อนามัยโลกแนะใช้ยา ‘แพกซ์โลวิด’ รักษาผู้ป่วยโควิด
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาเม็ดต้านเชื้อโควิดของไฟเซอร์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘แพกซ์โลวิด’ (Paxlovid) ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อโควิดอาการไม่รุนแรงที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเข้ารักษาตัวโรงพยาบาล
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ยาเม็ดต้านเชื้อโควิดของไฟเซอร์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘แพกซ์โลวิด’ (Paxlovid) ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อโควิดอาการไม่รุนแรงที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเข้ารักษาตัวโรงพยาบาล
วอชิงตัน 18 ต.ค. – กลุ่มสุขภาพระดับนานาชาติเตือนว่า การผลิตยาเม็ดต้านเชื้อโควิด หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘โมลนูพิราเวียร์’ ของเมอร์ค แอนด์ โค บริษัทเวชภัณฑ์ของสหรัฐ อาจตอกย้ำปัญหาความไม่เท่าเทียมซ้ำรอยวัคซีนป้องกันโรคโควิดที่ประเทศยากจนจำเป็นต้องใช้ แต่กลับไม่สามารถเข้าถึง กลุ่มสุขภาพระดับนานาชาติยกตัวอย่างเรื่องการฉีดวัคซีนว่า ประชากรของทวีปแอฟริกาได้ฉีดแล้วเพียงร้อยละ 5 ขณะที่ประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่มีอัตราฉีดสูงกว่าร้อยละ 70 ดังนั้นการที่เมิร์ค แอนด์ โค ให้ใบอนุญาตแก่ผู้ผลิตยาสามัญหลายราย ทั้งที่ยาโมลนูพิราเวียร์ในชื่อทางการค้าของบริษัทยังไม่ได้รับอนุมัติให้วางจำหน่ายนั้น อาจไม่สามารถทำให้กลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ในจำนวนที่เพียงพอกับความต้องการปริมาณมากได้ นอกจากนี้การจัดสรรยายังอาจมีอุปสรรคจากข้อบกพร่องและกฎระเบียบขององค์กรระดับโลก เมิร์ค แอนด์ โค ได้ยื่นเอกสารขออนุมัติใช้ยาโมลนูพิราเวียร์เป็นกรณีฉุกเฉินต่อหน่วยงานกำกับดูแลยาของสหรัฐเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม เพื่อใช้เป็นยารักษาโรคโควิด-19 ขนานแรก หลังผลการทดลองทางคลินิกขนาดใหญ่ระบุว่า ยาดังกล่าวช่วยลดอัตรารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตได้ร้อยละ 50 และคาดว่าจะได้รับการอนุมัติเร็วสุดในเดือนธันวาคม เมิร์ค แอนด์ โค ได้วางแผนผลิตยาโมลนูพิราเวียร์ 10 ล้านคอร์สในปีนี้ และตั้งเป้าผลิตให้ได้ 20 ล้านคอร์สในปี 2565 รวมทั้งได้ให้ใบอนุญาตผลิตยากับบริษัทเวชภัณฑ์ของอินเดีย 8 แห่ง ผลิตยาสามัญที่มีราคาถูกลงให้แก่ประเทศที่มีรายได้ต่ำและมีรายได้ปานกลาง 109 ประเทศ รวมถึงประเทศในทวีปแอฟริกา […]