แอปดูดเงินแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ข้อมูลการไฟฟ้ารั่ว คอลเซ็นเตอร์ดูดเงินหนุ่มเกลี้ยงบัญชี

หนุ่มนักเทคนิคการแพทย์ ถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกดูดเงินเกลี้ยงบัญชี 20,497 บาท เจ้าตัวเผยอีกฝ่ายมีข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตนอย่างละเอียด อ้างมีเงินคืนให้ช่วงโควิด ระวังที่สุดแล้ว ที่เชื่อเพราะข้อมูลแน่นมาก

เทอุจจาระราดตัว ประท้วงถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอก

ทนายดังราชบุรี โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงิน 1.2 ล้าน เจ้าตัวติดต่อให้ธนาคารช่วย แต่ไม่ได้ดั่งใจ คว้าแกลลอนมาประท้วงหน้าธนาคาร อ้างเป็นน้ำปานะ เทราดตัว แต่ความจริงแล้วเป็นอุจจาระ ตำรวจเข้าระงับเหตุสุดกระอักกระอ่วน

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวังใบแจ้งค่าไฟปลอม หลอกสแกนดูดเงินหมดบัญชี จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนระวังใบแจ้งค่าไฟปลอม หลอกสแกนดูดเงินหมดบัญชี นั้น📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ เป็นเอกสารจริงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับเพจเฟซบุ๊กทางการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ยืนยันว่า เอกสารที่มีการแชร์กัน เป็นเอกสารจริง โดยเป็นใบแจ้งเตือนให้ชำระค่าไฟฟ้า ตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1 มีระยะเวลาในการชำระค่าไฟ นับตั้งแต่วันที่จดหน่วย รวม 21 วัน หากเกินระยะเวลาที่กำหนด เจ้าหน้าที่สามารถเข้างดจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งจะมีการส่งใบแจ้งเตือนให้กับทางผู้ใช้ไฟก่อนจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้า 18 มีนาคม 2567 – เพจเฟซบุ๊กทางการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ได้ลงรูปประชาสัมพันธ์ ความแตกต่างระหว่าง ใบแจ้งค่าไฟฟ้า กับ ใบแจ้งเตือนค่าไฟฟ้าค้างชำระ ใบแจ้งค่าไฟฟ้าและใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี รูปแบบใหม่ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะได้รับตามรอบการใช้ไฟฟ้า โดยมีระยะเวลาในการชำระเงินตามวันที่ระบุในใบแจ้งค่าไฟฟ้า 10 วัน ใบแจ้งเตือนค่าไฟฟ้าค้างชำระ เป็นการแจ้งเตือนกรณีมีค่าไฟฟ้าค้างชำระ จะจัดส่งให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าหลังจากวันครบกำหนดในใบแจ้งค่าไฟฟ้า มีกำหนดชำระเงิน 7 วัน 👉 จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แค่รับสาย ก็โดนดูดเงินหายได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์เตือนว่า แก็งคอลล์เซ็นเตอร์ มีเทคโนโลยีใหม่ สามารถดูดเงิน โดยไม่ต้องกดลิงค์ หรือลงแอป นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยไซเบอร์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด (ACIS) ได้รับการยืนยันว่า ในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีในลักษณะดังกล่าว ที่เพียงแค่รับสาย แล้วจะดูดเงินออกจากบัญชีได้ สามารถติดตามรายละเอียดได้ : https://www.youtube.com/live/xq2Pjs9RDDY?si=J5VQemUc56ovb3ZG ด้าน TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย เผยแพร่ข้อมูลยืนยันว่า ปัจจุบันธนาคารไม่มีการใช้เสียงในการยืนยันตัวตนเพื่อโอนเงิน ดังนั้นเรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงและยังไม่พบเหตุการณ์ความเสียหายเกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก ระบบของธนาคารมีการป้องกันและพัฒนาการพิสูจน์ยืนยันตัวตนอย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการให้ยืนยันตัวตนผ่านการสแกนหน้า ควบคู่กับข้อมูลส่วนบุคคล และรวมถึงการกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรม และ TB-CERT ภายใต้สมาคมธนาคารไทย รวมถึงธนาคารสมาชิก ได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection) ของลูกค้าทุกคน พร้อมปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการธนาคาร และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและประชาชน [แถลงการณ์จาก […]

ผอ.สำนักพุทธขอนแก่น โดนดูดเงิน 1.19 ล้าน อ้างสมัครบัตรสายการบิน

ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนา ที่ขอนแก่น ถูกมิจฉาชีพดูดเงินกว่า 1.19 ล้านบาท หายในพริบตาจากบัญชี เหลืออยู่ 0.87 สตางค์ หลังกดลิงก์สมัครบัตรของสายการบิน เจ้าตัวเผยเครียดหนัก

หลอกอดีต จนท.ป่าไม้ โหลดแอปดูดเงินเกลี้ยงบัญชี

แก๊งคอลเซ็นเตอร์ระบาดไม่หยุด อ้างเป็นกรมบัญชีกลาง หลอกเจ้าหน้าที่ป่าไม้เกษียณ ให้โหลดแอปฯ รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ ก่อนดูดเงินเกลี้ยงบัญชี

“ชัยวุฒิ” ย้ำไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐทุกกรมโทรหาประชาชน

“ชัยวุฒิ” เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อแก๊งหลอกลวงออนไลน์ ย้ำไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐทุกกรม-กระทรวงว่างพอโทรไปหาประชาชน

AIS ยืนยัน 1175 เป็นเบอร์จริง แค่โทร.แจ้งบริการ ดูดเงินจากบัญชีไม่ได้ | ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨

26 พฤษภาคม 2566 🎯 ตามที่มีการแชร์เตือนว่า  “อย่ารับสาย เบอร์ 1175 ของ AIS เด็ดขาด เพราะมิจฉาชีพสามารถเข้าสู่บัญชีและเอาเงินออกทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องพูด” นั้น  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บริษัท AIS ออกประกาศยืนยันว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่สามารถเกิดขึ้นได้  โดยหมายเลข 1175 เป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถโทร.เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของเอไอเอส รวมถึงโทร.ติดต่อลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการใช้บริการ เช่น การสมัครแพ็กเกจการใช้งาน และบริการอื่น ๆ เท่านั้น โดยไม่สามารถเข้าถึงบัญชีของประชาชนได้จากการรับสาย  ดังนั้นจึงขอความกรุณาหยุดส่งต่อข้อความ ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดในวงกว้าง ล่าสุด (21 กรกฎาคม 2566) มีการแชร์ข้อความเพิ่มเติมว่า มิจฉาชีพจะใช้ชื่อ .AIS 1175 โดยให้สังเกตเครื่องหมาย . ที่อยู่ข้างหน้า ทาง AIS ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง การแสดงเบอร์โทรเข้าของหมายเลขดังกล่าวบนหน้าจอมือถือของลูกค้า อาจแสดงได้ทั้งหมายเลข 1175 หรือ .AIS1175 […]

1 2 3
...