โบลิเวียขาดแคลนน้ำมัน

ลาปาซ 24 ก.ค.- โบลิเวียกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำมัน จนภาพรถจอดยาวเหยียดรอเติมน้ำมันตามสถานีบริการกลายเป็นภาพชินตา สถานีบริการน้ำมันหลายแห่งในกรุงลาปาซ และเมืองเอล อัลโต มีรถโดยสาร รถบรรทุก และยวดยานประเภทต่าง ๆ จำนวนมาก มาต่อแถวเติมน้ำมันยาวเหยียด ทางการปฏิเสธว่า น้ำมันไม่ได้ขาดแคลน แต่เป็นเพราะสภาพอากาศเลวร้ายทำให้การขนส่งน้ำมันทางทะเลต้องสะดุดลง ขณะที่ประธานบริษัทน้ำมันของทางการชี้แจงว่า ปัญหาน้ำมันขาดแคลนเกิดจากสภาพอากาศไม่ดี ทำให้เกิดคลื่นลมแปรปรวนที่ท่าเรืออาริกาของชิลี ซึ่งเป็นเส้นทางหลักในการขนส่งน้ำมันเข้าประเทศ เนื่องจากโบลิเวียเป็นประเทศที่ไม่ติดทะเล เหตุการณ์น้ำมันขาดแคลนเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงหลายเดือนมานี้ บรรดาคนขับรถพากันนัดหยุดงานประท้วง และกล่าวโทษว่า ปัญหาเกิดจากการที่รัฐบาลโบลิเวียขาดแคลนเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ.-816(814).-สำนักข่าวไทย

เอกวาดอร์อาจต้องหยุดผลิตน้ำมัน

กีโต 27 มิ.ย.- กระทรวงพลังงานของเอกวาดอร์เตือนว่า การผลิตน้ำมันถึงจุดวิกฤตแล้วและอาจต้องยุติการผลิตภายใน 48 ชั่วโมง หากการประท้วงและปิดถนนที่นำโดยชนพื้นเมืองยังยืดเยื้อต่อไป ชนพื้นเมืองนำการประท้วงเรื่องน้ำมันแพงและค่าครองชีพสูงมาร่วม 2 สัปดาห์ มีการปิดถนนตามจังหวัดต่าง ๆ มากถึง 19 จังหวัดจากทั้งหมด 24 จังหวัดทั่วประเทศ กระทรวงพลังงานแถลงว่า การผลิตน้ำมันถึงจุดวิกฤตแล้ว หากสถานการณ์ยังดำเนินต่อไปเช่นนี้ การผลิตน้ำมันจะต้องยุติภายในเวลาไม่ถึง 48 ชั่วโมง เพราะการทำลายทรัพย์สิน ยึดบ่อน้ำมัน และปิดถนนทำให้ไม่สามารถขนส่งอุปกรณ์และน้ำมันดีเซลที่จำเป็นต่อการผลิตน้ำมันได้ การผลิตขณะนี้ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งจากที่เคยผลิตได้วันละ 520,000 บาร์เรล เศรษฐกิจของประเทศในอเมริกาใต้แห่งนี้พึ่งพาน้ำมันอย่างมาก โดยส่งออกน้ำมันที่ผลิตได้ถึงร้อยละ 65 ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ชาวเอกวาดอร์เข้าร่วมการประท้วงทั่วประเทศราว 14,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงกีโต ผู้ประท้วงปะทะกับตำรวจหลายครั้ง มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 5 คน บาดเจ็บ 500 คน นายฮูลิโอ โฮเซ ปราโด รัฐมนตรีการผลิต การค้าต่างประเทศ การลงทุนและประมงของเอกวาดอร์เผยว่า การประท้วงทำให้ภาครัฐและเอกชนสูญเสียไปแล้วรวม 500 […]

