จีนมีเด็กเกิดใหม่ต่ำที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ

ปักกิ่ง 17 ม.ค.- ปี 2564 จีนมีอัตราเด็กเกิดใหม่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศในปี 2492 ทั้งที่ทางการอนุญาตให้มีลูกได้สูงสุดครอบครัวละ 3 คนแล้วก็ตาม สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานว่า ปี 2564 จีนมีเด็กเกิดใหม่ 10 ล้าน 6 แสน 2 หมื่นคน คิดเป็นอัตราเด็กเกิดใหม่  7.52 ต่อประชากร 1,000 คน ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศในปี 2492 ส่งผลให้อัตราการเพิ่มจำนวนประชากรตามธรรมชาติมีเพียงร้อยละ 0.34 ต่ำที่สุดนับจากปี 2503 ส่วนปี 2563 จีนมีเด็กเกิดใหม่ 12 ล้านคน คิดเป็นอัตราเด็กเกิดใหม่  8.52 ต่อประชากร 1,000 คน นักเศรษฐศาสตร์เอกชนรายหนึ่งชี้ว่า ความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ในจีนเป็นเรื่องที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่จำนวนประชากรสูงวัยในจีนกำลังเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ บ่งชี้ว่าประชากรจีนอาจถึงจุดสูงสุดแล้วในปี 2564 และอาจทำให้การเติบโตของจีนชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาดไว้ จีนใช้นโยบายมีลูกคนเดียวตั้งแต่ปี 2523-2558 เพื่อจำกัดจำนวนประชากร แต่ได้ยกเลิกไปในปี 2559 ด้วยการอนุญาตให้มีได้สูงสุดครอบครัวละ 2 คน […]

จีนมีอัตราเกิดต่ำสุดในรอบกว่า 40 ปี

ปักกิ่ง 24 พ.ย. – อัตราการเกิดที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ของจีนในปี 2563 สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาวิกฤตด้านประชากรที่เกิดขึ้นจากจำนวนประชากรที่เป็นแรงงานสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการเติบโตของประชากรที่ตกต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปี รายงานสถิติประจำปี 2564 ระบุว่า จีนมีอัตราการเกิดอยู่ที่ 8.52 คนต่อประชากร 1,000 คนในปี 2563 ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มจัดทำรายงานดังกล่าวเป็นครั้งแรกในปี 2521 ขณะที่สถิติการแต่งงานในปีก่อนก็ลดลงเหลือเพียง 8.14 ล้านคู่ ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 17 ปี ส่วนสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเผยว่า อัตราการเกิดของจีนในปี 2563 ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจากปี 2562 ที่มี 10.41 คนต่อประชากร 1,000 คน และเป็นตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นปกครองประเทศในปี 2492 ก่อนหน้านี้ จีนได้ประกาศผ่อนคลายนโยบายลูกคนเดียว ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายคุมกำเนิดที่เข้มงวดที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในปี 2559 โดยอนุญาตให้ประชาชนมีลูกได้ 2 คน และในช่วงต้นปีนี้ก็เพิ่งผ่อนคลายนโยบายอีกครั้ง โดยอนุญาตให้มีลูกได้ 3 คน อย่างไรก็ดี นโยบายดังกล่าวกลับประสบความล้มเหลวในการพยายามกระตุ้นอัตราการเกิดให้เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาค่าครองชีพสูงและผู้หญิงจีนมีทางเลือกในการวางแผนครอบครัวมากขึ้นเรื่อย ๆ.-สำนักข่าวไทย

จีนเริ่มให้ลูกคนที่สองใช้แซ่ฝั่งแม่มากขึ้น

การยกเลิกนโยบายมีลูกคนเดียวในปี 2559 ให้คู่สมรสชาวจีนมีลูกได้สองคน ทำให้เกิดกระแสการให้ลูกคนที่สองใช้นามสกุลหรือแซ่ฝั่งมารดามากขึ้น สวนทางค่านิยมดั้งเดิมที่ลูกต้องใช้แซ่ฝั่งบิดาเท่านั้น

สารคดีโลก : คลินิกผู้มีบุตรยากในจีนเฟื่องฟู

กระแสความนิยมอีกอย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากในหมู่ผู้หญิงจีน หลังรัฐบาลยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวคืออะไร ไปชมกันในสารคดีโลก

...