the Long March-8 was being transferred to the launching area

จีนเตรียมยิงจรวดที่ฐานปล่อยเชิงพาณิชย์

ปักกิ่ง 16 ธ.ค.- จีนเตรียมปล่อยจรวดขนาดกลางรุ่นใหม่ที่ฐานปล่อยจรวดเชิงพาณิชย์ในอีกไม่กี่วัน หลังจากประสบความสำเร็จในการเคลื่อนย้ายจรวดไปยังฐานปล่อยเมื่อบ่ายวันอาทิตย์ สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี (CCTV) ของทางการจีนรายงานว่า จรวดลองมาร์ช-8 (CZ-8) พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีจรวดขนส่งแห่งชาติจีน (CALT) ภายใต้สังกัดของบรรษัทวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินอวกาศแห่งประเทศจีน (CASC) ใช้เชื้อเพลิงขับเคลื่อนเหลวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประสบความสำเร็จในการซ้อมเสมือนจริงเต็มรูปแบบเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน และเมื่อเวลา 13.44 น.วันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น มีการเคลื่อนย้ายจรวดไปยังแท่นปล่อยหมายเลข 1 ของฐานปล่อยจรวดเชิงพาณิชย์ไห่หนาน ในเมืองเหวินชาง บนเกาะไห่หนานหรือไหหลำ ซึ่งเป็นฐานปล่อยจรวดเชิงพาณิชย์แห่งแรกของจีน เพื่อเตรียมปล่อยในเวลาที่เหมาะสมในอีกไม่กี่วันนี้ แท่นปล่อยแห่งนี้เริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม 2565แล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2566 และจะได้ทำหน้าที่ครั้งแรกด้วยการปล่อยจรวดลองมาร์ช-8 หลังจากฐานปล่อยจรวดเชิงพาณิชย์แห่งนี้ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ครั้งนั้นเป็นจรวดลองมาร์ช-12 อุตสาหกรรมจรวดเชิงพาณิชย์ของจีนเติบโตขึ้นจาก 800,000 ล้านหยวน (ราว 3.75 ล้านล้านบาท) ในปี 2562 เป็น 1.9 ล้านล้านหยวน (ราว 8.9 ล้านล้านบาท) ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวแตะ 2.34 ล้านล้านหยวน (ราว 10.96 […]

Starship booster reattaches launch tower

ทดสอบยานสตาร์ชิปรอบที่ 5 ผ่านฉลุย

แคลิฟอร์เนีย 14 ต.ค.- การทดสอบการบินของยานสตาร์ชิปและจรวดขับดันซูเปอร์เฮฟวี รอบที่ 5 ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ ประสบความสำเร็จด้วยดี โดยเฉพาะการที่จรวดซูเปอร์เฮฟวีสามารถร่อนกลับมาลงจอดที่ฐานปล่อยได้ตามเดิมอย่างแม่นยำเป็นครั้งแรกของโลก บริษัทสเปซเอ็กซ์ของอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทยานยนต์ไฟฟ้าเทสลา ประสบความสำเร็จในการทดสอบการบินของยานสตาร์ชิป รอบที่ 5 ช่วงเช้าวานนี้ตามเวลาท้องถิ่น ที่ฐานปล่อยจรวดของสเปซเอ็กซ์ ริมชายฝั่งรัฐเท็กซัสของสหรัฐ โดยยานสตาร์ชิปทะยานขึ้นจากฐานปล่อยอย่างทรงพลัง และแยกตัวจากจรวดขับดันซูเปอร์เฮฟวีในระยะเหนือพื้นโลกประมาณ 70 กิโลเมตร จากนั้นพุ่งทะยานแตะระดับไปต่อตามแผนการทดสอบการบิน ก่อนร่อนกลับสู่พื้นโลกที่มหาสมุทรอินเดียภายในเวลา 90 นาที ที่น่าตื่นตาตื่นใจ คือ จรวดขับดันซูเปอร์เฮฟวีที่ถอนตัวจากยานแม่สตาร์ชิป สามารถร่อนกลับมาลงจอดยังฐานปล่อยที่รัฐเท็กซัสได้ตามเดิมอย่างแม่นยำเป็นครั้งแรกของโลก ท่ามกลางเสียงโห่ร้องยินดีของทีมงานในห้องควบคุมทางภาคพื้นของสเปซเอ็กซ์ ถือเป็นวิธีการพัฒนาที่ล้ำยุคครั้งล่าสุดในการพัฒนาจรวดและยานอวกาศที่สเปซเอ็กซ์เรียกว่า ‘ทดสอบเพื่อล้มเหลว’ ในการพัฒนาและสร้างจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ เพื่อขนส่งสิ่งของและอุปกรณ์ขึ้นสู่อวกาศได้ปริมาณมากขึ้นและใช้เวลาดำเนินการน้อยลง รวมทั้งการส่งนักบินอวกาศขึ้นไปยังดวงจันทร์ตามโครงการสำรวจอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซา และท้ายที่สุด คือ การสำรวจดาวอังคาร อีลอน มัสก์ เปิดตัวโครงการยานสตาร์ชิปครั้งแรกเมื่อปี 2560  การทดสอบในรอบที่ผ่านมาเกิดระเบิดขึ้นหลายครั้ง ก่อนมาประสบความสำเร็จในการทดสอบการบินเมื่อเดือนมิถุนายนเป็นครั้งแรก  ส่วนจรวดขับดันซูเปอร์เฮฟวีความสูง 71 เมตร ประกอบด้วยเครื่องยนต์ 33 เครื่อง ทำให้มีกำลังแรงผลักดันที่ทรงพลังมากกว่าจรวดของยานอาร์ทิมิสขององค์การนาซาถึง 2 เท่า.-815(814).-สำนักข่าวไทย             

