fbpx

นายกฯ ปราศรัยต้อนรับเดือนรอมฎอน ปี พ.ศ. 2567

นายกฯ ปราศรัยต้อนรับเดือนรอมฎอน ประจำปี พ.ศ. 2567 (ฮ.ศ. 1445) ส่งความรัก ความปรารถนาดี แสดงความยินดีกับพี่น้องชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศ-พี่น้องชาวไทยมุสลิมที่พำนักในต่างประเทศ ขอพรอันประเสริฐแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า อำนวยพรพี่น้องชาวไทยมุสลิม

“เศรษฐา” เยี่ยมคารวะจุฬาราชมนตรี

“เศรษฐา” เยี่ยมคารวะจุฬาราชมนตรี ยืนยันรัฐบาลจะทำงาน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชาวมุสลิม ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

นายกฯ เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงละศีลอด เดือนรอมฎอน

นายกฯ เป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงละศีลอด เดือนรอมฎอน ฮ.ศ.1444 อวยพรให้พี่น้องชาวมุสลิมมีจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง ดำรงตนเป็นคนดีของสังคม มีความอารีต่อสาธารณะ เป็นกำลังสำคัญสรรค์สร้างให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง

นายกฯ ส่งความปรารถนาดีถึงชาวมุสลิม เนื่องในโอกาสวันอิฎิ้ลฟิตริ

นายกฯ กล่าวเนื่องในโอกาสวันอิฎิ้ลฟิตริ ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1443 ส่งความรัก ความระลึกถึง และความปรารถนาดียังพี่น้องชาวมุสลิมทุกคน ที่ได้ปฏิบัติศาสนกิจถือศีลอดตลอดช่วงเดือนรอมฎอนอย่างสมบูรณ์

“วิโรจน์” เดินสายรับฟังปัญหาชาวมุสลิมช่วงเดือนรอมฎอน

“วิโรจน์” เดินสายพูดคุยรับฟังปัญหาชาวมุสลิมเขตสวนหลวงช่วงเดือนรอมฎอน ยืนยัน กระจายงบประมาณง่ายที่สุด เพื่อให้ประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ศาลอินเดียมีมติหนุนคำสั่งห้ามสวมฮิญาบในห้องเรียน

นิวเดลี 15 มี.ค. – ศาลอินเดียมีมติสนับสนุนคำสั่งห้ามสวมฮิญาบในห้องเรียนของรัฐกรณาฏกะ ทางตอนใต้ของอินเดีย หลังจากที่รัฐดังกล่าวประกาศสั่งห้ามสวมฮิญาบเข้าห้องเรียนเมื่อเดือนก่อน ซึ่งทำให้มีผู้ปกครองและนักเรียนชาวมุสลิมรวมตัวชุมนุมประท้วงต่อต้านจนปะทะกับกลุ่มนักเรียนชาวฮินดูที่สนับสนุนคำสั่งดังกล่าว หัวหน้าผู้พิพากษาศาลสูงของรัฐกรณาฏกะอ่านคำพิพากษาที่ระบุว่า ศาลได้ลงความเห็นแล้วว่าการสวมฮิญาบของสตรีชาวมุสลิมไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแนวปฏิบัติที่จำเป็นทางศาสนา รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐกรณาฏกะมีอำนาจในการกำหนดข้อบังคับเรื่องชุดแต่งกายเข้าห้องเรียน ทำให้ศาลต้องยกฟ้องคำร้องยื่นคัดค้านต่อคำสั่งดังกล่าว ขณะที่กลุ่มนักเรียนที่ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งห้ามสวมฮิญาบในห้องเรียนต่อศาลเผยว่า การสวมฮิญาบเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของอินเดียและเป็นแนวปฏิบัติที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ส่วนนายอับดุล มาจีด หัวหน้าพรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งอินเดีย ซึ่งมักต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ของชาวมุสลิมเป็นหลัก กล่าวว่า เขาจะไปหารือกับกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองที่ร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อช่วยยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาต่อไป หากผู้ร้องเรียนมีความประสงค์จะทำเช่นนั้น สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ก่อนที่ศาลสูงจะอ่านคำพิพากษาในวันนี้ ทางการรัฐกรณาฏกะได้สั่งปิดการเรียนการสอนในโรงเรียนและวิทยาลัยหลายแห่ง รวมถึงออกคำสั่งห้ามการรวมตัวของประชาชนในบางพื้นที่เพื่อป้องกันการชุมนุมประท้วง ขณะที่นักวิเคราะห์หลายรายตั้งข้อสังเกตว่า คำสั่งห้ามสวมฮิญาบในห้องเรียนของรัฐกรณาฏกะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการไม่ให้ความสำคัญต่อชาวมุสลิมในอินเดียที่มีสัดส่วนร้อยละ 13 จากประชากรอินเดียทั้งหมด 1,350 ล้านคน โดยที่อินเดียมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ก่อนหน้านี้ คำสั่งห้ามสวมฮิญาบของรัฐกรณาฏกะยังทำให้เกิดการประท้วงในรัฐต่าง ๆ ของอินเดียอีกด้วย ส่วนสหรัฐและองค์การความร่วมมืออิสลามก็ได้ออกมาตำหนิเกี่ยวกับคำสั่งดังกล่าวเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย

เหตุประท้วงสวมฮิญาบลามไปรัฐประชากรมากสุดของอินเดีย

ลัคเนา 15 ก.พ. – กลุ่มชายหลายสิบคนในรัฐอุตตรประเทศ ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดและตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย ออกมาชุมนุมสนับสนุนคำสั่งห้ามสวมฮิญาบในชั้นเรียน หลังกลุ่มนักศึกษาหญิงมุสลิมในอินเดียเพิ่งประท้วงคัดค้านคำสั่งห้ามสวมฮิญาบในชั้นเรียนที่รัฐกรณาฏกะเมื่อสัปดาห์ก่อน สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า กลุ่มชายอินเดียหลายสิบคนได้เดินทางไปยังวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตอลีครห์ของรัฐอุตตรประเทศ ซึ่งมีพรมแดนติดกรุงนิวเดลี เพื่อยื่นหนังสือคำร้องให้เจ้าหน้าที่หาทางออกคำสั่งห้ามสวมฮิญาบในชั้นเรียนโดยเด็ดขาด ผู้อำนวยการของวิทยาลัยดังกล่าวระบุว่า กลุ่มชายเหล่านี้สวมผ้าคลุมพันรอบคอ ซึ่งเป็นการแต่งกายของชาวฮินดู แต่เขาไม่รู้จักคนกลุ่มนี้ ปัจจุบันวิทยาลัยไม่อนุญาตให้สวมเครื่องแต่งกายทางศาสนาในชั้นเรียน แต่สามารถแต่งกายลักษณะเช่นนั้นนอกห้องเรียนได้ ทั้งยังระบุเพิ่มเติมว่า เมื่อสองปีก่อนเคยเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้นมาแล้ว และกำลังเกิดซ้ำขึ้นอีกครั้งในตอนนี้ อย่างไรก็ดี วิทยาลัยยังคงไม่อนุญาตให้นักศึกษาสวมเครื่องแต่งกายทางศาสนาในชั้นเรียน เพราะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งกายสำหรับทุกคนที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ก่อนหน้านี้ ทางการรัฐกรณาฏกะที่อยู่ทางตอนใต้ของอินเดียได้สั่งปิดการเรียนการสอนในวิทยาลัยหลายแห่งเมื่อสัปดาห์ก่อน หลังออกนโยบายใหม่ที่ห้ามไม่ให้นักศึกษาสวมฮิญาบในชั้นเรียน จนทำให้นักศึกษาหญิงชาวมุสลิมออกมาชุมนุมคัดค้านคำสั่งดังกล่าวและปะทะกับกลุ่มนักศึกษาชาวฮินดู ทั้งนี้ ชาวมุสลิมในอินเดียระบุว่า คำสั่งห้ามสวมฮิญาบเป็นการกดทับประชากรมุสลิมในอินเดียที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 13 ซึ่งต่างจากประชากรฮินดูที่มีสัดส่วนมากที่สุดในอินเดีย จากประชากรทั้งหมด 1,350 ล้านคน. -สำนักข่าวไทย

ห่วงใยชาวไทยมุสลิมประกอบศาสนกิจในวันอีฎิ้ลอัดฮา

ในวันพรุ่งนี้ (21 ก.ค.) จะเป็นวันฮารีรายอฮัจยี หรือวันอีฎิ้ลอัดฮา วันสำคัญทางศาสนาของชาวไทยมุสลิม ซึ่งในครั้งนี้สำนักจุฬาราชมนตรี ได้มีการออกประกาศแนวทางและวิธีปฏิบัติศาสนกิจให้กับชาวไทยมุสลิม เพื่อให้เป็นไปตามบัญญัติของศาสนาอิสลามและป้องกันความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือว่ายังมีการแพร่ระบาดรุนแรง

ชัวร์ก่อนแชร์ : 7 เหตุผล “อินทผลัม” ผลไม้มหัศจรรย์ จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ 7 เหตุผลที่ทำให้ “อินทผลัม” เป็นผลไม้มหัศจรรย์ เช่น มีวิตามิน ไฟเบอร์ ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก หรือช่วยคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

มุสลิมกลุ่มอนุรักษ์นิยมในอินโดนีเซียชุมนุมอย่างสันติ

ชาวมุสลิมกลุ่มอนุรักษ์นิยมจำนวนมากจัดการชุมนุมอย่างสันติใจกลางกรุงจาการ์ตาในวันนี้ หนึ่งในกลุ่มที่ร่วมชุมนุมเผยว่า ต้องการส่งเสริมความสามัคคี

1 2 3
...