รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ 2566

สตอกโฮล์ม 10 ต.ค. ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายเรื่องช่องว่างและความไม่เท่าเทียมทางเพศในตลาดแรงงานคว้ารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2566 ราชบัณฑิตยสภาแห่งสวีเดนประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมว่า ได้แก่เคลาเดีย โกลดิน วัย 77 ปี ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด จากผลงานการค้นคว้าวิจัยที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับช่องว่างและความไม่เท่าเทียมทางเพศในตลาดแรงงาน ผลงานการวิจัยของโกลดินที่ศึกษาการทำงานของผู้หญิงในตลาดแรงงานทั่วโลกตลอด 200 ปีที่ผ่านมาพบว่า ค่าจ้างในการทำงานของผู้หญิงไม่เคยทัดเทียมเทียบเท่ากับผู้ชาย และความแตกต่างเรื่องค่าจ้างยังคงเกิดขึ้นต่อไป แม้ผู้หญิงจะมีการศึกษาสูงกว่าผู้ชาย คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ระบุว่า แม้งานวิจัยของโกลดินไม่ได้นำเสนอวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ทำให้ผู้จัดทำและกำหนดนโยบายนำข้อมูลไปปรับใช้และรับมือความไม่เท่าเทียมดังกล่าว งานวิจัยของเธอยังช่วยให้เกิดความเข้าใจเรื่องบทบาทของผู้หญิงในตลาดแรงงานที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวางนโยบายเพื่อช่วยให้ผู้หญิงได้รับโอกาสและความก้าวหน้าในตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น โกลดินเป็นผู้หญิงคนที่ 3 ที่คว้ารางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เธอจะได้รับเงินรางวัล 10 ล้านโครนสวีเดน (ราว 34 ล้านบาท) และเตรียมเข้ารับรางวัลในพิธีที่จะจัดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน.-สำนักข่าวไทย

รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2023

รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2023 ตกเป็นของศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ ที่อธิบายเรื่องช่องว่างและความไม่เท่าเทียมทางเพศในตลาดแรงงาน

โควิดระบาดเร่งตลาดแรงงานพึ่งพาแรงงานหุ่นยนต์เร็วขึ้น

ผลการสำรวจของเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม พบว่า การระบาดของโรคโควิด-19 เร่งให้ตลาดแรงงาน เปลี่ยนจากการพึ่งพาแรงงานมนุษย์ ไปพึ่งพาแรงงานหุ่นยนต์เร็วขึ้น

ศธ.ยกระดับอาชีวะรองรับตลาดแรงงาน

ปทุมธานี 7 ต.ค.-กระทรวงศึกษาฯ เร่งยกระดับอาชีวศึกษาไทยสู่ความเป็นเลิศ มุ่งผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์รองรับตลาดแรงงาน เพิ่มศักยภาพทัดเทียมมาตรฐานสากล กระทรวงศึกษาธิการ เดินหน้าประกาศความพร้อมขับเคลื่อนอาชีวศึกษายกกำลังสอง “สู่มิติใหม่อาชีวศึกษาไทย” มุ่งผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์ (Human Capital) ด้วยศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (Human Capital Excellence Center: HCEC) เพื่อยกระดับศักยภาพกำลังคนอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของประเทศ พร้อมโชว์ศักยภาพกระแสตอบรับ จากผู้ประกอบการชั้นนำระดับประเทศและระดับโลก โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด ที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี จ.ปทุมธานี นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ศธ.พร้อมสร้างกลไกขับเคลื่อนอาชีวศึกษายกกำลังสอง ด้วยศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศของอาชีวศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนาทุนมนุษย์สู่ความเป็นเลิศและยั่งยืน สอดคล้องกับแผนงานการปฏิรูปการศึกษายกกําลังสอง โดยมุ่งเน้นให้กระบวนการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ และสถาบันอาชีวศึกษา ซึ่งจำเป็นต้อง “ปลดล็อก” จากการเรียนการสอนในรูปแบบเดิมที่ไม่ตอบโจทย์การทำงาน หรือปัญหาช่องว่างทางทักษะที่ไม่เพียงพอต่อการทำงานจริง โดยต้อง “ปรับเปลี่ยน” เชื่อมโยงความรู้และทักษะที่จำเป็น และสอดคล้องเข้าสู่ระบบการศึกษา เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ และ “เปิดกว้าง” ด้วยการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการเตรียมความพร้อมการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนกำลังคนในทุกมิติสู่ความเป็นเลิศในแต่ละด้าน เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงาน ที่ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมต้องการ […]