จรวดจีนเกิดเหตุผิดพลาดขณะทดสอบ

เหอหนาน 2 ก.ค.- การทดสอบส่งจรวดในจีนเกิดความผิดพลาด จรวดพุ่งขึ้นไปเองจากฐานปล่อย ก่อนตกกระแทกภูเขาระเบิดเสียงดังสนั่น เคราะห์ดีไม่มีผู้ได้รับอันตรายจากเหตุการณ์นี้ คลิปที่ผู้เห็นเหตุการณ์บันทึกไว้ได้ เห็นการทดสอบจุดเครื่องยนต์จรวดเทียนหลง-3 ของบริษัทสเปซ ไพโอเนียร์ ในพื้นที่ป่ากลางหุบเขาใกล้เมืองก่งอี้ มณฑลเหอหนาน ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของจีนเมื่อวันอาทิตย์ แต่จู่ ๆ เกิดความผิดพลาดขึ้น ส่งผลให้จรวดหลุดออกจากฐานปล่อย ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าไม่กี่สิบเมตร แล้วค่อย ๆ เอียงตกกระแทกพื้น เกิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่ บริษัทสเปซ ไพโอเนียร์ แจ้งว่า เนื่องจากเกิดความผิดพลาดเชิงโครงสร้างระหว่างตัวจรวดกับฐานยิงทดสอบ ทำให้จรวดขั้นที่ 1 แยกตัวออกจากฐานปล่อยทั้งที่ไม่ได้สั่งการยิงจรวด และหลังจากที่จรวดพุ่งทะยานขึ้นจากฐาน ระบบคอมพิวเตอร์ได้ปิดระบบโดยอัตโนมัติ ทำให้จรวดไปตกบริเวณภูเขาห่างจากฐานปล่อยประมาณ 1.5 กิโลเมตร ตัวจรวดตกกระแทกภูเขาและระเบิดเสียหาย  แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ เนื่องจากมีการอพยพชาวบ้านในพื้นที่ล่วงหน้าก่อนที่จะทำการทดสอบ สเปซ ไพโอเนียร์ เป็นหนึ่งในบริษัทขนส่งอวกาศเชิงพาณิชย์รายใหญ่ของจีน มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว โดยเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว บริษัทแห่งนี้ประสบความสำเร็จในการปล่อยจรวดเทียนหลง-2 กลายเป็นบริษัทขนส่งอวกาศเอกชนรายแรกของจีนที่สามารถส่งจรวดเชื้อเพลิงเหลวขึ้นสู่อวกาศและเข้าสู่วงโคจรได้สำเร็จ ส่วนจรวดเทียนหลง-3 ที่เกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ เป็นจรวดใช้เชื้อเพลิงเหลวขนาดใหญ่ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการสร้างเครือข่ายดาวเทียมอินเทอร์เน็ตของจีน.-815(814).-สำนักข่าวไทย

