เรือเวียดนามช่วยชาวโรฮีนจา 154 คนรอดตายจากเหตุเรือล่ม
เรือบรรทุกน้ำมันของเวียดนามเข้าช่วยเหลือชาวโรฮีนจา 154 คนบนเรือที่ประสบเหตุล่มในทะเลอันดามัน และนำชาวโรฮีนจาทั้งหมดส่งให้แก่กองทัพเรือของเมียนมา
เรือบรรทุกน้ำมันของเวียดนามเข้าช่วยเหลือชาวโรฮีนจา 154 คนบนเรือที่ประสบเหตุล่มในทะเลอันดามัน และนำชาวโรฮีนจาทั้งหมดส่งให้แก่กองทัพเรือของเมียนมา
เกดะห์ 21 เม.ย. – ตำรวจมาเลเซียเผยว่า สภาพแออัดของศูนย์กักกันคนเข้าเมืองในรัฐปีนัง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดจลาจลขึ้นจนมีชาวโรฮิงญาหลายร้อยคนหลบหนีออกจากศูนย์ดังกล่าวเมื่อวันพุธ รวมถึงชาวโรฮิงญา 6 รายที่ถูกรถชนเสียชีวิตบนทางหลวงมาเลเซีย ตำรวจของรัฐเกดะห์ ที่ตั้งอยู่ทางเหนือของรัฐปีนังและมีพรมแดนติดกัน ระบุว่า เจ้าหน้าที่กำลังเร่งสืบสวนเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการจลาจลในค่ายกักกันคนเข้าเมืองชั่วคราวในรัฐปีนัง โดยใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตราว่าด้วยการขัดขวางการจับกุมและมาตราว่าด้วยการก่อจลาจล ทั้ง 2 มาตรามีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี เหตุดังกล่าวทำให้มีชาวโรฮิงญาราว 528 คนหลบหนีออกจากศูนย์กักกันเมื่อช่วงเช้ามืดของวันพุธ ในจำนวนนี้ มีชาวโรฮิงญา 6 รายถูกรถชนเสียชีวิตในขณะที่กำลังข้ามถนนบนทางหลวงมาเลเซีย ขณะนี้ ตำรวจมาเลเซียสามารถจับกุมชาวโรฮิงญากลับมาได้ 357 คนนับถึงช่วงบ่ายวานนี้ ตำรวจของรัฐเกดะห์ยังระบุว่า มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์กักกันคนเข้าเมืองประจำการอยู่ 23 คนขณะเกิดเหตุจลาจล อย่างไรก็ดี ตำรวจไม่ได้รับรายงานผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่มีรายงานความเสียหายเล็กน้อยที่ประตูทางเข้าหลักและรั้วตาข่ายของศูนย์กักกัน สภาพแออัดของศูนย์ดังกล่าวที่ไม่เพียงพอต่อการรองรับชาวโรฮิงญาจำนวนมากเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และทำให้ชาวโรฮิงญาสบโอกาสหลบหนีไปได้ ขณะนี้ ตำรวจรัฐเกดะห์ได้ประสานงานกับตำรวจรัฐปีนังเพื่อตามจับชาวโรฮิงญาอีกกว่าร้อยคนที่ยังคงหลบหนีอยู่ ขณะที่นายฮัมซาห์ ไซนุดดิน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของมาเลเซีย เผยว่า ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้ถูกจับกุมในข้อหาเดินทางเข้ามาเลเซียโดยผิดกฎหมายเมื่อปี 2563. -สำนักข่าวไทย
แคลิฟอร์เนีย 7 ธ.ค. – ชาวโรฮิงญาที่อพยพจากเมียนมายื่นฟ้องเมตา แพลตฟอร์ม อิงค์ บริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก และเรียกค่าเสียหาย 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (5 ล้านล้านบาท) โดยกล่าวหาว่า เมตาไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เพื่อควบคุมการใช้ประทุษวาจาที่มุ่งโจมตีชาวโรฮิงญาและทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น อีเดลสัน พีซี และฟีลด์ส พีแอลแอลซี บริษัทกฎหมายของสหรัฐ ได้ยื่นฟ้องต่อรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ โดยอ้างว่า