fbpx

ผลวิจัยชี้เสี่ยงหน้าเบี้ยวครึ่งซีกหลังฉีดวัคซีนของซิโนแวก

ลอนดอน 17 ส.ค. – วารสารการแพทย์แลนเซตด้านโรคติดเชื้อ เผยแพร่ผลวิจัยที่ระบุว่า ความเสี่ยงจากอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกจะเพิ่มสูงขึ้นหลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ของซิโนแวกเข็มแรก ผลวิจัยดังกล่าวได้เก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการทดสอบกว่า 451,000 คน และพบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันทางคลินิก 28 คนที่มีอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกหลังฉีดวัคซีนของซิโนแวก ซึ่งเป็นตัวเลขสูงกว่าผู้ฉีดวัคซีนของไฟเซอร์ที่มีอาการดังกล่าวเพียง 16 คน ผลวิจัยดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงโดยรวมของอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีกที่เพิ่มสูงขึ้นหลังฉีดวัคซีนของซิโนแวก อย่างไรก็ดี ผลวิจัยระบุว่า วัคซีนของซิโนแวก ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพป้องกันโรคโควิด-19 มากกว่าความเสี่ยงจากอาการข้างเคียง ทั้งนี้ ผลวิจัยดังกล่าวได้รับการจัดทำขึ้นในฮ่องกงและประเมินความเสี่ยงของอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีนภายใน 42 วัน ขณะนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์สยังไม่สามารถติดต่อซิโนแวกเพื่อขอความเห็นจากเรื่องดังกล่าวได้ในทันที.-สำนักข่าวไทย

แอสตราฯ อิงวารสารการแพทย์ยันความปลอดภัยวัคซีน

สำนักข่าวไทย 29 ก.ค- แอสตราฯ เผยนำข้อมูลวารสารการแพทย์ ยันความปลอดภัยของวัคซีน โดยการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังรับวัคซีนเข็ม 2 เท่ากับภาวะปกติทั่วไป กับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน เซอร์ เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (biopharmaceuticals) บริษัท แอสตร้าเซเนก้า กล่าวว่า ข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ The Lancet วันนี้ แสดงให้เห็นอัตราของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ(thrombocytopenia syndrome หรือ TTS) หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 2 พบผู้ที่เกิดภาวะลิ่ม TTS 2.3 ใน 1,000,000 คน และพบผู้ที่เกิดภาวะTTS 8.1 ใน 1,000,000 คน หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรก1 โดยอัตราการเกิดภาวะ TTS หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2ไม่แตกต่างจากอัตราที่พบในประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน ผลการวิเคราะห์นี้ได้สนับสนุนการฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็มตามที่ระบุไว้ในเอกสารกำกับยา เพื่อช่วยป้องกันโรคโควิด -19 รวมถึงไวรัสสายพันธุ์ต่างๆที่พบมากขึ้น เซอร์ เมเน กล่าวว่า การวิเคราะห์นี้ดำเนินการโดยใช้ฐานข้อมูลความปลอดภัยทั่วโลกของแอสตร้าเซนเนก้า […]

สธ.เตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนก กินลิ้นจี่สุกได้ปกติ

สธ.เตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนก ลิ้นจี่ที่สุกงอมแล้วสามารถกินได้ตามปกติ แต่ไม่ควรกินขณะท้องว่าง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

...