จรวดส่งดาวเทียมญี่ปุ่นระเบิดหลังทะยานขึ้นได้ไม่กี่นาที

โตเกียว 13 มี.ค.- ไครอส (Kairos) จรวดเชื้อเพลิงแข็งขนาดเล็กของญี่ปุ่นระเบิดหลังทะยานขึ้นจากฐานปล่อยได้ไม่กี่วินาทีในวันนี้ เป็นการออกเดินทางเที่ยวแรกเพื่อนำดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร ภาพการถ่ายทอดสดทางสื่อสังคมออนไลน์ในญี่ปุ่นเห็นจรวดเชื้อเพลิงแข็ง 4 ท่อน ความยาว 18 เมตรระเบิด หลังจากทะยานขึ้นเมื่อเวลา 11:01 น.วันนี้ตามเวลาญี่ปุ่น ตรงกับเวลา 09:01 น. วันนี้ตามเวลาไทย ทำให้เกิดกลุ่มควันขนาดใหญ่ ลูกไฟ และซากจรวด นักดับเพลิงเร่งฉีดน้ำที่ฐานปล่อยจรวดซึ่งตั้งอยู่ปลายคาบสมุทรคี ทางตะวันตกของญี่ปุ่น สเปซวัน (Space One) เจ้าของจรวดที่หวังจะเป็นบริษัทญี่ปุ่นแห่งแรกที่สามารถนำดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรแจ้งว่า เกิดเหตุขัดข้องหลังจากจรวดทะยานขึ้น บริษัทกำลังสอบสวนหาสาเหตุอยู่ ขณะนี้ยังไม่ทราบว่ามีคนบาดเจ็บหรือไม่ โดยปกติแล้วจะไม่มีคนอยู่ใกล้ฐานในช่วงที่มีการปล่อยจรวด จรวดไครอสมีภารกิจนำดาวเทียมทดลองของรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าสู่วงโคจร เพื่อทำหน้าที่แทนดาวเทียมข่าวกรองเป็นการชั่วคราวในกรณีที่มีปัญหา เดิมสเปซวันมีกำหนดปล่อยจรวดเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา แต่ได้เลื่อนมาเป็นวันนี้เนื่องจากมีเรือลำหนึ่งแล่นเข้ามาในน่านน้ำหวงห้าม.-814.-สำนักข่าวไทย

จรวด “สตาร์ชิพ” ทำให้ฐานปล่อยเสียหายหนัก

การทดสอบบินครั้งแรกของจรวด “สตาร์ชิพ” ขนาดใหญ่ที่ทรงพลังที่สุดที่เคยสร้างของสเปซเอ็กซ์ เมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักที่บริเวณฐานปล่อยจรวด “สตาร์เบส” ในรัฐเท็กซัส ของสหรัฐ โดยชิ้นคอนกรีตขนาดใหญ่ปลิวกระจาย แผ่นเหล็กบิดเบี้ยว และเกิดหลุมลึกที่พื้นดิน