อินเดียกลายเป็นตลาดสำคัญของน้ำมันรัสเซีย

นิวเดลี 13 มิ.ย.- อินเดียและหลายประเทศในเอเชียกลายเป็นตลาดสำคัญในการส่งออกน้ำมันของรัสเซีย หลังจากสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) และพันธมิตรประกาศยุติการนำเข้าน้ำมันรัสเซียเพื่อคว่ำบาตรที่รัสเซียรุกรานยูเครน เคปเลอร์ บริษัทข้อมูลสินค้าโภคภัณฑ์เผยว่า อินเดียซึ่งมีประชากร 1,400 ล้านคน นำเข้าน้ำมันรัสเซียตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้แล้วเกือบ 60 ล้านบาร์เรล เทียบกับปีที่แล้วทั้งปีที่นำเข้าเพียง 12 ล้านบาร์เรล ด้านศูนย์เพื่อการวิจัยพลังงานและอากาศสะอาดในฟินแลนด์เผยว่า อินเดียนำเข้าน้ำมันดิบรัสเซียเพิ่มขึ้นจากวันละ 100,000 บาร์เรลในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นวันละ 370,000 บาร์เรลในเดือนเมษายน และวันละ 870,000 บาร์เรลในเดือนพฤษภาคม แล้วลดการนำเข้าจากอิรักและซาอุดีอาระเบีย นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐกล่าวหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ-อินเดียเมื่อเดือนเมษายนว่า สหรัฐเข้าใจดีว่าอินเดียต้องการพลังงานในราคาที่ซื้อหาได้ แต่ก็หวังว่าพันธมิตรและหุ้นส่วนของสหรัฐจะไม่ซื้อพลังงานรัสเซียเพิ่มขึ้น ด้านนายสุพรหมณยัม ชัยศังกระ รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดียตอบโต้เมื่อไม่นานมานี้ต่อเสียงวิจารณ์เรื่องอินเดียนำเข้าน้ำมันรัสเซียว่า อินเดียจะทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด หากอินเดียซื้อน้ำมันรัสเซียเท่ากับสนับสนุนการทำสงคราม ยุโรปที่นำเข้าก๊าซรัสเซียก็สนับสนุนการทำสงครามเช่นเดียวกัน ทั้งนี้นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ราคาน้ำมันโลกก็ปรับขึ้นมาก โรงกลั่นน้ำมันในอินเดียและหลายประเทศหันมาซื้อน้ำมันรัสเซีย เพราะเสนอลดราคาให้บาร์เรลละ 30-35 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,043-1,217 บาท) ขณะที่ราคาน้ำมัน ดิบเบรนต์ทะเลเหนือและน้ำมันสากลอื่น ๆ ซื้อขายที่บาร์เรลละ 120 ดอลลาร์สหรัฐ […]

คาดศรีลังกาจะถูกจัดสถานะเป็น “ผิดนัดชำระหนี้” ในวันนี้

โคลัมโบ 18 พ.ค.- ศรีลังกามีแนวโน้มจะถูกบริษัทจัดอันดับเครดิตจัดสถานะเป็น “ผิดนัดชำระหนี้” ในวันนี้ หลังจากไม่จ่ายดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรรัฐบาล 2 งวด ขณะที่รัฐมนตรีพลังงานศรีลังกาเผยว่า ประเทศไม่มีเงินจ่ายค่าเชื้อเพลิง ศรีลังกาแจ้งก่อนหน้านี้แล้วว่า ไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหน้าตั๋วพันธบัตรงวดครบอายุปี 2566 และ 2571 ซึ่งจะพ้นระยะเวลาผ่อนผัน 30 วันในวันนี้ ขณะที่เอสแอนด์พีได้ลดอันดับเครดิตของพันธบัตรทั้ง 2 งวดลงเป็น “ผิดนัดชำระหนี้” ไปแล้ว และอาจจะลดอันดับเครดิตโดยรวมของศรีลังกาลงเป็น “ดี” (D) คือดีฟอลต์ (Default) เพื่อยืนยันถึงสถานะการผิดนัดชำระหนี้หลังจากพ้นระยะเวลาผ่อนผัน รัฐมนตรีไฟฟ้าและพลังงานของศรีลังกาแถลงต่อรัฐสภาในวันนี้ว่า น้ำมันนำเข้าถูกส่งมาถึงท่าเรือในกรุงโคลัมโบตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคมแล้ว แต่ประเทศไม่สามารถจ่ายได้ เพราะไม่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากพอจะขอเปิดแอลซี ซึ่งเป็นเอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองการชำระเงิน รัฐบาลกำลังหาเงินทุนอยู่ แต่ประเทศจะไม่มีน้ำมันใช้ไปจนถึงสุดสัปดาห์นี้เป็นอย่างน้อย ขอให้ประชาชนเลิกไปต่อแถวรอเติมน้ำมันในช่วงนี้ ส่วนน้ำมันสำรองที่เหลืออยู่น้อยมากในขณะนี้จะใช้สำหรับบริการจำเป็นเท่านั้น เช่น รถพยาบาลฉุกเฉิน ด้านนายกรัฐมนตรีรานิล วิกรามาสิงหะที่ได้รับแต่งตั้งให้รับตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกล่าวว่า ศรีลังกาได้รับเงินกู้ชั่วคราว 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5,541 ล้านบาท) จากธนาคารโลก แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะสามารถนำมาจ่ายค่าเชื้อเพลิงได้หรือไม่ สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 […]