เมตาล้มเหลวในการควบคุมเนื้อหาและการออกแบบแพลตฟอร์มที่ทำให้เกิดความรุนแรงในโลกเสมือนจริงที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนชาวโรฮิงญา ขณะที่ทนายความชาวอังกฤษหลายรายก็ได้ส่งจดหมายแจ้งเตือนไปยังสำนักงานของเฟซบุ๊กในกรุงลอนดอนเช่นกัน ด้านเมตายังไม่ได้ตอบข้อถามของสำนักข่าวรอยเตอร์ในเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี เมตาเคยระบุก่อนหน้านี้ว่า บริษัทได้ดำเนินการช้าเกินไปในการป้องกันการให้ข้อมูลเท็จและการสร้างความเกลียดชังในเมียนมา แต่หลังจากนั้นได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อควบคุมการใช้แพลตฟอร์มในทางที่ผิดในภูมิภาคดังกล่าวแล้ว ซึ่งรวมถึงการสั่งปิดบัญชีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมของรัฐบาลทหารเมียนมาหลังเกิดเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์. -สำนักข่าวไทย
เนปิดอว์ 27 ส.ค.- โฆษกกองทัพเมียนมาแถลงวันนี้ว่า ทางการจะฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ให้แก่ชาวมุสลิมโรฮิงญา และจะไม่มีใครถูกทิ้งในโครงการฉีดวัคซีน โฆษกกองทัพกล่าวในการแถลงข่าวตามปกติว่า ทางการมีความคืบหน้าในการลดยอดผู้ติดเชื้อ และเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีน โดยตั้งเป้าจะฉีดให้ได้ครึ่งหนึ่งของประชากรภายในสิ้นปีนี้ ครอบคลุมถึงชาวเบงกาลี (เป็นคำที่ชาวเมียนมาใช้เรียกชาวโรฮิงญา) ในเขตมองตอและเขตบู้ตี้ดอง ที่มีพรมแดนติดกับบังกลาเทศด้วย เพราะคนเหล่านี้เป็นประชาชนของเมียนมาเช่นเดียวกัน ทางการจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อย่างไรก็ดี โฆษกไม่ได้ระบุว่า การฉีดวัคซีนนี้จะครอบคลุมถึงชาวมุสลิมโรฮิงญาที่อาศัยอย่างแออัดตามค่ายที่พักในรัฐยะไข่หรือไม่ ประเด็นนี้เป็นเรื่องอ่อนไหว เนื่องจากชาวเมียนมาที่นับถือศาสนาพุทธและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมองว่า ชาวมุสลิมโรฮิงญาเป็นผู้อพยพมาจากบังกลาเทศ. -สำนักข่าวไทย
ธากา 10 ส.ค. – บังกลาเทศเริ่มฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ให้แก่ชาวมุสลิมโรฮิงญาในค่ายผู้ลี้ภัยที่เมืองค็อกซ์บาซาร์ซึ่งเป็นค่ายผู้อพยพที่ใหญ่ที่สุดในโลกในวันนี้ หัวหน้าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเมืองค็อกซ์บาซาร์ในบังกลาเทศเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า ชาวโรฮิงญาราว 48,000 คนที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันอังคารไปจนถึงวันพฤหัสบดีด้วยความช่วยเหลือจากหน่วยงานของสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ทั้งยังระบุว่า การฉีดวัคซีนในครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เพราะชาวโรฮิงญาวัยผู้ใหญ่จะได้รับการฉีดวัคซีนต่อไปเป็นระยะ ๆ อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ของรัฐยะไข่ทางตะวันตกของเมียนมาเคยกล่าวผ่านสื่อว่า ขณะนี้พวกเขายังไม่มีแผนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ ก่อนหน้านี้ ทางการบังกลาเทศพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดพุ่งสูงขึ้นในค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมในค่ายดังกล่าวราว 20,000 คน และมีผู้เสียชีวิต 200 คนนับตั้งแต่พบการระบาดครั้งแรกเมื่อปีก่อน ในขณะเดียวกัน ทางการบังกลาเทศก็พยายามควบคุมยอดผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสมกว่า 1.36 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตกว่า 22,800 คน.-สำนักข่าวไทย
