fbpx

วิจัยพบโลกอนาคตเผชิญ “แห้งแล้งฉับพลัน” บ่อยขึ้น

หนานจิง, 7 พ.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนเปิดเผยว่าโลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การเผชิญภาวะแห้งแล้งฉับพลันบ่อยขึ้น และการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ผลการศึกษาจากวารสารไซเอนส์ (Science) ระบุว่าภาวะแห้งแล้งฉับพลันหรือการเริ่มแห้งแล้งอย่างรวดเร็วจะเกิดขึ้นอย่างเป็นปกติยิ่งขึ้นบนพื้นที่บกส่วนใหญ่ในอนาคตที่อากาศอบอุ่นขึ้น การเกิดภาวะแห้งแล้งโดยทั่วไปใช้เวลาหลายเดือนหรือนานกว่านั้น แต่ด้วยภาวะอุณหภูมิสูงผิดปกติควบคู่กับภาวะขาดแคลนน้ำฝนขั้นรุนแรง ส่งผลให้ความชื้นในดินลดลงอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงภายในไม่กี่สัปดาห์ ภาวะแห้งแล้งฉับพลันลดการกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศบนบกอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ อาทิ คลื่นความร้อน ไฟป่า และไฟฟ้าดับ กลายเป็นภัยคุกคามทั้งระบบนิเวศและการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศหนานจิงได้ดำเนินการวิจัยโดยอ้างอิงข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแห้งแล้งระหว่างปี 1951-2014 และพบการเกิดภาวะแห้งแล้งรวดเร็วเพิ่มขึ้นทั่วโลก บ่งชี้การเปลี่ยนผ่านทั่วโลกสู่การเกิดภาวะแห้งแล้งฉับพลันบ่อยขึ้น หยวนซิง ผู้นำทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฯ กล่าวว่าผลการศึกษานี้แสดงการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและละอองลอย โดยการวิจัยเพิ่มเติมคาดว่าการเปลี่ยนผ่านจะขยายตัวไปยังพื้นที่บกส่วนใหญ่ของโลกในอนาคตที่อากาศอบอุ่นขึ้น – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230506/3af5db74471b4870a5eeda69df00083f/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/356316_20230507ขอบคุณภาพจาก Xinhua

นักวิจัยจีนพัฒนา “แก้ว” ชนิดใหม่ ย่อยสลาย-รีไซเคิลได้

ปักกิ่ง, 30 มี.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิจัยจีนพัฒนาแก้วชนิดใหม่ที่สามารถย่อยสลายและรีไซเคิลทางชีวภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกอันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเล็กน้อย เนื่องจากแก้วถูกใช้งานกว้างขวางในหลายด้านและเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ดี การใช้แก้วอนินทรีย์เชิงพาณิชย์และแก้วพลาสติกในปัจจุบันก่อเกิดอันตรายต่อระบบนิเวศและภาระสังคม เพราะไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิศวกรรมกระบวนการ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน จึงดำเนินการพัฒนาแก้วที่ย่อยสลายทางชีวภาพด้วยการใช้กรดอะมิโนหรือเปปไทด์ที่มาจากกระบวนการชีวภาพผ่านขั้นตอนชุบแข็ง ผลการศึกษาในวารสารไซแอนซ์ แอดวานซ์ (Science Advances) ระบุว่าแก้วชนิดใหม่นี้สามารถขึ้นรูปและมีคุณสมบัติทางแสงยอดเยี่ยม ทำให้เหมาะสำหรับการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุด้วยการพิมพ์ 3 มิติ และการหล่อแม่พิมพ์ แก้วดังกล่าวสามารถย่อยสลายและนำกลับมาใช้ใหม่โดยจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมัก อีกทั้งยังสามารถทยอยย่อยสลายและดูดซึมหลังจากฝังใต้ผิวหนังของหนู ผลการศึกษายังพบว่าแก้วชนิดใหม่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ ความสามารถย่อยสลายทางชีวภาพ และความสามารถรีไซเคิลทางชีวภาพสูง เมื่อเทียบกับแก้วเชิงพาณิชย์และวัสดุพลาสติกที่ใช้กันในปัจจุบัน – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230330/617c9742e11f4068a5d627bce20cb32d/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/348947_20230401ขอบคุณภาพจาก Xinhua

