วุฒิสภาสหรัฐผ่านร่างกฎหมายงบประมาณ-เลี่ยงชัตดาวน์

วุฒิสภาสหรัฐลงมติให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายเกี่วกับการใช่จ่ายเงินในช่วงเช้าตรู่วันนี้ ทันเวลาเส้นตายซึ่งทำให้สามารถหลีกเลี่ยงการชัตดาวน์รัฐบาลได้ก่อนที่จะถึงช่วงเทศกาลวันหยุด

Nat'l Assembly passes bill on permanent special counsel probe into Yoon's insurrection charges

สภาเกาหลีใต้ผ่านร่าง กม.สอบสวน ปธน.ข้อหากบฏ

โซล 10 ธ.ค.- รัฐสภาเกาหลีใต้ผ่านร่างกฎหมายในวันนี้ ให้อำนาจคณะที่ปรึกษากฎหมายพิเศษถาวรเปิดการสอบสวนข้อหากบฏกับประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล กรณีประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อสัปดาห์ก่อน สมัชชาแห่งชาติซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติแบบสภาเดียวผ่านร่างกฎหมายด้วยคะแนนเสียง 210 ต่อ 63 เสียง และงดออกเสียง 14 เสียง เรียกร้องให้สอบสวนนายยุน ประธานาธิบดี, นายคิม ยง-ฮยอน อดีตรัฐมนตรีกลาโหม, พล.อ.พัก อัน-ซู ผู้บัญชาการทหารบก และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อกลางดึกวันที่ 3 ธันวาคม สมาชิกสภาพรรคพลังประชาชนหรือพีพีพี (PPP) ที่เป็นพรรครัฐบาลร่วมลงคะแนนในวันนี้ หลังจากหัวหน้าพรรคประกาศให้สมาชิกลงคะแนนได้โดยไม่ถือว่าเป็นมติพรรค โดยพบว่านายกรัฐมนตรีฮัน ด็อก-ซู และนายชู ยอง-โฮ อดีตผู้นำในสภาของพีพีพีลงคะแนนผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวด้วย การสอบสวนของคณะที่ปรึกษากฎหมายพิเศษถาวรแตกต่างจากคณะที่ปรึกษากฎหมายพิเศษทั่วไปตรงที่ประธานาธิบดีไม่สามารถใช้สิทธิยับยั้งร่างกฎหมายให้อำนาจคณะที่ปรึกษากฎหมายพิเศษถาวรได้ แต่สามารถชะลอการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาชุดนี้ได้.-814.-สำนักข่าวไทย

ร่าง พ.ร.บ.​กลาโหม​ ต้องรอมติ สส.​ เอาด้วยหรือไม่

รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย​ เผยร่าง พ.ร.บ.​กลาโหม​ ต้องรอมติ สส.​ เอาด้วยหรือไม่ ยอมรับ​เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย​ จะเดินหน้าผลักดันเข้าสภา​สุดท้ายต้องฟังเสียงพรรค

