fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาการและการรักษาโรคพาร์กินสัน

7 มีนาคม 2567 บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ สัญญาณของโรคพาร์กินสัน มีอาการอะไรบ้าง และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สัญญาณเตือนโรคพาร์กินสัน อาการสั่น ส่วนมากเป็นสั่นข้างเดียว ควบคุมตนเองไม่ได้ หากอายุน้อยมักมีอาการเกร็ง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น ก้าวสั้นแต่ก้าวถี่ เขียนหนังสือตัวเล็กลง การรักษาโรคพาร์กินสัน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ช่วยรักษาบรรเทาอาการไม่ให้แย่ลง โดยที่โรคพาร์กินสันจะมีความก้าวหน้าของโรคไปเรื่อย ๆ การรักษาสามารถรักษาด้วยยา และการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก เพื่อลดอาการสั่น แต่การผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดซึ่งอาจไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกราย สัมภาษณ์เมื่อ : 10 กรกฎาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศ

1 มิถุนายน 2566-เครื่องฟอกอากาศใช้กับห้องแบบไหน ควรติดตั้งไว้ตำแหน่งใด และดูแลรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 5 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศ มีดังนี้ 1. เครื่องฟอกอากาศ ใช้ได้กับห้องทุกขนาด ? ตอบ : การเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดห้อง เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่คุ้มค่าที่สุด 2. เครื่องฟอกอากาศ ใช้กับห้องที่เปิดโล่งได้ ? ตอบ : เครื่องฟอกอากาศสามารถทำงานได้ดีในห้องปิด ไม่ควรเปิดหน้าต่างขณะที่ใช้เครื่องฟอกอากาศเนื่องจากการเปิดหน้าต่างทิ้งไว้จะทำให้เครื่องฟอกอากาศทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ 3. เครื่องฟอกอากาศ ไม่ต้องเปลี่ยนฟิลเตอร์ ? ตอบ : เครื่องฟอกอากาศนั้นควรเปลี่ยนฟิลเตอร์ทุก 3 – 6 เดือน หรืออาจจะพิจารณาควรเปลี่ยนเมื่อความสามารถในการกรองฝุ่นลดลงเพื่อให้เครื่องฟอกอากาศสามารถระบายอากาศได้ดีเหมือนเดิม 4. ฟิลเตอร์สามารถล้างน้ำได้ ? ตอบ : ไม่สามารถล้างน้ำได้ การล้างแผ่นกรอง HEPA ด้วยน้ำจะลดประสิทธิภาพการทำงานของ HEPA ลงอย่างมาก ประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นขนาดเล็กลดลง […]

ตับพัง กับการกินสมุนไพรเกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

ตับพัง มักเกิดขึ้นในลักษณะของ “ตับอักเสบ” ซึ่งเกิดจากการดูดซึมสารต่าง ๆ ที่เราทานเข้าไปหลังจากผ่านกระบวนการย่อยในกระเพาะอาหาร ทุกสิ่งที่เราทานเข้าไปจะถูกดูดซึมผ่านตับอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้น หากสารนั้นทำให้เกิดอาการแพ้หรือปฏิกิริยาต่าง ๆ ต่อตับขึ้น ก็จะทำให้เกิดผลเสียหลายรูปแบบ

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคท่อน้ำตาอุดตัน ในเด็กและผู้ใหญ่

ท่อน้ำตาอุดตัน เป็นภาวะที่ระบบทางเดินท่อน้ำตามีการปิดกั้น ทำให้น้ำตาไม่สามารถระบายออกได้ ส่งผลให้มีน้ำตาไหลหรือน้ำตาคลอตลอดเวลา ซึ่งภาวะนี้เกิดได้ในกรณีเด็กทารกแรกเกิด และผู้ใหญ่ที่อายุมาก

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำลดเสี่ยงแพร่เชื้อโควิดได้จริงหรือ ?

1 ส.ค. – บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่าเชื้อโควิด-19 มีโอกาสที่จะออกมากับอุจจาระได้ การใช้ห้องน้ำสาธารณะเราจึงควรปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ เพื่อป้องกันความเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อ เรื่องนี้เป็นอย่างไรติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ .- สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เห็บกัดคนเสี่ยงเป็นอัมพาต จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือนหน้าฝนให้ระวังเห็บกัดคน เสี่ยงทำให้เป็นอัมพาตชั่วคราว เรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ยาในกลุ่ม NSAID คือยาที่ห้ามกินร่วมกัน จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ภาพยาหลากหลายชนิดและสีสัน พร้อมคำเตือนว่ายาดังกล่าวทุกตัวเป็นยาในกลุ่ม “เอ็นเสด” (NSAID) ห้ามกินร่วมกันทั้งสิ้น แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีนอนกดไหล่ แก้ปวดคอบ่าไหล่ หายปลิดทิ้งได้ใน 10 วินาที จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปแนะนำวิธีแก้อาการปวดคอ ปวดไหล่ หายได้ใน 10 วินาที ใช้แค่ผ้าขนหนูผืนเดียวจะขจัดอาการปวดได้เป็นปลิดทิ้ง แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 ข้อควรรู้ ก่อนกินทุเรียน จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์คลิป 5 ข้อควรรู้ก่อนกินทุเรียน เช่น ทุเรียนมีน้ำตาลสูง พลังงานสูง หากกินอย่างไม่เหมาะสม อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การแพทย์วิถีใหม่ในยุคโควิด-19

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด-19 การรักษาคนไข้ตามสถานพยาบาลจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการแพทย์วิถีใหม่ เรื่องนี้เป็นอย่างไรติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : คาถาที่ทำให้งูตายแล้วฟื้น จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปที่บอกว่าเป็นการร่ายคาถา ทำให้งูตายแล้วฟื้น ฟื้นแล้วตาย วนไปวนมาได้ ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษาผู้ป่วยโควิดและการติดตามหลังรักษา

สถานการณ์โควิด-19 ในไทยระยะนี้ แม้ผู้ติดเชื้อที่พบเป็นผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ แต่แนวทางการรักษาจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหายแล้วเป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

1 2 3 11
...