จรวดยักษ์ของนาซาทะยานขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์แล้ว

ฟลอริดา 16 พ.ย.- จรวดที่ทรงพลังที่สุดขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซา (NASA) ทะยานจากฐานปล่อยขึ้นไปปฏิบัติภารกิจอาร์ทิมิสวัน (Artemis 1) ซึ่งเป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์แล้วในวันนี้ จรวดเอสแอลเอส (SLS) ความสูงเท่าตึก 32 ชั้นที่นาซาใช้เวลาพัฒนากว่าทศวรรษ ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดาเมื่อเวลา 01:47 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 13:47 น.วันนี้ตามเวลาไทย มีแรงขับจรวดมากเป็นประวัติการณ์ถึง 39 เมกะนิวตัน เพื่อนำยานโอไรอัน (Orion) ที่ไร้นักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ เป็นเที่ยวบินทดสอบสำหรับนำร่องเที่ยวบินที่จะมีนักบินอวกาศหญิงคนแรกและนักบินอวกาศผิวสีคนแรกขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ภายในกลางคริสต์ทศวรรษ 2020 หลังจากสหรัฐส่งนักบินอวกาศขึ้นไปบนดวงจันทร์ครั้งหลังสุดในช่วงปี 2512-2515 นาซาวาดหวังว่า จะสามารถตั้งถิ่นฐานมนุษย์และสถานีอวกาศดวงจันทร์เพื่อเตรียมการสำหรับภารกิจไปดาวอังคารในคริสต์ทศวรรษหลังปี 2030 ช่วงเวลานับถอยหลังปล่อยจรวดที่เริ่มตั้งแต่เวลา 01:04 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 13:04 น.วันนี้ตามเวลาไทย เป็นช่วงเวลาตื่นเต้นเนื่องจากทีมงานต้องแก้ไขปัญหาวาล์วรั่วที่ทำให้วิศวกรต้องระงับการปล่อยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเหลวเข้าไปที่จรวดท่อนกลางเมื่อคืนวันอังคาร ทีมงานใช้เวลาแก้ไขที่ฐานปล่อยประมาณ 1 ชั่วโมงด้วยการไขสลักเกลียวให้แน่นขึ้น ยานโอไรอันทะยานขึ้นจากฐานปล่อยด้วยจรวดเพิ่มแรงส่งหรือบูสเตอร์ 2 ตัวและเครื่องยนต์ทรงพลัง 4 ตัวที่อยู่ใต้จรวดท่อนกลาง ก่อนที่จรวดท่อนกลางจะแยกตัวออกไปภายในไม่กี่นาที ขณะที่จรวดท่อนบนจะนำยานเข้าสู่เส้นทางไปดวงจันทร์ โดยต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะถึงจุดหมาย ยานโอไรอันจะไม่ลงจอดบนดวงจันทร์ แต่จะโคจรอยู่ห่าง ๆ ถัดจากด้านมืดของดวงจันทร์ออกไป […]

นาซาพร้อมส่งจรวดสำรวจดวงจันทร์หลังเลื่อนมา 3 ครั้ง

ฟลอริดา 16 พ.ย.- องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐหรือนาซา (NASA) พร้อมส่งจรวดสำรวจดวงจันทร์ขนาดใหญ่ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยที่รัฐฟลอริดาในวันนี้ หลังจากเลื่อนการปล่อยมาแล้ว 3 ครั้ง นาซากำหนดเริ่มการปล่อยจรวดในภารกิจอาร์ทิมิสวัน (Artemis 1) ที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีในเวลา 01:04 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 13:04 น. วันนี้ตามเวลาในไทย ท่ามกลางสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยราวร้อยละ 90 โดยจะดำเนินการตามกำหนดได้ หากแก้ไขปัญหาวาล์วรั่วที่ฐานปล่อยได้เรียบร้อย ภารกิจนี้เป็นเที่ยวบินทดสอบแบบไร้นักบินอวกาศ เป็นก้าวแรกของแผนการตั้งถิ่นฐานมนุษย์บนดวงจันทร์ และนำบทเรียนมาใช้เตรียมการสำหรับการเดินทางไปดาวอังคารในคริสต์ทศวรรษหลังปี 2030 นอกจากนี้ยังเป็นการกลับไปดวงจันทร์ครั้งแรกหลังจากนักบินอวกาศไปฝากรอยเท้าไว้เมื่อ 50 ปีก่อน และเป็นการปฏิบัติภารกิจครั้งแรกของจรวดเอสแอลเอส (SLS) ที่เป็นจรวดขนาดใหญ่สูงเทียบเท่าตึก 32 ชั้น และทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา นาซายืนยันว่า มีความเสี่ยงต่ำมาก หลังจากเฮอริเคนนิโคลพัดผ่านฐานปล่อยเมื่อสัปดาห์ก่อนและสร้างความเสียหายเพียงเล็กน้อย หากจำเป็นก็อาจเลื่อนไปปล่อยในวันที่ 19 หรือ 25 พฤศจิกายน ภารกิจครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก คาดว่าจะมีคนเรือนแสนทั้งนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ไปรอชมการปล่อยจรวดบริเวณชายฝั่ง หลังจากที่ต้องเลื่อนการปล่อยมาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 สิงหาคมเพราะเซ็นเซอร์มีปัญหา ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ […]

อิหร่านพาสื่อดูดาวเทียมที่ไม่เสียหายหลังจรวดระเบิดที่ฐานปล่อย

อิหร่านพาสื่อชมดาวเทียมที่ไม่เสียหาย หลังจากทรัมป์ทวีตว่าสหรัฐไม่เกี่ยวข้องกับเหตุจรวดนำดาวเทียมอิหร่านระเบิดที่ฐานปล่อย ซึ่งเป็นความล้มเหลวครั้งที่สามในปีนี้

...