New Zealanders march towards Wellington to protest Indigenous treaty bill

ชาวเมารีเต้นฮากาประท้วงร่าง กม.นิวซีแลนด์

เวลลิงตัน 15 พ.ย.- ผู้คนในหลายเมืองทั่วนิวซีแลนด์เข้าร่วมการเดินขบวนมุ่งหน้าไปยังกรุงเวลลิงตัน เพื่อประท้วงร่างกฎหมายลิดรอนสิทธิของชนพื้นเมือง โดยมีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารีในระหว่างการประท้วงด้วย รัฐสภานิวซีแลนด์ผ่านความเห็นชอบในเบื้องต้นเมื่อวานนี้ เรื่องการตีความใหม่สนธิสัญญาอายุ 184 ปี ที่มกุฎราชกุมารอังกฤษกับหัวหน้าชาวเมารีมากกว่า 500 คนลงนามในปี พ.ศ.2383 กำหนดเรื่องการปกครองนิวซีแลนด์ร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการออกกฎหมายและนโยบายของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ทั่วนิวซีแลนด์ โดยมีการจัดเดินขบวนเป็นเวลา 9 วันมุ่งไปยังกรุงเวลลิงตัน คาดว่าขบวนจะถึงเมืองหลวงในวันที่ 19 พฤศจิกายน ตำรวจแถลงวันนี้ว่า มีคนประมาณ 10,000 คน เข้าร่วมการเดินขบวนในเมืองโรโตรัว ห่างจากกรุงเวลลิงตันไปทางเหนือราว 450 กิโลเมตร ผู้ประท้วงแต่งกายในชุดชนพื้นเมือง มีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารี โดยได้รับการต้อนรับจากคนจำนวนมากที่มาโบกธงเมารีและร่วมร้องเพลง.-814.-สำนักข่าวไทย

“สภาสูง” สรุปผลงาน ประชุม 21 ครั้ง สว.หารือ 123 เรื่อง

“สภาสูง” สรุปผลงาน ประชุม 21 ครั้ง สว.หารือ 123 เรื่อง ถกร่างกฎหมาย 11 ฉบับ ตั้งกระทู้ถามควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน 52 กระทู้

“วิสุทธิ์” เผยผลงานวิปรัฐบาล เข็นร่างกฎหมายผ่านสภา 4 ฉบับ

“วิสุทธิ์” เผยผลงานวิปรัฐบาล เข็นร่างกฎหมายผ่านสภา 4 ฉบับ รอทูลเกล้าฯ ถวาย 2 ฉบับ และอยู่ในกระบวนการพิจารณาหลายฉบับ ขณะที่นายกฯ ตีตกร่างกฎหมายการเงิน 17 ฉบับ

“สนธิญา​” ยื่น ปธ.รัฐสภา​ ค้านรับร่างแก้ รธน. ปมจริยธรรม​

“สนธิญา​” ยื่นประธานรัฐสภา​ ค้านรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ​ ปมจริยธรรม​ของพรรคเพื่อไทย-ประชาชน​ ชี้ละเมิดสิทธิ์ประชาชนที่เห็นชอบกว่า 16 ล้านคน อีกทั้ง 2 พรรค มีปัญหาเรื่องจริยธรรมมากที่สุด หวั่น หากรับแก้แตกแยกแน่

สภาฯ ลุยถกแก้ กม.ประชามติ

สภาฯ เดินหน้าถกแก้ กม.ประชามติ “เพื่อไทย” แจงแก้ระบบเสียงข้างมาก 2 ชั้น หวังดัน รธน.ผ่านง่าย ด้าน “ก้าวไกล” ท้วงให้เขียนกติกาเป็นธรรม ไม่วางเป้าเพื่อให้ได้เปรียบเรื่องแก้ รธน.

ชวนคนไทยนับถอยหลังอีก 2 วัน ร่วมฉลอง “สมรสเท่าเทียม”

“รัดเกล้า” ชวนคนไทย นับถอยหลังอีก 2 วัน 18 มิ.ย. ร่วมฉลอง “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” ใกล้เข้าเส้นชัย สู่ความเป็นจริงที่สมบูรณ์