อนามัยโลกจะเดินหน้าหาคำตอบเรื่องต้นกำเนิดโควิด

นายเทดรอส อาดานอม เกเบรเยซัส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าววานนี้ว่า องค์การอนามัยโลกจะยังคงเดินหน้าหาความจริงจนกว่าจะพบคำตอบว่า เชื้อไวรัสโรคโควิด-19 เริ่มต้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร หลังมีรายงานว่าองค์การอนามัยโลกยกเลิกการศึกษาเรื่องนี้แล้ว

ศึกษาพบ “เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล” เชื่อมโยงอาการผมร่วงในหมู่ชายหนุ่ม

ปักกิ่ง, 2 ก.พ. (ซินหัว) — ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิงหัวของจีน ค้นพบความเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงกับอาการผมร่วงในหมู่ชายหนุ่ม คณะนักวิจัยดำเนินการวิเคราะห์ผลการสำรวจผู้ชายชาวจีน 1,028 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 27.8 ปี ซึ่งพบว่าราวร้อยละ 57.6 ของผู้เข้าร่วมสำรวจ เผชิญอาการผมร่วงแบบผู้ชาย (MPHL) อาการผมร่วงแบบผู้ชายเป็นรูปแบบผมร่วงที่พบได้บ่อยที่สุดในหมู่ผู้ชาย หรือครองสัดส่วนราวร้อยละ 95 ของอาการผมร่วงทั้งหมดที่ผู้ชายเผชิญ โดยอาการผมร่วงส่งผลให้ผมบางและ/หรือหลุดร่วงบริเวณด้านหน้าหรือด้านบนของหนังศีรษะ และเส้นผมมีแนวโน้มที่จะมีขนาดเล็กลงในบริเวณเหล่านี้ การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหลายประเภท ได้แก่ น้ำผลไม้ น้ำอัดลม เครื่องดื่มเกลือแร่และเครื่องดื่มชูกำลัง นมใส่น้ำตาล นมถั่ว ชาใส่น้ำตาลและเครื่องดื่มชา และกาแฟ กลุ่มผู้เข้าสำรวจร้อยละ 44.6 กล่าวว่าพวกเขาดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากกว่า 7 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยคณะนักวิจัยพบว่าผู้ที่บริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงขึ้นจะมีความเสี่ยงเผชิญอาการผมร่วงแบบผู้ชายมากขึ้นตามไปด้วย ขณะระดับการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในกลุ่มผู้ที่มีอาการดังกล่าวเฉลี่ยอยู่ที่ 4,293 มิลลิลิตรต่อสัปดาห์ สูงกว่าระดับของกลุ่มปกติ ซึ่งอยู่ที่เพียง 2,513 มิลลิลิตร คณะนักวิจัยกล่าวว่าปริมาณน้ำตาลที่สูงขึ้นสามารถนำไปสู่ความเข้มข้นของกลูโคสในเลือดที่สูงขึ้น ส่งผลให้วิถีการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นน้ำตาลฟรักโทส หรือที่เรียกว่าวิถีโพลีออล (polyol pathway) ทำงานมากเกินจำเป็น ซึ่งอาจนำไปสู่โรคเบาหวานได้ โดยการศึกษาชี้ว่าอาการผมร่วงบ่งบอกถึง “วิถีโพลีออลที่ทำงานมากเกินไป” […]

นักวิจัยจีนค้นพบวิธีสังเคราะห์ “แป้ง-โปรตีน” จากซังข้าวโพด

ปักกิ่ง, 16 ม.ค. (ซินหัว) — เมื่อไม่นานนี้ คณะนักวิจัยชาวจีนได้พัฒนาวิธีการสังเคราะห์แป้งเทียมและโปรตีนจากจุลินทรีย์ (microbial proteins) ที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยการใช้ซังข้าวโพด ซึ่งวิธีการนี้สามารถลดต้นทุนการผลิตแป้งเทียมและนำเสนอทางเลือกใหม่ในการผลิตอาหาร รายงานระบุว่าจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อให้เกิดความท้าทายอย่างมากต่อความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้นการเปลี่ยนของเสียทางการเกษตรให้กลายเป็นอาหารเทียมจึงนับเป็นวิธีการสำคัญในการบรรเทาวิกฤตการณ์ด้านอาหารและบรรลุการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน คณะนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรจีน (CAAS) และสถาบันอื่นๆ ในจีน ได้ใช้ระบบโมเลกุลเอนไซม์หลากชนิด (multi-enzyme) และยีสต์ของขนมปัง เพื่อเปลี่ยนเซลลูโลส (cellulose) ในซังข้าวโพดให้เป็นแป้งเทียม และผลิตโปรตีนจากจุลินทรีย์ด้วยกระบวนการหมักภายใต้สภาวะที่มีก๊าซออกซิเจน (aerobic conditions) ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการผลิตทั้งหมดใช้เงินลงทุนค่าอุปกรณ์เพียงเล็กน้อย และไม่ต้องใช้โคเอนไซม์ (coenzyme) หรือพลังงาน รวมถึงไม่นำไปสู่การสูญเสียน้ำตาล ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นไปได้ในการผลิตแป้งเทียมและโปรตีนจากจุลินทรีย์ด้วยต้นทุนต่ำ อนึ่ง ผลการศึกษาข้างต้นได้รับการตีพิมพ์ในวารสารไซเอนซ์ บูลเลติน (Science Bulletin)- สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ https://english.news.cn/20230116/bc66ed28cbdf49ca99ba3085fd0d1b73/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/332859_20230117ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ญี่ปุ่นวิจัยผลิตไฟฟ้าจากหิมะ

อาโอโมริ 8 ม.ค.- ญี่ปุ่นเริ่มงานวิจัยผลิตไฟฟ้าจากกองหิมะที่เมืองอาโอโมริ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ หวังได้แหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนแห่งใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้น บริษัทฟอร์เท (Forte) สตาร์ทอัพด้านไอทีท้องถิ่นร่วมกับมหาวิทยาลัยการสื่อสารไฟฟ้าหรือยูอีซี (UEC) ในกรุงโตเกียว ใช้สระว่ายน้ำของโรงประถมศึกษาร้างแห่งหนึ่งในเมืองอาโอโมริที่มีหิมะตกหนักทุกปี เริ่มการทดลองเมื่อเดือนธันวาคม เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ประโยชน์จากความแตกต่างทางอุณหภูมิระหว่างกองหิมะในสระว่ายน้ำกับอากาศโดยรอบ พวกเขาต้องการหมุนกังหันด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นเมื่อของเหลวที่เย็นเพราะกองหิมะถูกทำให้ระเหยกลายเป็นไอด้วยความร้อนของอากาศโดยรอบ บริษัทฟอร์เทเผยว่า ความท้าทายในการผลิตไฟฟ้าจากหิมะคือ การหาสถานที่ขนาดใหญ่เพื่อสะสมกองหิมะ และการทำให้อากาศร้อนในช่วงฤดูหนาว บริษัทจะพิจารณาเรื่องใช้ความร้อนจากบ่อน้ำพุร้อนเพื่อให้อุณหภูมิของอากาศโดยรอบมีความแตกต่างอย่างมากจากกองหิมะ การผลิตไฟฟ้าจากกองหิมะได้รับความสนใจในช่วงหลายปีมานี้ เนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้นทุนต่ำ ปลอดภัย และยังเหมาะกับเมืองที่มีหิมะตกหนักอย่างอาโอโมริที่ต้องใช้งบประมาณมากเป็นประวัติการณ์ถึง 5,900 ล้านเยน (ราว 1,500 ล้านบาท) ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2565 เพื่อโกยหิมะปริมาณมหาศาลไปทิ้งทะเล.-สำนักข่าวไทย

