ชัวร์ก่อนแชร์ : ครม. เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ สูงสุด 1,250 บาท/เดือน เริ่ม 1 ต.ค. 68 จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ ครม. เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ สูงสุด 1,250 บาท/เดือน เริ่ม 1 ต.ค. 68 นั้น  📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ปัจจุบันรัฐบาลยังจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุเท่าเดิม คือ– อายุ 60-69 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 600 บาทเดือน– อายุ 70-79 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 700 บาท/เดือน– อายุ 80-89 ปี จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 800 บาท/เดือน– อายุ 90 ปี ขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพ อัตรา 1,000 บาท/เดือน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยืนยัน ผ่านเว็บไซต์ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 20 เคล็ดลับอายุยืนปี 2025 จาก WHO จริงหรือ ?

บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า บทความ 20 เคล็ดลับอายุยืนที่อ้างว่ามาจากองค์การอนามัยโลก​ (WHO)​ แปลมาจากบทความภาษาจีนที่เผยแพร่ในปี 2562 ถูกนำมาแปลและแชร์ต่อเป็นภาษาไทยในปีเดียวกัน โดยมีการเปลี่ยนเนื้อหาเคล็ดลับข้อที่ 1 ถึง 3 ครั้ง ในปี 2562 2563 และ 2568 จาก การร้องเพลง เป็น การกินเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น และสุดท้ายเป็น การดื่มไวน์ดี ๆ ในปริมาณที่พอเหมาะ จากการตรวจสอบบนเว็บไซต์ทางการขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยใช้คำสำคัญ อย่าง WHO Tips, longevity, long life, Hug, Run, Happy ไม่พบข้อมูลที่ตรงกับเคล็ดลับอายุยืนที่แชร์กันแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบบทความของ WHO เกี่ยวกับ 10 เคล็ดลับสุขภาพที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีขึ้นในปี 2025 โดยมีเนื้อหาสำคัญ ได้แก่ 30 มิถุนายน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : คนไทยเดินทางไปยุโรปไม่ต้องขอวีซ่า สามารถยื่นผ่านระบ ETIAS ได้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ คนไทยเดินทางไปยุโรปไม่ต้องขอวีซ่า สามารถยื่นผ่านระบ ETIAS นั้น บทสรุป ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความที่เผยแพร่กันดังกล่าว มาจากเว็บไซต์ Scandasia เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2568 ใจความว่า ยุโรปได้เปิดกฎการเข้าประเทศใหม่โดยนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ จะได้รับการยกเว้นวีซ่าสำหรับการเดินทางเข้าเขตเชงเกน บทความดังกล่าวถูกนำมาแปลต่อเป็นภาษาไทย โดยมีผู้ใช้งานเฟซบุ๊กแชร์ลงในกลุ่มท่องเที่ยวยุโรปจำนวนหลายกลุ่ม รวมถึงแชร์ออกไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ อีกจำนวนมาก  ต่อมา ผู้เขียนบทความได้ออกมาแก้ไขบทความและขอโทษที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด พร้อมระบุว่า ตนเองได้ใช้ AI ช่วยเขียนบทความและไม่ได้ตรวจสอบให้ดี ทั้งนี้คนไทยที่ต้องการเดินทางไปยังยุโรปยังต้องขอวีซ่าเชงเกน “A previous version of this article mistakenly listed also Thailand as a visa-exempt country for travel to the Schengen Area […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กินทุเรียนพร้อมกาแฟ อันตราย จริงหรือ ?

