fbpx

รำลึก 30 ปี เหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กว่า 8 แสนคนในรวันดา

คิกาลี 7 เม.ย.- ประธานาธิบดีรวันดา รวมทั้งผู้นำทั้งอดีตและปัจจุบันจากหลายประเทศร่วมพิธีรำลึก 30 ปี เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาที่มีคนถูกสังหารมากกว่า 800,000 คน ประธานาธิบดีพอล คากาเมของรวันดาและภริยาเป็นประธานในการจุดไฟแห่งความหวังในงานรำลึกที่เรียกว่า คีบูกา (Kwibuka) แปลว่า การระลึกถึง ที่กรุงคิกาลีในวันนี้ ซึ่งเป็นวันครบ 30 ของการเริ่มต้นเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี 2537 ที่ดำเนินไปจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2537 ประมาณกันว่า ในช่วงเวลาราว 100 วันนี้มีคนถูกสังหาร 491,000-800,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยชาวทุตซี (Tutsi) ชาวฮูตู (Hutu) สายกลางบางส่วนและชาวทวา (Twa) ที่ถูกไล่ล่าสังหารโดยกองกำลังติดอาวุธชาวฮูตูที่เป็นคนส่วนใหญ่ของรวันดาซึ่งเป็นประเทศไม่มีทางออกทางทะเล ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา เหตุการณ์น่าสะพรึงกลัวนี้เกิดขึ้นในช่วงท้ายของสงครามกลางเมืองในรวันดาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2533 และสิ้นสุดในวันที่ 18 กรกฎาคม 2537 ผู้นำทั้งอดีตและปัจจุบันของหลายประเทศมาร่วมพิธีรำลึกในวันนี้ด้วย เช่น อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตันของสหรัฐที่ดำรงตำแหน่งปี 2536-2544 อดีตประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีของฝรั่งเศสที่ดำรงตำแหน่งปี 2550-2555 […]

ผู้นำรวันดาชนะเลือกตั้งถล่มทลายเตรียมเป็นต่อสมัยที่ 3

คิกาลี 5 ส.ค.- ผลการนับคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีรวันดาที่เกือบเสร็จสิ้นแล้วชี้ว่า ประธานาธิบดีพอล คากาเมกวาดคะแนนถล่มทลายลอยลำเป็นประธานาธิบดีต่อสมัยที่ 3 หลังจากปกครองประเทศมาตั้งแต่เกิดเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อ 23 ปีก่อน  เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติรวันดาแถลงว่า ผลการนับคะแนนแล้วร้อยละ 80 ชี้ว่า ประธานาธิบดีคากาเมวัย 59 ปี ได้คะแนนแล้วร้อยละ 98.66 และคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากนี้เมื่อนับคะแนนทั้งหมดแล้วเสร็จ ส่วนผู้สมัครจากพรรคฝ่ายค้านและผู้สมัครอิสระได้คะแนนเพียงร้อยละ 0.45 และ 0.72 ตามลำดับ ประธานาธิบดีคากาเมกล่าวทางโทรทัศน์ว่า จะเป็นอีก 7 ปี ที่เขาจะแก้ไขประเด็นต่าง ๆ ที่กระทบต่อชีวิตชาวรวันดาและทำให้รวันดาเป็นประเทศกำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจ  นานาชาติชื่นชมประธานาธิบดีคากาเมที่ทำให้เศรษฐกิจประเทศฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและเรียบร้อย หลังเกิดเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างชนเผ่าฮูตูและทุตซีระหว่างวันที่ 7 เมษายน-15 กรกฎาคม 2537 ที่มีผู้เสียชีวิต 5 แสนถึง 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าทุตซี แต่ขณะเดียวกันก็ถูกวิจารณ์เรื่องมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง กดขี่สื่อและฝ่ายค้าน เขาเป็นผู้นำกองกำลังกบฏทุตซีเข้ายุติเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จากนั้นได้ทำหน้าที่ผู้นำประเทศโดยพฤตินัยในตำแหน่งรองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีกลาโหม จนกระทั่งขึ้นเป็นขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 2543 เมื่อประธานาธิบดีในตำแหน่งลาออก.-สำนักข่าวไทย

...