทูไว้ทำให้สามารถเก็บไว้ได้ในระยะหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องใส่สารกันบูด อย่างไรก็ตาม หากมีแผลที่มือควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่างๆ เพราะจะทำให้การหายของแผลช้าลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ควรเลือกซื้อปลาทูนึ่งจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ และก่อนรับประทานควรนำมาผ่านความร้อนทุกครั้ง.-สำนักข่าวไทย

ไม่จริง!!! ใบทุเรียนเทศ มีฤทธิ์ฆ่ามะเร็งในคน

สถาบันมะเร็งฯ 24 ส.ค.-สถาบันมะเร็งแห่งชาติ แจ้งเตือนข่าวปลอม “ใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ฆ่ามะเร็งในคน ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ฆ่ามะเร็งในคน กรมการแพทย์ โดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่ายังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ใบทุเรียนเทศมีสารบางชนิดที่มีฤทธิ์เป็นยาระงับปวด สามารถต้านการอักเสบ และต้านการเกิดเนื้องอก แม้ว่าจะมีรายงานวิจัยส่วนหนึ่งที่ระบุว่าใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีกว่ายาเคมีบำบัด แต่ข้อมูลนี้เป็นเพียงงานวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองเท่านั้น จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าใบทุเรียนเทศสามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้ นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ อธิบายว่า การศึกษาวิจัยในคนมีความสำคัญและจำเป็นต้องศึกษาหลายด้าน เช่น กลไกการออกฤทธิ์ต่อเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง การส่งสัญญาณภายในเซลล์ การแยกสารที่ออกฤทธิ์ชนิดต่าง ๆ การทดสอบด้านพิษวิทยาและความปลอดภัย ตลอดจนการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์จากใบทุเรียนเทศวางจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แคปซูล ชาชง ผู้บริโภคควรศึกษาส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์และหากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ สำหรับผู้ป่วยมะเร็งควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ .-สำนักข่าวไทย

แพทย์เผย “มะเร็งปอด” รู้เร็ว รักษาทัน

กรมการแพทย์ 22 ส.ค.-สถาบันมะเร็งฯ เผยคนไทยป่วยมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นวันละ 42คน แนะผู้มีปัจจัยเสี่ยง “สูบหรือรับควันบุหรี่-พันธุกรรม-สัมผัสสารก่อมะเร็ง” เข้ารับตรวจคัดกรอง พบระยะเริ่มต้น เข้ารับการรักษาตั้งแต่แรกๆ ช่วยลดความเสี่ยง-ลดการเสียชีวิตลงได้ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทยโรคมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 2 ในเพศชาย และอันดับ 5 ในเพศหญิง สถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ องค์การอนามัยโลก รายงานว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ทั่วโลก 2 ล้านคนต่อปีและเสียชีวิต 1.7 ล้านคนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบคนไทยป่วยเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นวันละ 42 คน (Cancer in Thailand Vol. IX 2013-2015) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งปอด คือการสูบหรือรับควันบุหรี่ พันธุกรรม และการสัมผัสสารก่อมะเร็ง อาทิ ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน รังสี ควันธูป ควันจากท่อไอเสีย และมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 นพ.จินดา […]

ข้อมูลเท็จ “น้ำปั่นใบไม้สด-ผักสดไม่ผ่านความร้อนช่วยรักษามะเร็ง”

กรมการแพทย์ 13 ส.ค.-สถาบันมะเร็งฯ แจงข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับประเด็น “น้ำปั่นใบไม้สดและผักสดที่ไม่ผ่านความร้อนช่วยรักษามะเร็ง” ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า เป็นข้อมูลเท็จ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรณีมีคำแนะนำว่าวิธีรักษามะเร็งด้วยการดื่มน้ำปั่นใบไม้สดและผักสดที่ได้แก่ ใบบัวบก ใบตำลึง ใบมะยม ใบมะกรูด ใบมะนาว ใบชะมวง ใบมันปู ใบโหระพา ใบกระเจี๊ยบแดง ใบเม่า ใบเตย ใบข่า ผลมะระขี้นก และมะเขือเทศราชินี ที่ไม่ผ่านความร้อนช่วยรักษามะเร็งนั้น จากการตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการพบว่าพืชผักดังกล่าวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจมีส่วนในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง แต่ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันผลการรักษามะเร็งด้วยการดื่มน้ำปั่นใบไม้สดและผักสด นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า อาหารในกลุ่มพืชผักสมุนไพร อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และอาจมีส่วนในการป้องกันมะเร็งได้ เช่น สารเบต้าแคโรทีน สารไลโคปีน สารฟลาโวนอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบการป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งนั้น ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งยังไม่มีรายงานผลทางคลินิกเกี่ยวกับปริมาณรับประทานที่สามารถป้องกันมะเร็งได้ การรับฟังข้อมูลที่ไม่ผ่านการพิจารณา หรือตรวจสอบอาจทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ง่าย จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าวและขอความร่วมมือไม่ส่ง […]

ยังไม่มีงานวิจัยยืนยัน “จิบน้ำขมิ้นชันป้องกันมะเร็ง”

กรมการแพทย์ 30ก.ค.-ตามที่มีข่าวปรากฏผ่านสื่อ “จิบน้ำขมิ้นชันป้องกันมะเร็ง” สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ตรวจสอบข้อมูลวิชาการพบข้อเท็จจริง คือยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าน้ำขมิ้นชันช่วยป้องกันมะเร็ง นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.) เป็นพืชสมุนไพรนิยมใช้เป็นเครื่องเทศสำหรับแต่งรสและสีผสมอาหาร ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและอาจมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งผิวหนัง ซึ่งผลการศึกษานี้เป็นเพียงผลวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานวิจัยที่ทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าสารนี้ช่วยป้องกันหรือรักษามะเร็ง นอกจากนี้การดื่มน้ำขมิ้นชันอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการป้องกันมะเร็ง หากประชาชนยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือรับประทานอาหารที่อาจปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันมีหลายรูปแบบ เช่น เหง้าสด เหง้าแห้ง ผง แคปซูล ยาเม็ด ยาทาผิวหนัง และเครื่องดื่มชาขมิ้นชัน แม้ว่าจะเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนรับประทาน .-สำนักข่าวไทย

สถาบันมะเร็งฯ ยืนยันจริง “เนื้อแดง-อาหารแปรรูป” เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ยืนยันข่าวจริง “WHO ฟันธง การรับประทานเนื้อแดงและอาหารแปรรูป เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่”

1 2
...