ตามที่บนสื่อสังคมออนไลน์มีการเผยแพร่คำแนะนำเกี่ยวกับข้อควรระวังในการบริโภคทุเรียน โดยระบุว่า “ทุเรียนไม่ควรรับประทานคู่กับกาแฟ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้” นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม “ทุเรียน” เป็นผลไม้ที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ขณะที่กาแฟมีสารที่อาจส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด รวมถึงมีกาเฟอีนซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของหัวใจ การบริโภคทั้งสองอย่างพร้อมกันอาจทำให้ได้รับพลังงานสูงและกาเฟอีนซึ่งส่งผลต่อผู้ที่มีโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องคุมอาหาร เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ อาการของโรคกำเริบ ซึ่งในบางกรณีอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อแนะนำที่ว่า “ห้ามรับประทานทุเรียนร่วมกับกาแฟ” เป็นข้อมูลที่มีการส่งต่อและเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายในสื่อสังคมออนไลน์ โดยมักปรากฏในรูปแบบของการให้ความรู้ควบคู่กับเรื่องเล่าเชิงอุทาหรณ์เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคทุเรียนร่วมกับอาหารบางประเภท โดย “การรับประทานทุเรียนกับกาแฟ”  เป็นสิ่งหนึ่งที่ได้รับการแนะนำว่า “ไม่ควรรับประทานคู่กัน” อ้างว่าอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ รวมทั้งยังมีประชาชนสอบถามในประเด็นดังกล่าวเข้ามาที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ด้วย ทำไมทุเรียน ห้ามรับประทานคู่กับกาแฟ ?รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทุเรียน ในรายการชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 5 ข้อควรรู้ ก่อนกินทุเรียน จริงหรือ ? ว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โดนยึดใบขับขี่จะไม่ได้คืน ต้องไปสอบทำใหม่เท่านั้น จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ “ใครที่โดนยึดใบขับขี่จะไม่ได้คืน ต้องไปสอบใหม่เท่านั้น เริ่ม 1 ก.ค. นี้” นั้น  📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า กรมขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ยืนยันผ่าน ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ว่า ข้อความดังกล่าวเป็นเท็จ หากประชาชนผู้ใช้รถขับรถฝ่าฝืนกฎหมายจราจร เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถยึดใบอนุญาตขับรถ และออกใบสั่งซึ่งใช้เป็นใบแทนใบอนุญาตขับรถได้เพียง 7 วันเท่านั้น ประชาชนจึงต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อรับใบอนุญาตขับรถคืนหลังชำระค่าปรับตามความผิดเรียบร้อยแล้วเท่านั้น ส่วนกรณีที่ได้รับใบสั่งจากกล้องบันทึกการทำความผิดอัตโนมัติ กรณีนี้จะไม่มีการยึดใบขับขี่ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะส่งใบสั่งไปยังที่อยู่เจ้าของรถเพื่อให้ดำเนินการชำระค่าปรับตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากมีการแอบอ้างว่าใบอนุญาตขับรถสูญหายเพื่อเจตนาขอใบอนุญาตขับรถใบใหม่ ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และกรมการขนส่งทางบกจะไม่ดำเนินการออกใบอนุญาตขับรถฉบับใหม่ให้เด็ดขาด เนื่องจากใบอนุญาตขับรถที่ถูกยึดไว้ยังคงมีผลตามกฎหมาย 25 มิถุนายน 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท ข้อความที่แชร์กันข่าวร้าย! ใครที่โดนยึดใบขับขี่จะไม่ได้คืนแล้วนะ ต้องไปสอบใหม่.. แล้วจะได้แค่ใบขับขี่ชั่วคราวมาแทน ขับรถระวังกฎระเบียบด้วยนะจ้ะเริ่ม 1. กรกฎาคม ..นี้ใบสั่งส่งถึงบ้าน เลย จากกล้องcctvบันทึกส่งถึงบ้าน– จอดล้ำเส้น– ฝ่าไฟแดง– ไม่รัดเข็มขัด-โทรขณะขับรถ– […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แบคทีเรียกินเนื้อ จุดเริ่มต้นจากแผลเล็ก ๆ

“แบคทีเรียกินเนื้อคน” โรคผิวหนังชื่อน่ากลัว จากแผลเล็ก ๆ ที่หากดูแลไม่ดี ไม่ได้รักษาตั้งแต่ต้นอาจติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อคนจนลุกลามได้ จากกรณีพบศพ ชาย อายุ 38 ปี ชาว ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง เสียชีวิตบนรถทัวร์โดยสารและพบศพขณะรถเข้าจอดที่สถานีขนส่งลำปาง เมื่อ 15 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา นั้น เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย แต่บริเวณน่องด้านซ้ายมีอาการบวม มีแผลลุกลาม และมีเลือดไหลออกมา ญาติให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้เสียชีวิตมีอาการน่องบวมตั้งแต่ 8 มิถุนายน 2568 และเคยป่วยเป็นโรคงูสวัดจนมีอาการลุกลามไปที่หู ผลการชันสูตรพลิกศพพบว่า ชายคนดังกล่าว เสียชีวิตด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือดและเป็นโรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในชั้นผิวหนัง โดยเริ่มจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นตื้นลงไปจนถึงผิวหนังชั้นลึก การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นลึกถึงระดับเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ สาเหตุของการเป็นโรคแบคทีเรียกินเนื้อข้อมูลจาก อ.พญ.