น้ำมันโลกดีดกลับมาเหนือบาร์เรลละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ

ฮ่องกง 16 มี.ค.- ราคาน้ำมันโลกดีดตัวกลับมายืนเหนือบาร์เรลละ 100 ดอลลาร์สหรัฐอีกครั้งในวันนี้ แต่ยังคงถูกกดดันจากความกังวลเรื่องความต้องการใช้น้ำมันในจีนที่ล็อกดาวน์หลายพื้นที่เพื่อควบคุมเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ราคาซื้อขายน้ำมันในวันนี้ดีดตัวขึ้นมาอีกครั้ง น้ำมันดิบเบรนต์ของอังกฤษกลับมาเคลื่อนไหวเป็นตัวเลข 3 หลัก เพราะตลาดคาดหมายว่ามาตรการคว่ำบาตรรัสเซียจะทำให้ปริมาณน้ำมันตึงตัว แม้จะสามารถยุติสงครามได้ในอีกไม่นาน โดยเมื่อเวลา 10:00 น.วันนี้ตามเวลาในไทย น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสของสหรัฐปรับขึ้นร้อยละ 1.1 ไปเคลื่อนไหวที่บาร์เรลละ 97.52 ดอลลาร์สหรัฐ และน้ำมันดิบเบรนต์ปรับขึ้นร้อยละ 1.5 ไปเคลื่อนไหวที่บาร์เรลละ 101.52 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสของสหรัฐและน้ำมันดิบเบรนต์ของอังกฤษลดลงต่ำกว่าบาร์เรลละ 100 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อวันอังคาร เนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ของจีนทำให้เกิดความกังวลเรื่องเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันในจีนที่เป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก สวนทางกับเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ราคาน้ำมันดิบโลกทำสถิติสูงสุดในรอบ 14 ปี ขณะที่ความหวังเรื่องอิหร่านจะบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ เพื่อเปิดทางให้อิหร่านกลับมาส่งออกน้ำมันได้อีกครั้ง และการเจรจาหยุดยิงระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่มีความคืบหน้าอย่างช้า ๆ ช่วยกดราคาน้ำมันให้ลดลง.-สำนักข่าวไทย

พาณิชย์เฝ้าติดตามนำ้มัน โควิด น้ำท่วมยังไม่ทำให้สินค้าปรับขึ้น

อธิบดีกรมการค้าภายในย้ำปัญหาน้ำมันขึ้น น้ำท่วมหรือโควิด ไม่ใช่เหตุผลทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้น ชี้มีการติดตามและเฝ้าระวังปัญหาเหล่านี้ใกล้ชิดยังไม่กระทบต้นทุน ดังนั้น ขอผู้ผลิตสินค้า ตรึงราคาไม่ให้กระทบค่าครองชีพประชาชน

...