“ณัฏฐพล” ให้โจทย์วิทยาลัยอาชีวะปรับตัวรับตลาดแรงงานหลังโควิด-19

รมว.ศึกษาฯ ให้โจทย์วิทยาลัยอาชีวะทั่วประเทศ เตรียมศักยภาพ พัฒนาเด็กอาชีวะ รองรับตลาดแรงงานของประเทศ หลังโควิด-19 คลี่คลาย

ไวรัสส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานจีนขณะที่จะมีผู้จบการศึกษามากเป็นประวัติการณ์

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในจีน กำลังจะส่งผลกระทบกับผู้ที่กำลังจะจบการศึกษา ซึ่งในปีนี้มีมากเป็นประวัติการณ์ถึง 8.7 ล้านคน

นายกฯ สั่่งพาณิชย์ใช้วิกฤติสหรัฐฯ-จีนเร่งหาตลาดใหม่

นายกฯ ให้กระทรวงพาณิชย์ใช้วิกฤติสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเป็นโอกาสเร่งหาตลาดใหม่ ส่งเสริมการส่งออก ชี้สหรัฐซื้อขายตรงกับไทยแล้ว

จัดติวเข้มภาษาอังกฤษ พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน

สสส.13 มิ.ย.-สสส.จัดโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ เรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการใช้งาน หลังพบบริษัทในตลาดแรงงานกว่าร้อยละ 62 ต้องการผู้มีทักษะภาษาอังกฤษ นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)เป็นประธานเเถลงข่าวโครงการปิดเทอมสร้างสรรค์ ตอน ‘เตรียมตัวสู่โลกของงาน เรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างไรให้ใช้การได้’ที่ สสส.จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนได้ใช้เวลาช่วงปิดเทอมให้เกิดประโยชน์ผ่านกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อลดสถานการณ์เสี่ยงที่เกิดขึ้น หลังพบว่าในช่วงปิดเทอมเด็กกว่าร้อยละ 71 เลือกทำกิจกรรมคือเล่นมือถือ เเละอินเตอร์เน็ต ขณะเดียวกันจากการสำรวจพบว่ากิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่เยาวชนในระดับอุดมศึกษาให้ความสนใจ จึงเกิดโครงการนี้ขึ้นเพื่อเปิดประตูสู่โลกกว้างในการเรียนรู้เเละการทำงานในอนาคต  ด้าน น.ส.อันธิกา ลิมปิอนันต์ชัย ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทจัดหางาน จ๊อบส์ดีบี ประเทศไทย จำกัดกล่าวว่า ในตลาดแรงงานปัจจุบัน ผู้ที่มีทักษะภาษาอังกฤษเป็นที่ต้องการค่อนข้างสูงเพราะจากการสำรวจผู้ประกอบการกว่า 400 บริษัท พบว่ากว่าร้อยละ 62 ต้องการผู้ที่มีทักษะด้านภาษา ซึ่งต้องการเทียบเท่ากับผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้ว คนที่มีทักษะด้านภาษาจะมีเงินเดือนสูงกว่าถึงร้อยละ30 เมื่อเทียบกับตำเเหน่งเดียวกัน ขณะที่พบว่าผู้ที่ผ่านการสอบข้อเขียน เมื่อสอบสัมภาษณ์โดยต้องใช้ภาษาอังกฤษกว่าร้อยละ70 จะตกงานเนื่องจากไม่มีทักษะภาษาในการสื่อสาร .-สำนักข่าวไทย 

มหาวิทยาลัยปรับหลักสูตรสื่อสารมวลชน รองรับตลาดแรงงาน ตอน 1

การเรียนการสอนด้านสื่อสารมวลชนในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน จากเดิมที่มีสาขาวิชาประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ล่าสุดมีการปรับเปลี่ยนใหม่ ทุกสถาบันเน้นเป็นหลักสูตรการผลิตสื่อและวารสารดิจิทัล

1 2
...