กรมวิทย์ฯ จับมือเอกชนวิจัยกัญชงกัญชา

กรมวิทย์ฯ จับมือภาคเอกชนและวิสาหกิจชุมชน พัฒนาความร่วมมือด้านการปลูก สกัด และวิจัยพืชกัญชากัญชง เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเชิงพาณิชย์

BIG STORY : “มณีแดง” ช่วยชะลอวัย ความหวังมนุษยชาติ

นักวิจัยจุฬาฯ คิดค้น “มณีแดง” ช่วยชะลอวัย ทดลองในหนูย้อนวัยได้ 40 ปี คาดจะผลิตมณีแดงเป็นยาได้ปลายปี 66 และทดลองในมนุษย์ได้ในปี 67 หวังมณีแดงจะเป็นผลิตภัณฑ์ยาที่สร้างรายได้ให้ประเทศไทยมหาศาล รวมทั้งเป็นความหวังของมนุษยชาติในการแก้ปัญหาสังคมผู้สูงอายุ

ม.อ.วิจัยพบคนติดเชื้อโควิด-19 จากแมวเป็นครั้งแรก

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำการวิจัยการแพร่เชื้อโควิด-19 จากสัตว์สู่คน พบว่าแมวสามารถแพร่เชื้อโควิด-19 สู่คนได้เป็นครั้งแรก ล่าสุดผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังถูกเผยแพร่และตีพิมพ์ในวารสารสื่อต่างประเทศ

ยาฟาเวียร์ที่ อภ.ผลิต ได้ขึ้นทะเบียน อย.แล้ว

อภ.15 ก.ค.- ยาฟาวิพิราเวียร์ ภายใต้ชื่อ ฟาเวียร์ (200 มิลลิกรัมต่อเม็ด) ขององค์การเภสัชกรรม ที่วิจัย พัฒนาและผลิตเอง ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย.แล้ว ต้น ส.ค.นี้เริ่มกระจายเข้าระบบการรักษาผู้ป่วยโควิด ระยะแรกผลิตได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 2 ล้านเม็ด และจะขยายกำลังการผลิตเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ กล่าวว่า ยาฟาเวียร์ (200มิลลิกรัมต่อเม็ด) มีชื่อสามัญทางยา คือ ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir ) ที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้ดำเนินการ วิจัย พัฒนา และผลิตเอง ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เรียบร้อยแล้ว โดยยาฟาเวียร์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสามัญรายแรกของประเทศไทยมีคุณภาพมาตรฐานสากล จะเริ่มผลิตและกระจายให้ผู้ป่วยได้ใช้ในต้นเดือนสิงหาคมนี้ โดยในระยะแรกผลิตได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 2 ล้านเม็ด ที่โรงงานขององค์การฯ ที่ถนนพระราม 6 และจะขยายกำลังการผลิตไปยังโรงงานผลิตยาที่ คลอง10 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การผลิตยาดังกล่าวขององค์การฯครั้งนี้ ทำให้ราคายาถูกลงกว่าการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ส่งผลให้รัฐประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศ “ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นรายการยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 […]

นพ.ยง เผยกำลังวิจัยฉีดวัคซีนเข็ม 1 และ 2 ต่างยี่ห้อกัน

ศ.นพ.ยง เผยศูนย์กำลังเริ่มวิจัยฉีดวัคซีนเข็ม 1 และ 2 ต่างยี่ห้อกัน ซึ่งการศึกษาต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ถ้าการสลับวัคซีนปลอดภัย จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในยามวัคซีนขาดแคลน หรือแพ้วัคซีน

1 2 3 4
...