เอดีบีคาดท่องเที่ยว “เอเชีย-แปซิฟิก” ฟื้นสู่ระดับก่อนโควิด-19 ภายใน 2024

มะนิลา, 7 ก.พ. (ซินหัว) — รายงานจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี (ADB) ที่เผยแพร่ในวันอังคาร (7 ก.พ.) ระบุว่าการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และอาจฟื้นกลับสู่ระดับก่อนเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ภายในปี 2024 รายงานการบูรณาการทางเศรษฐกิจเอเชีย (Asian Economic Integration Report) ประจำปี 2023 เผยว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเยือนภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพิ่มขึ้นร้อยละ 399 เมื่อเทียบปีต่อปี ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2022 ทว่าคิดเป็นเพียงร้อยละ 10.3 ของตัวเลขในปี 2019“ความแตกต่างดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากความแตกต่างของช่วงเวลาในการเปิดพรมแดน ระเบียบการด้านสาธารณสุข และความเชื่อมั่นของประชาชนในการเดินทางออกต่างประเทศ” รายงานเสริมว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังคงก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านลบต่อการท่องเที่ยวในเอเชีย ซึ่งอาจทำให้สูญเสียนักท่องเที่ยวจากรัสเซียประมาณ 1 ใน 3 อีกทั้งราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นที่นำไปสู่ค่าตั๋วเครื่องบินและค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงขึ้น ประกอบกับแนวโน้มการเติบโตที่อ่อนแอทั่วโลก กำลังเป็นอุปสรรคต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว รายงานเชื่อว่ากลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จำเป็นต้องพิจารณาตัวเลือกนโยบายเพื่อสร้างความยั่งยืนและความยืดหยุ่นสำหรับการฟื้นตัวหลังโรคระบาด พร้อมจัดการกับความท้าทายก่อนเกิดโรคระบาด เช่น ตลาดนักท่องเที่ยวที่แคบ การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน และผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทั้งยังจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อรับมือกับความท้าทายที่ยืดเยื้อ – สำนักข่าวซินหัว คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาอังกฤษ […]

อนามัยโลกเตือนเอเชีย-แปซิฟิก เตรียมรับมือโอไมครอนระบาด

มะนิลา 3 ธ.ค. – เจ้าหน้าที่ระดับสูงขององค์การอนามัยโลกเตือนให้ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เตรียมรับมือกับยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่เพิ่มขึ้นจากการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขและการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดครบสองโดสให้แก่ประชาชน นพ. ทาเคชิ คาซาอิ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก แถลงวันนี้ว่า การใช้มาตรการควบคุมพรมแดนอาจช่วยซื้อเวลาเพื่อชะลอการระบาดได้ แต่ประเทศและชุมชนต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับยอดผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่เพิ่มขึ้น และไม่ควรพึ่งมาตรการควบคุมพรมแดนเพียงอย่างเดียว สิ่งที่สำคัญกว่าคือการเตรียมรับมือกับเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนที่สามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว ขณะนี้ ข้อมูลที่มีอยู่ชี้ว่าประเทศต่าง ๆ ไม่ควรเปลี่ยนแนวทางควบคุมโรคโควิดที่ใช้กันอยู่ ทั้งยังระบุว่า ประเทศต่าง ๆ ต้องใช้บทเรียนที่ได้จากการรับมือกับการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา และเรียกร้องให้เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดครบสองโดสในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดสูง รวมถึงคงการใช้มาตรการป้องกันต่าง ๆ เช่น การสวมหน้ากากอนามัยและการเว้นระยะห่างทางสังคม สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อหาคำตอบว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนสามารถแพร่ระบาดได้อย่างไร และทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงหรือไม่ หลังแอฟริกาใต้เผยว่าพบเชื้อดังกล่าวเป็นที่แรกของโลกเมื่อเดือนก่อนและองค์การอนามัยโลกประกาศให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าวิตกกังวล ทั้งนี้ มีหลายสิบประเทศทั่วโลกที่รายงานว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนก่อนที่ประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชียเริ่มพบผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าวในช่วงสัปดาห์นี้ ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดีย จนทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศต้องประกาศใช้มาตรการจำกัดการเดินทาง.-สำนักข่าวไทย

สหรัฐให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนอาเซียน

นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ให้คำมั่นในระหว่างการประชุมผ่านระบบออนไลน์ร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ว่าจะสนับสนุนอาเซียน

ยูเอ็นเผยผู้หญิงในเอเชียแปซิฟิกตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวสูงเกินค่าเฉลี่ยโลก

สหประชาชาติ (UN) จัดงานวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อนำเสนอปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาค

...