ธากา 4 มี.ค. – รัฐมนตรีต่างประเทศของอินเดียเดินทางถึงบังกลาเทศในวันนี้ และจะหารือแนวทางแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา 81 คนที่อินเดียช่วยชีวิตไว้ในขณะที่ลอยเรือเคว้งคว้างอยู่ในน่านน้ำระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่ของอินเดียในกรุงนิวเดลีเผยว่า นายสุพรหมณยัม ชัยศังกระ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอินเดียจะเปิดการเจรจาร่วมกับบังกลาเทศในประเด็นเกี่ยวกับการแบ่งปันน้ำ การค้า และประเด็นเรื่องพรมแดน ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงต่างประเทศอินเดียระบุว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดียจะหารือเกี่ยวกับปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอย่างแน่นอนในระหว่างที่เดินทางเยือนบังกลาเทศเป็นเวลา 1 วัน แต่วาระสำคัญจะเกี่ยวกับแผนการเยือนบังกลาเทศของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ของอินเดีย เนื่องในโอกาสครบรอบวันประกาศอิสรภาพบังกลาเทศครบ 50 ปีในเดือนนี้ เมื่อเดือนที่แล้ว หน่วยยามฝั่งของอินเดียได้ช่วยชีวิตชาวโรฮิงญา 81 คนบนเรือที่ลอยอยู่กลางทะเลอันดามันมากว่า 2 สัปดาห์หลังเดินทางออกจากบังกลาเทศ ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากว่า 1 ล้านคนที่หลบหนีมาจากเมียนมา ทั้งนี้ บนเรือยังมีชาวโรฮิงญาที่เสียชีวิต 8 คนเพราะเผชิญกับสภาพขาดน้ำอย่างรุนแรง อย่างไรก็ดี ชะตาชีวิตของชาวโรฮิงญากลุ่มดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากอินเดียยังไม่อนุญาตให้พวกเขาเข้าประเทศ และต้องการให้บังกลาเทศรับตัวพวกเขากลับไป ด้านนายอะบูลกาลาม อับดุล โมเมน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของบังกลาเทศกล่าวเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า รัฐบาลบังกลาเทศต้องการให้อินเดีย ซึ่งมีพรมแดนใกล้กับจุดที่พบเรือของชาวโรฮิงญามากที่สุด หรือเมียนมา ซึ่งเป็นประเทศที่พวกเขาหลบหนีออกมา เป็นผู้รับตัวชาวโรฮิงญาทั้ง 81 คนไว้.-สำนักข่าวไทย
บังกลาเทศ 22 ก.พ. – สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอชซีอาร์ (UNHCR) เรียกร้องให้เร่งช่วยเหลือกลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงญาบนเรือที่ลอยเคว้งคว้างอยู่กลางทะเลอันดามันโดยปราศจากอาหารและน้ำดื่ม คาดว่ามีผู้อพยพหลายคนที่ล้มป่วยและทุกข์ทรมานจากภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ยูเอ็นเอชซีอาร์ออกแถลงการณ์ว่า เชื่อว่ามีชาวโรฮิงญาเสียชีวิตไปแล้วจำนวนหนึ่ง และเสียชีวิตเพิ่มในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาบนเรือที่ออกเดินทางมาจากเขตคอกซ์บาซาร์ ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของบังกลาเทศเมื่อ 10 วันก่อน