ฟื้นศรัทธารัฐ สู้ภัยข่าวปลอม QAnon

ความซับซ้อนของปัญหา และความละเอียดอ่อนของคนที่หลงเชื่อชุมชนข่าวปลอมข้ามชาติ QAnon ทฤษฎีสมคบคิดขวาจัด ไม่อาจเอาชนะได้ด้วยข้อเท็จจริงเพียงลำพัง เพราะเกิดขึ้นด้วยอคติ ที่ไม่ไว้วางใจภาครัฐ และสถาบันทางสังคมต่างๆ นักมานุษยวิทยา จึงเสนอให้ภาครัฐแก้โครงสร้างทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และโปร่งใส จับต้องได้ เพื่อดึงสติคนที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิด

บางส่วนในอังกฤษยังไม่เชื่อวัคซีนโควิด

ลอนดอน 7 ธ.ค.- สหราชอาณาจักรจะเริ่มโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ขนานใหญ่ในวันอังคารนี้ ในขณะที่ผู้คนจำนวนไม่น้อยยังคงมีความเคลือบแคลงสงสัยอยู่ หลายประเทศมีแนวโน้มจะเดินตามสหราชอาณาจักรในอีกไม่ช้า รัฐบาลแต่ละประเทศจึงพยายามสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนเพื่อรับการฉีดวัคซีนอย่างเต็มใจ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ยังผู้คนอีกไม่น้อยที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และวัคซีนป้องกัน ศ.แดเนียล ฟรีแมน ด้านจิตวิทยาคลินิก มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเปิดเผยว่า ประชากรในสหราชอาณาจักรประมาณหนึ่งในสี่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิด อีกหนึ่งในสี่กำลังคิดวนเวียนอยู่กับทฤษฎีสมคบคิด และอีกราว 1 ใน 10 เชื่อทฤษฎีสมคบคิดอย่างหัวปักหัวปำ ผลสำรวจเดือนก่อนพบว่า ชาวอังกฤษเกือบสองในสามจะรับวัคซีน แต่หลายคนไม่สบายใจที่หลายบริษัทเร่งพัฒนาเมื่อเทียบกับวัคซีนทั่วไป และเกรงเรื่องผลข้างเคียง รอยเตอร์ระบุว่า บางคนเชื่อเรื่องกล่าวอ้างไร้มูลในอินเทอร์เน็ต เช่น ทฤษฎีที่ว่ารัฐบาลประเทศต่าง ๆ เจตนาทำให้เกิดการระบาดเพื่อควบคุมผู้คน หรือทฤษฎีที่ว่าบิลล์ เกตส์ ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ ต้องการใช้วัคซีนเป็นพาหะในการฉีดไมโครชิปติดตามได้เข้าไปในตัวคน ทอม ฟิลิป บรรณาธิการฟูลแฟ็กต์ (Full Fact) องค์กรการกุศลด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงชี้ว่า ข่าวลือและข่าวลวงช่วงเกิดโรคระบาดอยู่คู่โลกมานานหลายศตวรรษแล้ว เพียงแต่เทคโนโลยีสมัยนี้ทำให้ข่าวลือและข่าวลวงแพร่กระจายรวดเร็ว ไปไกล และข้ามประเทศมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเท่านั้น.-สำนักข่าวไทย

ออสเตรเลียเตือนทฤษฎีสมคบคิดกำลังขัดขวางความพยายามควบคุมโควิด-19

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออสเตรเลียเปิดเผยว่า ทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กำลังขัดขวางความพยายามในการควบคุมการระบาดในนครเมลเบิร์น

...