fbpx

ลมแรงคลื่นสูง 4 เมตร ซัดเรือประมงจมทะเลตรัง 4 ลำ

ฝนตกหนัก ตรังคลื่นสูง 4 เมตร ซัดเรือประมงพื้นบ้านของชาวเกาะลิบง จมหายลงทะเล 4 ลำ คาดมูลค่าเสียหาย 80,000 บาท ผู้นำท้องที่พร้อมชาวบ้านระดมกำลังกู้เรือเร่งด่วน

ตื่นตา! พบฝูงปลามหึมา-กัลปังหาสวยงามที่ จ.ตรัง

ตื่นตา! กลุ่มนักดำน้ำแบบ Freediving พบฝูงปลามหึมาและกัลปังหาสวยงามที่เติบโตเต็มพื้นที่ หลังธรรมชาติฟื้นตัวช่วงโควิด-19 ที่ไม่มีนักท่องเที่ยวมาเยือน 

เร่งหาต้นตอไอซ์ 1 พันล้าน ถูกพบกลางทะเลอันดามัน

ตำรวจเร่งสืบสวนติดตามขบวนการค้ายาไอซ์ข้ามชาติ หลังพบไอซ์ 650 กก. มูลค่า 1 พันล้าน ถูกทิ้งกลางทะเลตรัง เร่งประสาน ป.ป.ส.แกะรอย พร้อมขอประชาชนช่วยแจ้งเบาะแส

ท่องเที่ยวทะเลคึกคักรับตรุษจีน

นักท่องเที่ยวแห่เที่ยวทะเลตรัง-สมุย รับวันหยุดยาวตรุษจีน ผู้ประกอบการพร้อมใจลดราคาเรือ-ที่พัก คาดเม็ดเงินสะพัดจำนวนมาก

“หมอล็อต” นำทีมร่วมดูแลพะยูนน้อย “มาเรียม”

กรมอุทยานแห่งชาติฯ ส่งทีมสัตวแพทย์ นำโดย “หมอล็อต” ร่วมปฏิบัติงานและวางแผนการอนุบาล “มาเรียม” ลูกพะยูนเพศเมีย

ประสิทธิภาพแผนอนุรักษ์ ทะเลตรังฝูงพะยูนเพิ่ม

ตรัง 28 มี.ค.- ทช.บินสำรวจทะเลตรังพบประชากรพะยูนเพิ่มขึ้นในรอบ 10 ปี เป็นผลจากความร่วมมือหลายฝ่ายวางแผนอนุรักษ์ หลังเกิดวิกฤติการอยู่รอดเมื่อ 4-5 ปีก่อนพบซากพะยูนถึง 11 ตัว ระบุสาเหตุการตายส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์ นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมงชำนาญการหัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ และนักบินชาวต่างชาติ ร่วมบินสำรวจสถานการณ์พะยูนรอบเกาะลิบง เกาะมุกด์ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยสำคัญที่สุดในทะเลตรัง เพื่อติดตามประชากรพะยูนในแต่ละปี  รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและหญ้าทะเล เนื่องจากพะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์  จึงต้องวางแผนคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลให้เกิดความยั่งยืน และการบินสำรวจครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน อาทิ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. ) นำหุ่นยนต์สำรวจทางอากาศ (โดรน) เพื่อถ่ายภาพเก็บข้อมูลทางวิชาการ    ด้านอาจารย์กฤษนัยน์ เจริญจิตะ อาจารย์ประจำคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) กล่าวว่า การทำงานครั้งนี้เป็นไปตามโครงการ “การสำรวจพะยูน โดยประยุกต์หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก (Drone)” โดยเครื่องบินเล็กของ ทช. จะบินนำร่องปูพรมหาพะยูนในทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาศัยหากินที่ระดับความสูงประมาณ 100 เมตร เมื่อพบพะยูนบริเวณใดจะส่งข้อมูลพิกัดแหล่งที่พบ […]

...