สภาโคลอมเบียผ่านร่างกฎหมายห้ามสู้วัวกระทิง

โบโกตา 29 พ.ค.- รัฐสภาโคลอมเบียผ่านร่างกฎหมายห้ามสู้วัวกระทิงเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น หลังจากพยายามมาตลอด 7 ปี ขณะที่กลุ่มทางการเมืองและกลุ่มทางสังคมบางกลุ่มประกาศจะรักษาประเพณีนี้ที่สืบทอดมาหลายศตวรรษ รัฐสภาโคลอมเบียผ่านร่างกฎหมายนี้ด้วยคะแนน 93 เสียง คัดค้าน 2 เสียง กำหนดห้ามการสู้วัวกระทิงภายใน 3 ปี โดยจะถือว่าผิดกฎหมายตั้งแต่ต้นปี 2571 ร่างกฎหมายนี้จะต้องได้รับการลงนามจากประธานาธิบดีกุสตาโว เปโตร ที่คัดค้านการสู้วัวกระทิงมาโดยตลอด สมาชิกสภาคนหนึ่งกล่าวว่า การแสดงความทรมานและความป่าเถื่อนไม่ควรถือว่าเป็นวัฒนธรรม ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญโคลอมเบียได้เรียกร้องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาให้รัฐสภาออกกฎหมายที่ชัดเจนในเรื่องสู้วัวกระทิง การสู้วัวกระทิงมีต้นกำเนิดที่คาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของสเปน โปรตุเกส อันดอร์รา และยิบรอลตาร์ในปัจจุบัน และยังคงถือว่าเป็นเรื่องถูกกฎหมายในหลายประเทศ เช่น สเปน ฝรั่งเศส โปรตุเกส เปรู เอกวาดอร์ และเม็กซิโก ประเพณีนี้เคยได้รับความนิยมอย่างสูง ถึงกับมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์หลายช่อง แต่เริ่มมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ควรเห็นความเจ็บปวดของสัตว์เป็นความบันเทิง ขณะที่บางฝ่ายมองว่า การห้ามสู้วัวกระทิงละเมิดเสรีภาพของคนกลุ่มน้อยและสร้างปัญหาให้แก่เมืองที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาชมการสู้วัวกระทิง.-814.-สำนักข่าวไทย

เกาหลีใต้อนุมัติรื้อคดีอิแทวอนขึ้นมาสอบใหม่

โซล 2 พ.ค.- รัฐสภาเกาหลีใต้ลงมติผ่านร่างกฎหมายที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ให้เปิดการสอบสวนใหม่ในคดีเบียดกันตาย 159 ศพช่วงเทศกาลฮาโลวีนปี 2565 ที่ย่านอิแทวอนของกรุงโซล ร่างกฎหมายนี้ปรับปรุงจากร่างกฎหมายเดิมที่เสนอโดยรัฐสภาที่มีฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคพลังประชาชนหรือพีพีพี (PPP) ที่เป็นรัฐบาล และถูกประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ใช้สิทธิยับยั้งในเดือนมกราคม ทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้แถลงว่า ร่างกฎหมายฉบับล่าสุดได้ยกเลิกการให้อำนาจสอบสวนเต็มแก่คณะทำงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่ประธานาธิบดีคัดค้าน และจะตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเสนอแนะโดยพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค และมีประธานที่ได้รับเลือกจากทั้ง 2 พรรค ทำหน้าที่สอบสวนคดี รัฐสภาเกาหลีใต้ผ่านร่างกฎหมายนี้ หลังจากประธานาธิบดียุนพบหารือกับนายอี แจ-มยอง หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยที่เป็นฝ่ายค้านหลักเมื่อวันจันทร์ และมีขึ้นในช่วงที่ญาติมิตรของผู้เสียชีวิตเพิ่มการกดดันให้ทางการนำตัวผู้รับผิดชอบในเหตุเบียดกันตายเมื่อคืนวันที่ 29 ตุลาคม 2565 มาลงโทษ ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชนเรียกร้องให้มีการสอบสวนอิสระตั้งแต่เกิดเหตุ ผลการสอบสวนของตำรวจที่มีการเปิดเผยเมื่อปี 2566 สรุปว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโศกนากฏกรรมดังกล่าวคือ การไม่เตรียมพร้อมและการตอบสนองไม่ดีพอ คณะอัยการสั่งฟ้องอดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลโซลในเดือนมกราคมปีนี้ว่า มีส่วนทำให้เกิดเหตุเบียดกันตายเนื่องจากละเลยการปฏิบัติหน้าที่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการลาออกหรือปลดบุคคลตำแหน่งสูงในรัฐบาล.-814.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 10
...