และประสบปัญหาเครื่องยนต์เสีย ยูเอ็นเอชซีอาร์ได้แจ้งไปยังทางการของรัฐที่เกี่ยวข้อง ขอให้ดำเนินการช่วยเหลือทันทีเพื่อช่วยชีวิตและป้องกันการเกิดโศกนาฏกรรม เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับตำแหน่งของเรือดังกล่าว และพร้อมให้การสนับสนุนรัฐบาลต่าง ๆ ด้วยการจัดสรรความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและการกักตัวแก่ชาวโรฮิงญาที่ได้รับการช่วยชีวิต ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ยามฝั่งของอินเดียกล่าวกับรอยเตอร์ว่า หน่วยของเขาพบเรือลำดังกล่าวในพื้นที่นอกชายฝั่งทะเลอันดามันและบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย เรือมีสภาพปลอดภัยดี แต่ไม่มีใครรู้ว่าชาวโรฮิงญาบนเรือตกอยู่ในสภาพเช่นใด ขณะที่เจ้าหน้าที่ของบังกลาเทศระบุว่า พวกเขาไม่ทราบเรื่องว่ามีเรือล่องออกจากค่ายผู้อพยพชาวโรฮิงญา หากทราบต้องยับยั้งแน่นอน. -สำนักข่าวไทย
ย่างกุ้ง 7 ธ.ค. – ตำรวจเมียนมาจับกุมชาวโรฮิงญาเกือบ 100 คนที่หลบหนีมาจากรัฐยะไข่ทางตะวันตก มายังนครย่างกุ้ง ขณะที่ชาวโรฮิงญากำลังถูกส่งตัวไปยังมาเลเซีย ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับขบวนการค้ามนุษย์ ตำรวจนครย่างกุ้งนำกำลังบุกเข้าตรวจสอบบ้าน 2 หลังในเมืองชเว-ปยีตาและพบชาวโรฮิงญา 99 คนที่หลบหนีมาจากรัฐยะไข่ รองผู้กำกับการตำรวจเมืองชเว-ปยีตากล่าวว่า ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้หลบหนีมาจากเมืองหม่องดอว์ บูตีด่อง ซิตตเว และเจ๊าตอของรัฐยะไข่เพื่อไปทำงานในมาเลเซีย ทั้งยังระบุว่า ตำรวจเมียนมาจะดำเนินการสืบสวนว่าใครเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลักลอบพาชาวโรฮิงญาหนีไปมาเลเซียในครั้งนี้ แต่เขาไม่สามารถยืนยันได้ว่า ชาวโรฮิงญากลุ่มนี้จะถูกส่งตัวกลับไปรัฐยะไข่หรือไม่ สื่อท้องถิ่นของเมียนมาเผยแพร่ภาพชาวโรฮิงญาที่ถูกจับกุมยืนเท้าเปล่าและสวมหน้ากากอนามัยบริเวณหน้าบ้านพักที่ใช้เป็นที่หลบซ่อนตัวมานานหลายเดือน กลุ่มชาวโรฮิงญาดังกล่าวมีผู้หญิง 73 คนที่เดินทางมาพร้อมกับเด็กอีกหลายคนที่มีอายุระหว่าง 5–10 ปี ขณะที่เครือข่ายความร่วมมือแห่งอาระกัน ซึ่งเป็นกลุ่มช่วยเหลือชาวโรฮิงญาเผยว่า ขณะนี้ชาวโรฮิงญากลุ่มดังกล่าวเข้าสู่มาตรการกักตัวในมหาวิทยาลัยท้องถิ่นแห่งหนึ่งเพื่อรอรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. -สำนักข่าวไทย
ชาวประมงในจังหวัดอาเจะห์ ทางเหนือสุดของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียช่วยเหลือชาวโรฮิงญาเกือบร้อยคน ในจำนวนนี้เป็นเด็กและผู้หญิง 79 คน หลังจากทางการเตรียมส่งพวกเขากลับสู่ทะเล
มาเลเซียจะขอให้บังกลาเทศรับกลับชาวโรฮิงญาเกือบ 300 คนที่ถูกควบคุมตัวหลังล่องเรือเข้ามาในน่านน้ำมาเลเซียเมื่อไม่กี่วันก่อน
ศาลเมืองพะสิม เขตอิรวดี ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมียนมายกฟ้องผู้ใหญ่และเด็กชาวโรฮิงญาจำนวน 128 คนเมื่อวานนี้และสั่งให้ปล่อยตัว
รัฐบาลแกมเบียเผยว่า ศาลโลกจะมีคำชี้ขาดในวันที่ 23 มกราคมว่า จะต้องออกมาตรการฉุกเฉินกับเมียนมาเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาหรือไม่