ยูกันดาเดินหน้าค้นหาเหยื่อกองขยะถล่ม

กัมปาลา 11 ส.ค. – ยูกันดาเดินหน้าค้นหาผู้ที่ยังสูญหายจากเหตุที่ฝังกลบขยะพังถล่มลงมาบางส่วนเพราะฝนตกหนัก หลังจากพบผู้เสียชีวิตแล้ว 12 คน ที่ฝังกลบขยะขนาดใหญ่ในกรุงกัมปาลาของอูกันดาพังถล่มลงมาบางส่วนเมื่อคืนวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 12 คน และยังมีผู้สูญหายหลายคน ปฏิบัติการค้นหาดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงเย็นวันเสาร์ เหตุเกิดขึ้นหลังฝนตกหนักทำให้กองดินปนขยะขนาดใหญ่ถล่มทับบ้านเรือนหลายหลังที่อยู่ใกล้เคียง มีรายงานมีผู้ได้รับการช่วยเหลือแล้ว 14 คน บริเวณดังกล่าวเป็นที่รู้จักในชื่อว่า คิเตซี ถูกใช้เป็นที่ฝังกลบขยะเพียงแห่งเดียวของกรุงกัมปาลามาหลายทศวรรษ จนกลายเป็นหุบเขาขยะ ชาวบ้านได้ร้องเรียนมาโดยตลอดเรื่องขยะพิษและอันตรายที่จะเกิดกับผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง จนกระทั่งเกิดเหตุสลดดังกล่าว.-810(814).-สำนักข่าวไทย

กลุ่มหัวรุนแรงบุกสังหารนักเรียนเกือบ 40 คนในยูกันดา

กลุ่มหัวรุนแรงบุกโจมตีโรงเรียนแห่งหนึ่งในยูกันดา และสังหารนักเรียนเสียชีวิตเกือบ 40 คน ด้านเลขาธิการยูเอ็น กล่าวประณามผู้ก่อเหตุอย่างรุนแรง พร้อมเรียกร้องทางการยูกันดาเร่งนำตัวผู้ก่อเหตุมาลงโทษ

ชายยูกันดามีเมีย 12 คน ลูก 102 คน หลาน 568 คน

ชายชาวยูกันดารายหนึ่งมีเมีย 12 คน ลูกอีก 102 คน แถมหลานๆ ที่เกิดมาอีก 568 คน ล่าสุดเลี้ยงไม่ไหว ขอยุติการขยายจำนวนสมาชิกครอบครัวแล้ว

เบียดเสียดแย่งดูพลุปีใหม่ในยูกันดา ตาย 9

เกิดเรื่องเศร้าในกิจกรรมจุดพลุปีใหม่ที่ประเทศยูกันดา เมื่อผู้คนแห่วิ่งไปดูการจุดพลุปีใหม่ของห้างฯ ใจกลางเมืองหลวง จนเบียดเสียดกันบริเวณทางเดินแคบๆ มีผู้เสียชีวิต 9 ราย

ยูกันดาขาดแคลนหมอรับมืออีโบลา

กัมปาลา 17 พ.ย.- แพทย์ในยูกันดาเผยว่า ความกลัวติดโรคอีโบลาที่ทำให้ถึงตาย ความเหนื่อยล้า และเงินเดือนล่าช้า เป็นสาเหตุที่ทำให้เหลือแพทย์เพียงไม่กี่คนในโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโรคอีโบลา หอแยกผู้ป่วยที่โรงพยาบาลฟอร์ตพอร์ทัล ทางตะวันตกของยูกันดา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลรับผู้ป่วยส่งต่อระดับภูมิภาค มีแพทย์ 10 คนเข้ามาทำงานทันทีที่อีโบลาเริ่มระบาดครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน แต่ขณะนี้เหลือแพทย์เพียง 3 คน แพทย์ที่เหลืออยู่เผยว่า แพทย์ส่วนใหญ่ลังเลที่จะมาทำงานในหอแยกผู้ป่วยนี้ เพราะกลัวติดเชื้อไวรัสอีโบลา เนื่องจากมีบุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิตไปแล้ว 2 คน ขณะที่โรงพยาบาลทั่วประเทศมีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อทั้งหมด 15 คน และเสียชีวิตไปแล้ว 6 คน นอกจากนี้ยังเป็นเพราะความเหนื่อยล้าและเงินเดือนที่จ่ายล่าช้า ยูกันดามีแพทย์เพียง 1 คนต่อประชากร 25,000 คน ต่ำกว่าเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกที่ 1 คนต่อ 1,000 คน กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า ไม่มีปัญหาขาดแคลนบุคลากรหรือทรัพยากร แพทย์หอผู้ป่วยวิกฤตหรือไอซียูทำงานสูงสุดกะละ 8 ชั่วโมง และมีการนำบุคลากรจากพื้นที่ที่ปลอดอีโบลามาทำงานหมุนเวียน แต่สมาคมแพทย์ยูกันดาแย้งว่า ตั้งแต่อีโบลายังไม่ระบาด ยูกันดาก็มีแพทย์ทำงานเพียงร้อยละ 40 อีโบลาเข้ามาทำให้ระบบสาธารณสุขใช้การไม่ได้ทางอ้อม เพราะบุคลากรขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคลหรือพีพีอีในการรักษาผู้ป่วย เชื้อไวรัสอีโบลาที่กำลังระบาดในยูกันดาเป็นสายพันธุ์ซูดานที่ยังไม่มีวัคซีนที่ป้องกันได้ผล ยอดผู้ป่วยเพิ่มเป็น 141 […]

ยูกันดาพบผู้ติดอีโบลา 14 คนในช่วง 2 วัน

กัมปาลา 24 ต.ค.- กระทรวงสาธารณสุขยูกันดาแถลงวันนี้ว่า พบผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาในกรุงกัมปาลาเพิ่มอีก 9 คน ทำให้พบรวมแล้ว 14 คนในช่วง 2 วันที่ผ่านมา อีโบลาเริ่มระบาดในยูกันดาตั้งแต่เดือนกันยายนในพื้นที่ชนบททางตอนกลางของประเทศ จากนั้นได้แพร่มายังกรุงกัมปาลาที่มีคนอยู่อาศัยมากกว่า 1 ล้าน 6 แสนคน เริ่มจากชายคนหนึ่งที่เดินทางมารักษาตัวในโรงพยาบาลกรุงกัมปาลาแล้วเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ทางการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9 คนเมื่อวันอาทิตย์ โดยที่ 7 คนเป็นคนในครอบครัวของเขา และ 2 คนเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รักษาเขา และภรรยาของเจ้าหน้าที่รายนี้ โฆษกกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ผู้ติดเชื้อทุกรายอยู่ในหน่วยแยกกักโรคของโรงพยาบาลตั้งแต่แสดงอาการ จึงมีความเสี่ยงต่ำที่จะแพร่เชื้อให้ผู้อื่น เชื้อไวรัสอีโบลาแพร่จากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ อาการได้แก่ อ่อนแรงอย่างมาก ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย ผู้ติดเชื้อมีอัตราการเสียชีวิตราวครึ่งหนึ่ง สายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดในยูกันดาเป็นสายพันธุ์ซูดานที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ต่างจากสายพันธุ์ซาอีร์ที่แพร่ระบาดเมื่อไม่นานมานี้ในสาธารณประชาธิปไตยคองโกที่อยู่ติดกัน กระทรวงสาธารณสุขยูกันดาและองค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันและเข้าข่ายต้องสงสัยในยูกันดามากกว่า 90 คนแล้วนับตั้งแต่เริ่มการระบาด ในจำนวนนี้เสียชีวิต 44 คน.-สำนักข่าวไทย

ยูกันดาเจออีโบลาในเมืองหลวงอีก

กัมปาลา 23 ต.ค.- กระทรวงสาธารณสุขยูกันดาแจ้งว่า พบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสอีโบลารายใหม่อีก 2 ราย ในหน่วยแยกกักโรคของโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงกัมปาลา ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้พบผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วในขณะนี้ 5 ราย กระทรวงสาธารณสุขยูกันดาซึ่งเป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกแถลงวันนี้ว่า ผู้ป่วย 3 รายจากทั้งหมด 60 รายที่ถูกแยกกักโรคในโรงพยาบาลมูลาโกของกรุงปัมปาลามีผลตรวจหาเชื้อเป็นบวกเมื่อวันก่อน ทั้ง 3 คนใกล้ชิดกับผู้ป่วยคนหนึ่งที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลเดียวกัน ส่วนเมื่อวานนี้พบผู้ป่วยที่ถูกแยกกักโรคอีก 2 คนที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิตรายนี้มีผลตรวจหาเชื้อเป็นบวก ทั้งคู่ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป 41 กิโลเมตร กรุงกัมปาลาพบผู้ป่วยอีโบลาที่ได้รับการยืนยัน 5 ราย หลังจากกระทรวงสารสนเทศประกาศได้ไม่กี่วันว่า ยูกันดาใกล้จะควบคุมการระบาดของอีโบลาได้ในเร็ว ๆ นี้ โดยคาดว่าการระบาดจะสิ้นสุดภายในสิ้นปีนี้ รัฐบาลยูกันดาใช้มาตรการล็อกดาวน์นาน 3 สัปดาห์รอบพื้นที่ทางตอนกลางของประเทศที่เป็นศูนย์กลางการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาสายพันธุ์ซูดาน และแถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า พบผู้ติดเชื้อทั้งหมด 65 คน เสียชีวิต 27 คน แต่ยังไม่แน่ชัดว่ารวมผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 รายหรือไม่.-สำนักข่าวไทย

ประกาศอีโบลาระบาดในยูกันดา

กัมปาลา 20 ก.ย.- กระทรวงสาธารณสุขยูกันดาและองค์การอนามัยโลกเผยวันนี้ว่า มีการประกาศว่าโรคอีโบลาระบาดในยูกันดาแล้ว หลังจากพบผู้ป่วยหลายรายในพื้นที่เดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขยูกันดาทวีตผ่านทวิตเตอร์ว่า พบผู้ป่วยอีโบลาที่ได้รับการยืนยันแล้วในเขตมูเบนเด ทางตอนกลางของประเทศ เป็นชายวัย 24 ปี ที่แสดงอาการป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ขณะที่องค์การอนามัยโลก สำนักงานแอฟริกาแถลงว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวป่วยด้วยอีโบลาสายพันธุ์ซูดาน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบได้ยาก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยูกันดาพบหลังจากตรวจสอบผู้เสียชีวิตอย่างน่าสงสัย 6 ราย ในเขตดังกล่าวในเดือนนี้ และขณะนี้มีผู้ป่วยน่าสงสัย 8 รายกำลังรับการรักษาในสถานพยาบาล องค์การอนามัยโลกเผยด้วยว่า ได้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขยูกันดาตรวจสอบโรคและส่งบุคลากรลงพื้นที่ที่พบการระบาด เว็บไซต์ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ หรือซีดีซี (CDC) ระบุว่า อีโบลาเป็นโรคร้ายแรงที่พบในคนและวานร (primates) ไวรัสที่ทำให้เป็นโรคนี้มักพบในประเทศที่อยู่ตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา ยูกันดา ที่อยู่ทางตะวันออกของแอฟริการวมอยู่ในภูมิภาคนี้ คนสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ติดเชื้อ เช่น วานร ค้างคาว หรือสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคอีโบลา อาการเบื้องต้น เช่น เป็นไข้ ปวดเมื่อย เหนื่อยล้า เจ็บคอ เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย เลือดออกหรือช้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ.-สำนักข่าวไทย

ระเบิด 2 ครั้งซ้อนในเมืองหลวงยูกันดา

กัมปาลา 16 พ.ย.- เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้ง ในกรุงกัมปาลา เมืองหลวงของยูกันดา ประเทศในแอฟริกาตะวันออก มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 20 คน และทำให้เกิดความโกลาหล ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ระเบิดลูกแรกเกิดขึ้นใกล้สถานีตำรวจ ระเบิดอีกลูกเกิดขึ้นบนถนนใกล้อาคารรัฐสภา สื่อทางการยูกันดารายงานว่า ระเบิดลูกหลังทำให้ยวดยานที่จอดอยู่ด้านนอกไฟไหม้ และมีการอพยพสมาชิกสภาบางส่วนเพื่อความปลอดภัย โฆษกกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า มีผู้บาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างน้อย 24 คน ในจำนวนนี้ 4 คนบาดเจ็บสาหัส ขณะที่ชาวเมืองพากันหนีออกนอกเมืองอย่างโกลาหล หลายคนใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหะในการหนี อย่างไรก็ดี ยังไม่ชัดเจนว่า ระเบิดทั้ง 2 ครั้งเป็นการก่อเหตุร้ายหรือไม่ ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ยูกันดาได้เรียกร้องให้เพิ่มความระแวดระวังมากขึ้น หลังเกิดเหตุระเบิดหลายระลอกในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่รัฐบาลอังกฤษยกระดับคำแนะนำเดินทางไปยูกันดาว่า มีความเป็นไปได้สูงมากว่ากลุ่มสุดโต่งกำลังหาทางก่อเหตุร้ายในยูกันดา ด้านกองกำลังพันธมิตรประชาธิปไตยที่เป็นสาขาของกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส (IS) ในแอฟริกากลางอ้างว่า ก่อเหตุระเบิดที่ร้านอาหารชานกรุงกัมปาลาเมื่อวันที่ 23 ตุลาคมที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 7 คน กลุ่มนี้ต่อต้านประธานาธิบดีโยเวรี มูเซเวนี วัย 77 ปี ที่ผูกขาดปกครองยูกันดามาตั้งแต่เดือนมกราคม 2529.-สำนักข่าวไทย

ทีมกีฬาโอลิมปิกของยูกันดาที่มาถึงกรุงโตเกียวพบติดโควิด

สมาชิกของทีมนักกีฬาโอลิมปิกของประเทศยูกันดาที่เดินทางมาถึงกรุงโตเกียวของญี่ปุ่น ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา ทำให้เพิ่มความกังวลว่า โตเกียวโอลิมปิกที่เปิดฉากขึ้นในเดือนหน้าจะทำให้เกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่

ญี่ปุ่นแจ้งพบทีมโอลิมปิกต่างชาติติดโควิดรายแรก

โตเกียว 20 มิ.ย.- บรรษัทกระจายเสียงญี่ปุ่นหรือเอ็นเอชเค (NHK) รายงานว่า สมาชิกคนหนึ่งในทีมนักกีฬาโอลิมปิกยูกันดามีผลตรวจหาเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เป็นบวกเมื่อเดินทางถึงญี่ปุ่น นับเป็นทีมนักกีฬาต่างชาติรายแรกที่พบเชื้อเมื่อถึงญี่ปุ่น เอ็นเอชเครายงานว่า นักกีฬาและครูผู้ฝึกสอนของทีมยูกันดา 9 คน เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะเมื่อเวลา 18:00 น.วันเสาร์ตามเวลาญี่ปุ่น ผลการตรวจคัดกรองที่ท่าอากาศยานพบว่า สมาชิกคนหนึ่งมีผลตรวจหาเชื้อเป็นบวก ขณะนี้พักอยู่ในสถานที่กักโรคของรัฐบาลแล้ว ส่วนสมาชิกคนอื่น ๆ เดินทางต่อไปยังนครโอซากาเพื่อพักในค่ายฝึกซ้อม เอ็นเอชเครายงานด้วยว่า ทีมนักกีฬายูกันดาได้รับการฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกาครบ 2 เข็มแล้ว และมีผลตรวจหาเชื้อเป็นลบในช่วง 72 ชั่วโมงก่อนเดินทางมาญี่ปุ่น นับเป็นทีมนักกีฬาต่างชาติชุดที่สองที่เดินทางมาถึงญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนโตเกียว 2020 ที่จะเปิดฉากในวันที่ 23 กรกฎาคม หลังจากทีมซอฟต์บอลหญิงออสเตรเลียเดินทางมาถึงเป็นชุดแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน.-สำนักข่าวไทย

1 2 3
...