ภัทริยา จรรยาชัยเลิศ ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า ในรายการชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แบคทีเรียกินเนื้อคน ว่า โรคแบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการอักเสบแบบมีเนื้อตายที่ผิวหนังตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้าถึงชั้นเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฉีดวัคซีนมาเลือดจะหนืดข้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า อาการของผู้ที่ไปฉีดวัคซีนมาเลือดจะหนืดข้นจนสุดท้ายเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ และวูบจนถึงขั้นเสียชีวิต จากนั้นแพทย์จะแจ้งว่าหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จริงหรือ​ ? บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ วัคซีนดังกล่าว คาดว่าหมายถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าวัคซีนโควิด-19 ทำให้เลือดจะหนืดข้นจนสุดท้ายเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ และวูบจนถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ การดำเนินการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้จัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และองค์การอนามัยโลกได้รับรองว่าวัคซีนดังกล่าวสามารถใช้ได้กับทุกประเทศ  FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริงศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อมูลเรื่อง “อาการของผู้ที่ไปฉีดวัคซีนมาเลือดจะหนืดข้นจนสุดท้ายเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ และวูบจนถึงขั้นเสียชีวิต” เป็นข้อมูลที่มักถูกส่งต่อและเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2566 และเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้หลายคนเกิดความกังวล ตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อมูลจาก พ.อ.นพ.วิริสสร วงศ์ศรีชนาลัย อายุรแพทย์ โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พบว่า  ความเป็นไปได้ที่วัคซีนจะทำให้เกิดลิ่มเลือด เป็นไปได้ว่าวัคซีนโควิด-19 บางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือดได้บ้าง แต่ต้องย้ำว่า ความรุนแรงและอัตราการเกิดลิ่มเลือดจากวัคซีนนั้นน้อยกว่าการติดเชื้อโควิด-19 มาก นอกจากนี้ วัคซีนแต่ละชนิดยังมีผลกระทบที่แตกต่าง โดย วัคซีนเชื้อตาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาบน้ำด้วยสบู่เหลว ตายเร็ว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่า การอาบน้ำด้วยสบู่เหลวอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น เพราะในสบู่เหลวมีสารอันตราย จริงหรือ ? บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ สารอันตรายที่มีการแชร์คือ SLS (Sodium Lauryl Sulfate) ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในสบู่เหลว เพื่อให้เกิดฟอง มีการใช้ในปริมาณต่ำและสามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้เพียงเล็กน้อย จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม การใช้สบู่เหลวอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรืออาการแพ้ในบางราย ซึ่งอาจเกิดจาก SLS หรือน้ำหอมและสารเติมแต่งอื่น ๆ ที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่าข้อมูลเรื่อง “สบู่เหลวอันตราย มีสารเคมีซึมลงผิวหนัง ทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น” เป็นข้อมูลที่มักถูกส่งต่อและเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะการเตือนภัยเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสบู่เหลว จากการสืบค้นย้อนหลัง พบว่าข้อความลักษณะนี้เคยถูกแชร์บนออนไลน์ ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2552 ผ่านทางอีเมลที่ส่งต่อกัน และต่อมามีการแชร์อย่างกว้างบนสื่อสังคมออนไลน์ และเป็นหนึ่งในประเด็นที่ทำให้หลายคนเกิดความกังวล จนมีการตั้งกระทู้สอบถามเพิ่มเติมในเว็บไซต์สนทนาอย่าง Pantip อีกด้วย ตรวจสอบข้อเท็จจริงผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.กิติยศ ยศสมบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่า ความเข้าใจผิดนี้เกิดขึ้นจากการผลิตสบู่เหลวในอดีต […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมเด็จพระสังฆราชมีพระดำรัส ห้ามถวายเงินพระ จริงหรือ ?

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความอ้างว่าเป็นพระดำรัสสมเด็จพระสังฆราช ห้ามประชาชนงดถวายเงินแด่พระสงฆ์ นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ข้อความดังกล่าวไม่ใช่พระดำรัสของสมเด็จพระสังฆราช โดยสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้ออกประกาศชี้แจงว่า สมเด็จพระสังฆราชไม่เคยมีพระดำรัสด้วยถ้อยคำในลักษณะบริภาษตามที่ปรากฏในสื่อดังกล่าวแต่อย่างใด FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความที่เผยแพร่กันดังกล่าว มีการเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กหนึ่ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2568 ใจความว่า “ด่วน สมเด็จพระสังฆราช ทรงรับสั่งให้ประชาชนงดเอาเงินถวายพระโดยเด็ดขาด แม้กระทั่งงานศพ งดใส่ซองขาวถวายพระทุกกรณี”  ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นโพสต์ข้อความธรรมดา ไม่มีข้อมูลอื่น ๆ เช่น ภาพประกอบ หรือแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้ใช้เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก เช่น ข่าวดี ประจำชาติเลยค่ะ ดีมากเลยคำสั่งจากสังฆราชน่าหยุดทุกอย่างได้จริง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการแชร์ออกไปกว่า 2.5 พัน ครั้ง  ต่อมา เพจเฟซบุ๊ก สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้เผยแพร่ประกาศสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จโดยแอบอ้างว่าเป็นพระดำรัส ความว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กระเทียมไม่ควรแช่ตู้เย็น จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แนะนำเกี่ยวกับการเก็บกระเทียมว่า “กระเทียมห้ามแช่ตู้เย็น” นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ไม่ควรเก็บกระเทียมในตู้เย็น เพราะอุณหภูมิและความชื้นในตู้เย็นอาจทำให้กระเทียมสูญเสียประโยชน์ และเกิดสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดเชื้อราบางชนิดได้ หากปอกเปลือกแล้ว แช่ตู้เย็นได้ แต่ควรใส่ในภาชนะปิดสนิท FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า “กระเทียมห้ามแช่ตู้เย็น” เป็นข้อมูลที่มักมีการส่งต่อและเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งในรูปแบบข้อความ อินโฟกราฟิก และคลิป ที่เป็นลักษณะการให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บรักษาผักและผลไม้ ซึ่ง “กระเทียม” เป็นหนึ่งสิ่งที่ได้รับการแนะนำว่า “ไม่ควรแช่ตู้เย็น” หากนำมารับประทานอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ รวมทั้งยังมีประชาชนสอบถามในประเด็นดังกล่าวเข้ามาที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ด้วย ทำไม ? กระเทียมไม่ควรแช่เย็นดร.ปัทนภา ศรีชมเชย นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ผู้จัดการศูนย์โภชนาการและกำหนดอาหาร รพ.เทพธารินทร์ ให้ข้อมูลผ่านรายการ 100.5 อาสาเตือนภัยไว้ว่า “กระเทียม” มีความชื้นค่อนข้างสูง จึงไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นในครัวเรือนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากอุณหภูมิในตู้เย็นอาจทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิดได้  กระเทียมที่ปอกเปลือกแล้วหากนำไปเก็บในตู้เย็นควรเก็บในภาชนะปิดสนิท เนื่องจากกระเทียมอาจดูดซับความชื้น โดยเฉพาะ เชื้อราแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus) ที่สามารถเจริญเติบโตได้บนกระเทียมจนส่งผลให้เกิดสารพิษอะฟลาทอกซิน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : King Power ปิดทุกสาขาสิ้นเดือนนี้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ คิง เพาเวอร์ประกาศปิดทุกสาขาภายในสิ้นเดือน นั้น  📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ บริษัท คิงเพาเวอร์ ยังเปิดให้บริการตามปกติ ทุกสาขา ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บริษัทคิง เพาเวอร์ ยืนยันว่า ไม่จริง ทางบริษัท คิง เพาเวอร์ ยังเปิดให้บริการตามปกติ ทุกสาขา ดังนี้  – คิง เพาเวอร์ รางน้ำ เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 – 21.00 น. – คิง เพาเวอร์ ศรีวารี เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 11.00 – 20.00 น. – คิง เพาเวอร์ พัทยา เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 11.00 – […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำลดเยอะ สัญญาณภัยธรรมชาติ จริงหรือ?

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ภาพและคลิปน้ำในแม่น้ำที่จังหวัดสมุทรปราการลดลงผิดปกติ จนทำให้ประชาชนเกิดความหวั่นใจว่าจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม เหตุการณ์ในคลิปเป็นน้ำขึ้น-น้ำลงตามปรากฏการณ์ธรรมชาติ สาเหตุที่น้ำลดลงต่ำมากเป็นเพราะแรงดึงดูดระหว่างโลกและดวงจันทร์เพิ่มขึ้น ไม่ใช่สัญญาณการเกิดภัยธรรมชาติดังที่มีการตั้งข้อสังเกตในช่องแสดงความคิดเห็น FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ภาพและคลิปที่ส่งต่อในไลน์ดังกล่าว มีการเผยแพร่ผ่านทางเพจเฟซบุ๊กสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 และวันที่ 2 เมษายน 2568 โดยต้นโพสต์เป็นการรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณท่าเรือข้ามฟากปากน้ำ-พระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ที่น้ำในแม่น้ำแห้ง ทำให้การสัญจรทางเรือระหว่างสองฝั่งต้องหยุดให้บริการชั่วคราว ทั้งนี้ ลักษณะข้อความที่โพสต์เป็นการบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ไม่ได้ชี้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าตกใจหรือเป็นสัญญาณการเกิดภัยธรรมชาติ  อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางส่วนเกิดกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณเตือนการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น “น้ำแห้งจนน่ากลัว” “แห้งแบบนี้น่ากลัวจัง ทำให้คิดถึงสึนามิ” จึงเป็นเหตุให้มีผู้อ่านเกิดความกังวลและได้สอบถามเข้ามาที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลผ่านเพจเฟซบุ๊ก มิตรเอิร์ธ – mitrearth ว่า สาเหตุที่น้ำลดลงเป็นจำนวนมากส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรากฏการณ์ Perigee ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ใกล้โลกมากที่สุด […]

1 2 3 6
...